คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประชา ประสงค์จรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา
การที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ร่วมแล้วกระทำชำเราโจทก์ร่วม เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ข่มขืนกระทำชำเราหลังหน่วงเหนี่ยวกักขัง
การที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ร่วมอายุ 18 ปีเศษ แล้วกระทำชำเราโจทก์ร่วม เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกัน โดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ครบถ้วนตามกฎหมายอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. หรือ บ. เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินคดี แก้ต่างคดีของโจทก์ ฟ้องแย้งร้องสอดเข้าเป็นคู่ความร่วมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงานคดีภาษีอากร คดีล้มละลาย... โดยให้ผู้รับมอบอำนาจคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำการดังกล่าวแทนโจทก์ในนามโจทก์ได้ ดังนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากรฯ เมื่อโจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 2 คน คนใดคนหนึ่งทำการฟ้องคดีแพ่งและกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจนั้นจำนวนเพียง 30 บาท จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์ในเอกสารดังกล่าวไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจพิพาทจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ส. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
การจะปิดอากรแสตมป์ลงในใบมอบอำนาจเป็นจำนวนเท่าใดนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของประมวลรัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า (ข) การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่า ครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ส่วน (ค) การมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคล หลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ให้ติดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ผู้รับมอบอำนาจคือ ส. หรือ ข. คนใดคนหนึ่งฟ้องคดีแพ่ง และกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเพียง 30 บาท จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์ในเอกสารดังกล่าวไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน มีผลให้ไม่อาจใช้เป็นพยาน หลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. เกี่ยวกับการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ ทำให้ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกน้ำมันโดยประมาทเลินเล่อชนท้ายรถโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เพื่อวินิจฉัยว่าความประมาทเลินเล่อเกิดจากฝ่ายใด และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกแล้ว จำเลยร่วมที่ 2 ให้การปฏิเสธว่า จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ในขณะเดียวกันก็ให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ซึ่งเป็นการโต้แย้งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งห้า แสดงให้เห็นว่าทั้งสามฝ่ายต่างโต้แย้งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งห้ายังคงอุทธรณ์อ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 นอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แต่ละฝ่ายแก้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมที่ 2 โดยไม่สั่งให้จำเลยแต่ละฝ่ายส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อยื่นคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 235 เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาชอบที่จะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนให้กลับไปดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2), 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้มีการยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งห้าก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลให้การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกโดยประมาทเลินเล่อชนรถโจทก์เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความอ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยร่วมที่ 2 ให้การว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1แต่เพียงผู้เดียว ทั้งให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ดังกล่าวนอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย้อนสำนวนให้ดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ มิใช่การโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เช่าบ้านและใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตลอดมา ต่อมาจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการได้ทำรายงานเท็จเสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาขอให้เพิกถอนเช่นนี้ รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมอย่างไร ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
แม้เรื่องนี้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่
แม้ในคดีเดิมศาลรับฟ้องไว้แล้ว ถ้าต่อมาศาลเห็นว่าตามคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานผลการตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของโจทก์ที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่เสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ในเรื่องนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าหลังเลิกสัญญา การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ให้สิทธิจำเลยประกอบการสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งมีข้อผูกพันที่จำเลยต้องซื้อเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์เท่านั้นเพื่อนำไปขาย โดยมีการกำหนดราคาซื้อขายกันไว้อันมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดของโจทก์ด้วย ต่อมาจำเลยเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โดยตกลงว่าจำเลยไม่มีสิทธิดำเนินกิจการสถานบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกต่อไปแล้ว แต่หลังจากนั้น จำเลยกลับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกโดยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยตกลงกับโจทก์เมื่อมีการเลิกสัญญาดังกล่าวดังนี้ เป็นการปฏิบัติผิดข้อตกลงกับโจทก์และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประกาศธนาคาร ชอบด้วยกฎหมายหากไม่เกินอัตราที่ธปท.กำหนด
หนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยงวดหนึ่งงวดใด ผู้กู้ยินยอมให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทุกงวด และให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดไว้ตามประกาศของธนาคารที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนจนครบถ้วนและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความว่าถ้าผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ผิดนัดได้ในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดไว้ตามประกาศของผู้รับจำนอง ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ การที่ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีตามประกาศของโจทก์จึงเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญากู้และสัญญาจำนอง และเมื่อในขณะนั้นประกาศของโจทก์ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดไว้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปีตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้อำนาจไว้ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะ
of 33