พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง แม้มีเหตุเพิกถอนซ้ำ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
หลังจากศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฎีกาของจำเลยเนื่องจากต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการพิจารณาและพิพากษาคดีที่ผิดระเบียบในชั้นฎีกาทั้งหมดมาครั้งหนึ่งแล้ว โดยอ้างเหตุเพิกถอนเป็นประเด็นในคดีว่าเกิดจากความผิดพลาดของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่ากรณีไม่จำต้องรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ทั้งที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงไว้แล้ว ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบอีก โดยอ้างเหตุเพิกถอนเป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบครั้งแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา ศาลมีอำนาจสั่งได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
การที่จำเลยวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไป ก็เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดของจำเลย และจำเลยยังประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบาด้วยซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลยแล้วทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับนั้นย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยจะไม่ถอนเงินออกไปหากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้นการที่ผู้เสียหายไม่ยอมรับเงินในครั้งแรกก็เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นจำนวนน้อยเกินไปมิใช่ไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์จะรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลและเมื่อศาลได้สอบถามแล้วผู้เสียหายประสงค์จะรับเงินจำนวนดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบาการวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดีศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
แม้คดีนี้จะเป็นคดีอาญาและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอเกี่ยวกับเงินค่าเสียหาย แต่จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายโดยประสงค์จะให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบาการวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดีศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจัดการเงินค่าเสียหายที่จำเลยวางต่อศาลเพื่อบรรเทาโทษ และการชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหาย
การวางเงินของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อบรรเทาผลร้ายและจำเลยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยสถานเบา ซึ่งศาลชั้นต้นได้นำเรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุบรรเทาโทษให้จำเลย ทั้งการวางเงินเพื่อให้ผู้เสียหายมารับไปย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยจะไม่ถอนเงินดังกล่าวกลับไป หากผู้เสียหายยังประสงค์จะรับเงินนั้น การที่ครั้งแรก ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับเงินเนื่องจากเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป มิใช่ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายหรือไม่ประสงค์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเสียทีเดียว จำเลยไปขอรับเงินคืนภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจเรียกผู้เสียหายมาสอบถาม เมื่อผู้เสียหายแถลงว่าประสงค์จะรับเงินจำเลยจึงไม่อาจถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้
จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
จำเลยเป็นผู้ขอวางเงินชดใช้ค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้นโดยประสงค์ให้ศาลใช้เป็นดุลพินิจในการวางโทษจำเลยสถานเบา การวางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคดี ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเกี่ยวกับเงินจำนวนดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ ไม่ถือเป็นความผิดฐานจำหน่าย แม้มีพฤติการณ์ร่วมกันซื้อยา
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยมีพฤติกรรมอย่างไรที่แสดงว่าจะนำยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ของกลางไปจำหน่ายหรือไปขาย นอกจากนั้นตามคำให้การของผู้ต้องหาที่ 1ก็ได้ความว่าเพื่อน ๆ ร่วมกันมอบเงินให้จำเลยไปหาซื้อยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์เพื่อนำไปเสพด้วยกันที่งานแต่งงานเพื่อนคนหนึ่งหาใช่จำเลยจำหน่าย จ่าย แจก หรือขายให้เพื่อนไม่พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักพอที่จะให้รับฟังว่าจำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลตาม พรบ.รับขนฯ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ถูกต้อง พยานบุคคลหรือพยานเอกสารไม่มีข้อใดที่บ่งชี้ได้ถึงขนาดที่ศาลจะรับฟังได้ว่า สินค้าพิพาทในคดีนี้เสียหาย หรือความเสียหายได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลย และจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าพิพาท เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องร่วมกันรับผิดเพื่อความเสียหายแก่สินค้าพิพาทและ ตามใบตราส่งสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งของระบุว่าสินค้าพิพาทเป็นเคมีภัณฑ์สำหรับผลิตแชมพูจำนวน 34 ถัง และ 10 ถังตามลำดับ จึงเป็นกรณีที่มีการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งไว้ในใบตราส่ง ต้องถือว่า สินค้าพิพาทมีจำนวนหน่วยการขนส่งเป็นถังตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) ส่วนใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นออกให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นที่มาว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าพิพาทอีกทอดหนึ่ง เป็นใบตราส่งที่ออกให้ระหว่าง ผู้ขนส่งอื่นด้วยกัน หาอาจนำมาใช้ยันผู้ส่งของได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องร่วมกันรับผิดเพื่อความเสียหายแก่สินค้าพิพาทและ ตามใบตราส่งสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งของระบุว่าสินค้าพิพาทเป็นเคมีภัณฑ์สำหรับผลิตแชมพูจำนวน 34 ถัง และ 10 ถังตามลำดับ จึงเป็นกรณีที่มีการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งไว้ในใบตราส่ง ต้องถือว่า สินค้าพิพาทมีจำนวนหน่วยการขนส่งเป็นถังตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) ส่วนใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นออกให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นผู้ขนส่งอื่นที่มาว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าพิพาทอีกทอดหนึ่ง เป็นใบตราส่งที่ออกให้ระหว่าง ผู้ขนส่งอื่นด้วยกัน หาอาจนำมาใช้ยันผู้ส่งของได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งกรณีส่งมอบสินค้าผิดมือโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ชำระเป็นเงินไทย
