พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี เมื่อมีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการยังไม่สิ้นสุด
การตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยคู่สัญญาไม่จำต้องนำคดีมาสู่ศาลก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 และ 30 บัญญัติให้คู่ความนำคดีมาร้องขอต่อศาลในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 โดยอนุญาโตตุลาการ หลังจากมีข้อพิพาทแล้วจำเลยที่ 3 เสนอข้อพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ และจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 4 เป็นอนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์จะมีข้อโต้แย้งว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์หรือไม่ หรืออนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฎว่าได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการและอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยแล้ว กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการพิจารณาคำสั่งระหว่างพิจารณา
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5 หมื่นบาท และการพิจารณาคำสั่งระหว่างพิจารณา
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องศาล: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างจังหวัด
ตามบทบัญญัติมาตรา 4(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้การเสนอคำฟ้องสามารถกระทำได้ต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ที่ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ประกอบอาชีพค้าขายส่งไรให้แก่ลูกค้าทั่วไปจำเลยเป็นลูกค้าสั่งซื้อไรจากโจทก์ ตามคำฟ้องจึงพอฟังได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งในคำให้การจำเลยอ้างเพียงประการเดียวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น มิได้ให้การว่ามูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ดังนั้น เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้ ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องบรรยายมาในฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด เป็นเรื่องที่ศาลสามารถพิจารณาได้จากสภาพแห่งข้อหาที่ปรากฏตามคำฟ้องได้ การที่ศาลจังหวัดชลบุรีรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด ฟ้องได้ที่นั่น แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
ตามบทบัญญัติมาตรา 4(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้การเสนอคำฟ้องสามารถกระทำได้ต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ที่ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ประกอบอาชีพค้าขายส่งไรให้แก่ลูกค้าทั่วไปจำเลยเป็นลูกค้าสั่งซื้อไรจากโจทก์ ตามคำฟ้องจึงพอฟังได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งในคำให้การจำเลยอ้างเพียงประการเดียวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น มิได้ให้การว่ามูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ดังนั้น เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้ ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องบรรยายมาในฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด เป็นเรื่องที่ศาลสามารถพิจารณาได้จากสภาพแห่งข้อหาที่ปรากฏตามคำฟ้องได้ การที่ศาลจังหวัดชลบุรีรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5107/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมยังประโยชน์ใช้สอย แม้มีทางอื่นช่วงฤดูน้ำหลาก จำเลยขอพ้นภาระไม่ได้
แม้คันดินกั้นน้ำที่ผ่านหน้าบ้านโจทก์สามารถใช้เป็นทางเดินและในฤดูแล้งสามารถใช้เป็นทางรถยนต์แล่นได้ แต่คันดินกั้นน้ำสามารถใช้เป็นทางเดินและทางให้รถยนต์แล่นเฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ถ้าเป็นฤดูฝนและช่วงน้ำหลากจะใช้เป็นทางไม่สะดวกเพราะน้ำท่วมคันดิน พื้นถนนบนคันดินทรุดและลื่น แสดงว่าทางภารจำยอมพิพาทยังเป็นประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ในช่วงน้ำหลากหรือในกรณีฝนตกหนัก เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ ประโยชน์ของโจทก์ที่จะได้จากทางพิพาทยังมีอยู่มาก จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจขอให้ที่ดินจำเลยทั้งสองพ้นจากภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งและสิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ โดยพิจารณาจากผู้ครอบครองจริง
แม้ว่า ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ แล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้เพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ซึ่ง พระราชบัญญัติทนายความฯ มุ่งให้ความคุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไปเนื่องจากจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้วส่วนโจทก์ก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จการพิจารณาหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่การยื่นคำฟ้องจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทำคำให้การใหม่และสืบพยานกันใหม่ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิมจำเลยย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบอันจะทำให้จำเลยได้เปรียบทางเชิงคดี ซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาและให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ในขณะยื่นฟ้อง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทนี้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานโจทก์ว่ามีน้ำหนักรับฟังเพียงใด
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองอยู่ในขณะยื่นฟ้อง ภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยก็ต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทนี้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยถึงพยานหลักฐานโจทก์ว่ามีน้ำหนักรับฟังเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่จดทะเบียนแล้วในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันเป็นการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" และ "โอเรียนเต็ล" เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ และชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปมานานแล้ว โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการไว้ในจำพวกที่ 42 สำหรับการให้บริการธุรกิจโรงแรมและโมเต็ลโดยมิได้จดทะเบียนในจำพวกธุรกิจบ้านจัดสรรและอาคารชุดไว้ ต่อมาจำเลยได้ใช้คำว่า "ORIENTAL SUITE" และ "โอเรียนเต็ลสวีท" เป็นชื่อโครงการอาคารชุดของจำเลย ธุรกิจอาคารชุดของจำเลยจึงมิใช่จำพวกสินค้าหรือบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคแรก อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้ใช้คำว่า "ORIENTAL" เป็นชื่อทางการค้าและชื่อโรงแรมในการประกอบกิจการโรงแรมในระดับ 5 ดาว จนมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากสาธารณชนทั่วไป โจทก์จึงเป็นเจ้าของและมีสิทธิในชื่อทางการค้า คำว่า "ORIENTAL" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลอื่นที่นำชื่อทางการค้าของโจทก์ไปใช้โดยไม่สุจริตจนทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นกิจการเดียวกับโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อต้องเสื่อมเสียประโยชน์
การที่จำเลยนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์มาใช้เป็นชื่อในโครงการอาคารชุดของจำเลยซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการโรงแรมของโจทก์เพราะเป็นการให้บริการในเรื่องห้องพักอาศัยเช่นเดียวกัน ประกอบกับโครงการอาคารชุดของจำเลยกับโรงแรมของโจทก์ต่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะอยู่คนละฝั่งแต่ก็เยื้องกันไม่มากนับว่าอยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดต่อสาธารณชนว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการแอบอ้างเอาชื่อเสียงจากชื่อทางการค้าของโจทก์ไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมของโจทก์มาใช้เป็นชื่อในโครงการอาคารชุดของจำเลยซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกิจการโรงแรมของโจทก์เพราะเป็นการให้บริการในเรื่องห้องพักอาศัยเช่นเดียวกัน ประกอบกับโครงการอาคารชุดของจำเลยกับโรงแรมของโจทก์ต่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม้จะอยู่คนละฝั่งแต่ก็เยื้องกันไม่มากนับว่าอยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดต่อสาธารณชนว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จึงเป็นการแอบอ้างเอาชื่อเสียงจากชื่อทางการค้าของโจทก์ไปหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดต่อโจทก์