พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดีเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ในการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาตรา 7(1) ถึง (11) ได้บัญญัติเป็นการเฉพาะเจาะจงว่ามีคดีประเภทใดบ้างที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ดังนั้น หากคำฟ้องและคำให้การเห็นได้ชัดว่าเป็นคดีประเภทที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) แล้ว ก็ต้องอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่วนกรณีตามมาตรา 9นั้น เป็นเรื่องที่มีปัญหาสงสัยไม่ชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดหรือสงสัยในเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่ จึงจะเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยชัดแจ้ง ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(6) กรณีจึงไม่จำต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีเลตเตอร์ออฟเครดิต-ทรัสต์รีซีท แม้คู่สัญญาทั้งสองอยู่ในไทย
กรณีที่ประธานศาลฎีกาจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศหรือไม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 นั้น จักต้องเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่า คดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่ง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (1) ถึง (11) เมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการซื้อขายระหว่างประเทศและทรัสต์รีซีทโดยแจ้งชัด จึงอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7 (5), (6) ไม่มีปัญหาอันต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: คดี L/C-ทรัสต์รีซีทซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศ ก็ไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 มีความหมายถึงกรณีที่มีปัญหาข้อสงสัยยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าคดีนั้นเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ถึง (11) หรือเป็นเรื่องที่ไม่แน่ชัดหรือเป็นที่สงสัยว่าเนื้อหาของข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่ถือว่าเป็นคดีประเภทใดประเภทหนึ่งตามมาตรา 7(1) ถึง (11) ที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ จึงจะเป็นปัญหาที่ต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศและโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 ในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้าที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้โจทก์ จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทกับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยด้วยกันเท่านั้น ทั้งที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ หากแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศกับรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเป็นคดีตามมาตรา 7(6) จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศและโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 ในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้าที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระให้โจทก์ จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จึงขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทกับให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยด้วยกันเท่านั้น ทั้งที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ หากแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกให้ตามคำขอของจำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศกับรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเป็นคดีตามมาตรา 7(6) จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสนอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตามมาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหายจากการเช่าต่อเนื่อง, และการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าช่วงที่ดินพิพาทจากโจทก์ครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ก่อสร้างอาคารตามสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การและต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่าช่วงมีกำหนดเวลา 30 ปี บัดนี้ยังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้สนองคำมั่นของโจทก์ก่อนสิ้นกำหนดเวลาเช่า คำมั่นจึงสิ้นผลโดยมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้น ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 247 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าช่วงกันอีก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าตลอดมา ถือว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามป.พ.พ. มาตรา 570 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสัญญาเช่าช่วงย่อมระงับลงจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยยังคงประกอบกิจการอยู่ในที่ดินที่เช่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินคืนแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยคงอยู่ในที่ดินที่เช่าแต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าโจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าช่วงกันอีก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ผู้ให้เช่าตลอดมา ถือว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามป.พ.พ. มาตรา 570 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสัญญาเช่าช่วงย่อมระงับลงจำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินที่เช่าอีกต่อไป การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยยังคงประกอบกิจการอยู่ในที่ดินที่เช่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งมอบที่ดินคืนแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยคงอยู่ในที่ดินที่เช่าแต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษในกรณีไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องอาญาฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความน่าสงสัยของผู้เสียหายในการจำจำเลย
ข้อหาพาอาวุธไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยจะมีอาวุธมีดจริงหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย แม้ข้อหาพาอาวุธมีดไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติไปแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเทปวีดีโอซีดี: สาระสำคัญคือการกระทำผิดฐานประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่การใช้ของกลางในการกระทำความผิด
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ฯ มาตรา 34 นั้น สาระสำคัญในการกระทำความผิดอยู่ที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน แผ่นวีดีโอซีดีของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลจะพึงมีอำนาจสั่งริบได้ ตาม ป.อ. มาตรา 33 และประเด็นนี้เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวมาในคำฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามจำหน่ายกัญชา: การกระทำไม่สำเร็จตามกฎหมาย แม้มีการนัดส่งมอบ
เมื่อจำเลยที่ 1 นำกัญชามาที่จุดนัดหมายอันเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบกัญชาให้แก่สิบตำรวจโท ว. ก็ปรากฏว่า สิบตำรวจโท ว. กับพวกได้เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 เสียก่อน การกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำไปไม่ตลอด จำเลยทั้งสองจึงยังไม่มีความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายกัญชา คงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ปัญหาว่าการกระทำเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ยื่นถูกต้องตามกฎหมายต้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่ขอเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยไม่มาสาบานตัวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอีก ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยว่าชอบด้วยบทกฎหมายหรือไม่ หากจำเลยเห็นว่าเป็นการวินิจฉัยโดยไม่ถูกต้องจำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า ไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยได้ โดยอ้างว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ยื่นถูกต้องทันเวลา ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาล ไม่ใช่ขอให้เพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยไม่มาสาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งยกคำร้องเนื่องจากไม่ได้ยื่นพร้อมอุทธรณ์ เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาดังกล่าวพร้อมอุทธรณ์ ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรกแล้วนั้น หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยไม่ถูกต้องอย่างไร จำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าว ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดกรรมเดียวฐานลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ศาลฎีกายกประเด็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พฤติการณ์ที่จำเลยลักสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ป. ไป แล้วปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วม แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมและได้รับเงินมานั้น เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากโจทก์ร่วมเป็นหลัก ซึ่งแม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิดแต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยลักสมุดเงินฝากของ ป. และปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของโจทก์ร่วม ถอนเงินออกจากบัญชีของ ป. เป็นเงินจำนวนมากถึง 900,000 บาทนับว่าเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยเคยลักเงินของเพื่อนและมารดาของจำเลยมาหลายครั้ง แต่ไม่มีผู้ใดเอาเรื่อง จำเลยจึงไม่ถูกดำเนินคดี แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมก็เป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่เป็นการสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
จำเลยลักสมุดเงินฝากของ ป. และปลอมลายมือชื่อของ ป. ในใบถอนเงินของโจทก์ร่วม ถอนเงินออกจากบัญชีของ ป. เป็นเงินจำนวนมากถึง 900,000 บาทนับว่าเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ทั้งปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยเคยลักเงินของเพื่อนและมารดาของจำเลยมาหลายครั้ง แต่ไม่มีผู้ใดเอาเรื่อง จำเลยจึงไม่ถูกดำเนินคดี แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมก็เป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่เป็นการสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย