คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กิติยาภรณ์ อาตมียะนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของ ผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้ มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถ ชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สิน ของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุม เจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้อง ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องเมื่อยังไม่เกิดความเสียหายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ระงับในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนำพื้นที่จอดรถในชั้นที่ 1 ซึ่งผู้ร้องเช่าจากลูกหนี้มีกำหนด 20 ปี ไปให้ผู้อื่นเช่า และหากมีการทำสัญญาเช่าไปแล้ว ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏเพียงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนำพื้นที่ลานจอดรถชั้นที่ 1 ของอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้บุคคลภายนอกเช่าเพื่อหาผลประโยชน์เข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้ดำเนินการอย่างใดตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ และยังไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องแต่ประการใด ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาหลักฐานพยานและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับแสงสว่างในที่เกิดเหตุเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ตามปกติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไปในเวลากลางคืนเมื่อเดินไป ตามถนนย่อมจะไม่มองดูว่าที่ถนนมีไฟฟ้าติดตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง จำนวนกี่ดวง เป็นหลอดไฟฟ้าลักษณะใดบ้าง เมื่อบันทึกการตรวจ สถานที่เกิดเหตุซึ่งร้อยตำรวจตรี ส. จดบันทึกไว้ทันทีในคืนเกิดเหตุระบุถึงลักษณะและสภาพของไฟฟ้าส่องสว่างว่ามีไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณที่เกิดเหตุและมาเบิกความประกอบบันทึกดังกล่าวยืนยันว่ามีแสงสว่างสามารถมองเห็นกันได้ในบริเวณดังกล่าวในระยะห่าง 10 เมตร ย่อมฟังได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงส่องสว่างสามารถมองเห็นกันได้ในระยะ 10 เมตร และเมื่อพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่าจำเลยเป็น คนยิงผู้เสียหายโดยมีสิ่งช่วยจำเป็นพิเศษคือจำเลยสวมหมวกแก๊ปผ้าสีพรางทั้งในขณะนั่งอยู่ในโรงภาพยนตร์และขณะใช้อาวุธปืน ยิงผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ผู้เสียหาย แม้บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุจะลงวันที่ซึ่งเป็นวันที่ ก่อนเกิดเหตุ 7 วันก็ตาม แต่ข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุวันเวลา ที่เกิดเหตุและร่องรอยหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุได้ถูกต้องตรงตามประเด็นแห่งคดี เหตุที่บันทึกดังกล่าวลงวันที่ก่อนเกิดเหตุ นั้นอาจเป็นเพราะเจ้าหน้าที่พิมพ์วันที่ผิดพลาด ไม่เป็นเหตุ ให้ข้อความในเอกสารเป็นพิรุธหรือไม่น่าเชื่อถือ บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีเงินเดือนและหุ้นสหกรณ์ แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่าทรัพย์สิน ศาลพิพากษาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนประจำ และมีทรัพย์สินเป็น หุ้นอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทานก็ตาม แต่เงินเดือน ของจำเลยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วคงเหลือ ประมาณ 2,000 บาท ซึ่งพอเพียงสำหรับการผ่อนชำระหนี้ ได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น แต่จำเลยก็หาได้ชำระให้แก่โจทก์ไม่นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สูงเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในสหกรณ์อีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสอง จำคุกกระทงละ 7 ปี 6 เดือน รวม 2 กระทง จำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยขอ ให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการ ลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พฤติการณ์ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นหลักประกัน
การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินทั้งเข้าร่วม ลงชื่อเป็นพยานยิ่งกว่าผู้เป็นนายหน้าหาเงินกู้ทั่วไปจะ พึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่า น.ส.3 ก. ที่อ. นำมาให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นเอกสารปลอม และนอกจากการกู้ยืมเงิน รายนี้แล้วบุคคลที่จำเลยพามากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายล้วนแต่ ใช้ น.ส.3 ก. ปลอมวางเป็นหลักประกันทั้งสิ้น ทั้งเมื่อ ผู้เสียหายมอบเงินให้แล้ว จำเลยน. และอ. ช่วยกันนับเงินและแบ่งใส่กระเป๋าแต่ละคนแล้วพูดกันว่ายืมเงินกันใช้ก่อน ครั้นเมื่อ อ. ไม่ชำระเงินคืน ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ช่วยติดต่อจำเลยบอกว่าอย่าเพิ่งแจ้งความจะนำเงินมาชำระให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กัน ทำโดยนำ น.ส.3 ก. ปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้และแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายไปพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และใช้เอกสารสิทธิอันเป็น เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องอาศัยเสียงข้างมากในการดำเนินการบังคับคดี
โจทก์ทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากตึกแถวพิพาทจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายชนะคดีและได้มีการบังคับคดีในเวลาต่อมา โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ กรณีเป็นเรื่องมีผู้จัดการมรดกหลายคน โจทก์ทั้งสามแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2คัดค้านคำร้อง ของ โจทก์ที่ 3 ที่ขอให้งดการบังคับคดีกรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 โจทก์ที่ 3 ไม่อาจกระทำได้โดยลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ต้องทำในชั้นศาลต้น ไม่ใช่ชั้นฎีกา
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ดังที่ บรรยายมาในฎีกาเพื่อแสดงว่าจำเลยสามารถชำระหนี้ทั้งหมดของโจทก์ได้นั้น เป็นการล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้ เพราะจำเลยมิได้นำสืบไว้ให้ปรากฏ ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามคำพิพากษาและศาลได้หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี บังคับเอาชำระหนี้ของจำเลยแล้ว จำเลยก็มิได้ขวนขวายหาเงิน มาชำระหนี้หรือเอาทรัพย์สินมาตีใช้หนี้โจทก์ การที่จำเลยอ้าง ขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า มีทรัพย์สินพอชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดนั้น จำเลยควรแถลงข้อความจริงและส่งมอบทรัพย์สินต่าง ๆเหล่านั้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะทรัพย์สินต่าง ๆของจำเลยเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้นและพฤติการณ์ที่ไม่สมควรรอการลงโทษ
พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่า จำเลยปีนกำแพงด้านหลังบ้านขึ้นไปบนชั้นที่สองของบ้าน งัดกลอนประตูจนหลุดเป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือ ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)(4)(8)แม้ทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปมีราคาไม่มากนักแต่จำเลยทำในเวลากลางวันโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ที่จำเลยฎีกา ขอให้รอการลงโทษเพราะจำเลยมีฐานะมั่นคง ความประพฤติเรียบร้อย มีอาชีพที่แน่นอน มีภาระต้องเลี้ยงดูภริยาและบุตรนั้น ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
of 8