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าโดยเรือซินาร์ บาลี และเรือเอ็นวายเคไกจากท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ไปยังเมืองเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ และปลายทางสุดท้ายที่เมืองโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ ขณะสินค้ายังขนส่งไปไม่ถึงเมืองเซาแธมป์ตัน โจทก์ได้แจ้งจำเลยไม่ให้ปล่อยสินค้าแก่ผู้ใด ต่อมาเรือเอ็นวายเคไกเดินทางไปถึงเมืองเซาแธมป์ตัน และจำเลยตกลงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้ที่คลังสินค้าของบริษัทตัวแทนจำเลย การที่บริษัทดังกล่าวได้ส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งเนื่องจากใบตราส่งอยู่ที่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
สำเนาคำสั่งศาลของประเทศอังกฤษเอกสารหมาย ล.1 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนา ไม่ปรากฏว่ามีการรับรอง สำเนาเอกสารจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องและโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ทั้งจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่อ้างส่งต้นฉบับไม่ได้เพราะเหตุใด เอกสารที่จำเลยอ้างนี้จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สินค้าในคดีนี้มีน้ำหนักเบ็ดเสร็จ 9,036.50 กิโลกรัม ซึ่งตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้จำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งไว้เพียง 27,095 บาท เป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาสินค้าเป็นเงินไทย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเป็นเงินต่างประเทศ เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์
สำเนาคำสั่งศาลของประเทศอังกฤษเอกสารหมาย ล.1 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนา ไม่ปรากฏว่ามีการรับรอง สำเนาเอกสารจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องและโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ทั้งจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุที่อ้างส่งต้นฉบับไม่ได้เพราะเหตุใด เอกสารที่จำเลยอ้างนี้จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สินค้าในคดีนี้มีน้ำหนักเบ็ดเสร็จ 9,036.50 กิโลกรัม ซึ่งตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้จำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งไว้เพียง 27,095 บาท เป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาสินค้าเป็นเงินไทย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเป็นเงินต่างประเทศ เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว vs. กรรมต่างกัน และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดสองฐานรวมกันมาในข้อเดียวกัน โดยมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นชัดเจนว่าการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้จำเลยทั้งสองกระทำโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากหรือกระทำผิดสำเร็จเป็นความผิดแต่ละกรรมเป็นกระทงความผิดอย่างไรอีกทั้งโจทก์ยังมีคำขอให้ลงโทษเป็นกรรมเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 มาท้ายคำฟ้องด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวกัน จึงต้องถือตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดสองกรรมต่างกันไม่
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเป็นตัวการร่วมกันและจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการกักขังแทนค่าปรับมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ได้ที่ศาลชั้นต้นให้บังคับชำระค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเป็นตัวการร่วมกันและจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการกักขังแทนค่าปรับมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ได้ที่ศาลชั้นต้นให้บังคับชำระค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการค้ำประกันหนี้ - ผลผูกพันบริษัท - อากรแสตมป์ - การรับรองการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานอีกแต่อย่างใด ที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า สัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ. 56 ต้องปิดอากรแสตมป์ 20 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์มาเพียง 10 บาท จึงไม่ครบถ้วน ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันแทนจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 ตรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ 4 ที่ได้จดทะเบียนไว้ในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ทั้งในหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ. 5 ก็มิได้มีข้อความจำกัดอำนาจของกรรมการผู้มีอำนาจไว้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันในฐานะกรรมการจำเลยที่ 4 พร้อมประทับตราจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 4 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการของจำเลยที่ 4 ก็เป็นเรื่องระเบียบข้อบังคับภายในของจำเลยที่ 4 ไม่มีผลทำให้อำนาจของกรรมการในการกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามที่จดทะเบียนไว้แก่นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคา
จำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องจริง จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยต่อสู้ว่าไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแม้ว่าคำฟ้องหรือตามทางนำสืบของโจทก์จะไม่ได้ความว่า การสั่งซื้อสินค้าคดีนี้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน หรือมีหลักฐานซื้อขายเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแม้ว่าคำฟ้องหรือตามทางนำสืบของโจทก์จะไม่ได้ความว่า การสั่งซื้อสินค้าคดีนี้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน หรือมีหลักฐานซื้อขายเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94