คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประชา ประสงค์จรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการไม่อุทธรณ์ได้: การรอไต่สวนคำร้องคุ้มครองประโยชน์ไม่ถือเป็นการยกคำร้อง
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งมายื่นใหม่ภายใน 15 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอไว้สั่งหลังจากได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อน คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของจำเลย แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องต่อมาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ยื่นไว้ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งที่ให้รอการไต่สวนไว้ก่อนเท่านั้น หาได้ มีผลเป็นการยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาที่ จำเลยยื่นไว้อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 ไม่ คำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการวางท่อระบายน้ำในที่ดินของผู้อื่น กรณีทางจำเป็น ค่าทดแทน และขนาดท่อ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยยินยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยซึ่งตกเป็นทางจำเป็น โดยโจทก์ยอมใช้ค่าทดแทนให้ 30,000 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะวางท่อระบายน้ำผ่าน แต่หากศาลเห็นว่าจะต้องวางท่อระบายน้ำผ่านก็ขอให้โจทก์ใช้เงินค่าทดแทนแก่จำเลย 5,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์จะใช้สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 ได้หรือไม่เพียงใด ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าทดแทนอยู่ในตัว เพราะโจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใดจะต้องพิจารณาถึงค่าทดแทนที่โจทก์เสนอด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 50,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินทางจำเป็น ค่าทดแทน และประเด็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยยินยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยซึ่งตกเป็นทางจำเป็น โดยโจทก์ยอมใช้ค่าทดแทนให้ 30,000 บาท จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะวางท่อระบายน้ำผ่าน แต่หากศาลเห็นว่าจะต้องวางท่อระบายน้ำผ่านก็ขอให้โจทก์ใช้เงินค่าทดแทนแก่จำเลย 5,000,000 บาทการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์จะใช้สิทธิวางท่อระบายน้ำในที่ดินของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352ได้หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าทดแทนอยู่ในตัวเพราะโจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใดจะต้องพิจารณาถึงค่าทดแทนที่โจทก์เสนอด้วย การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 50,000 บาท จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้เดิม กรณีพิพาทสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์
จำเลยทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ว่าหากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าสิทธิ์เพลงตามสัญญา โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์ในคดีนี้กล่าวหาว่าผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์และโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ กล่าวหาว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวโดยโจทก์ได้ทำสัญญาให้ ว. ใช้ลิขสิทธิ์เพลงบางส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีแรก ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการตกลงให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงเป็นครั้งคราวและตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ฉบับเดิม โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทนสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเดิมเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวและไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นก่อน กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หากไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้เดิมที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่กระทบหนี้เดิม การพิพากษายกฟ้องเป็นอคติ
จำเลยทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาได้ โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาจำเลยฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าว โดยจำเลยได้ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัท ว. ใช้ลิขสิทธิ์เพลงบางส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีแรก ดังนั้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่มีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงเป็นครั้งคราว แต่ไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์ฉบับเดิม โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นก่อน กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลกรณีสินค้าเสียหายจากความบกพร่องในการควบคุมอุณหภูมิ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนการให้บริการของสายการเดินเรือของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย ใบตราส่งที่จำเลยที่ 2ออกให้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนสินค้าทางทะเลระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง อันเป็นการออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1การดำเนินการของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการรับขนสินค้ามีเพียงการจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ให้โจทก์นำไปบรรจุสินค้าและรับมอบตู้คอนเทนเนอร์นำไปบรรทุกลงเรือของจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำการขนส่งสินค้าทางทะเลช่วงระยะทางช่วงหนึ่งช่วงใด จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลเท่านั้นหาใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นไม่ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ในการตกลงซื้อขายสินค้า คู่สัญญาย่อมมีสิทธิตกลงเงื่อนไขการส่งมอบและเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์แก่กันได้ แม้ตามใบกำกับสินค้าจะระบุราคาสินค้ารวมค่าระวางหรือซีแอนด์เอฟซึ่งถือว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการนำสินค้าพ้นกราบเรือที่ท่าเรือบรรทุกสินค้าขึ้นก็ตามแต่เมื่อการซื้อขายดังกล่าวมีการตกลงกันตามธรรมเนียมการซื้อขายผลไม้สดโดยโจทก์ผู้ขายจะต้องส่งสินค้าให้ผู้ซื้อได้ตรวจคุณภาพจนพอใจแล้ว ผู้ซื้อจึงตกลงรับซื้อและชำระราคาให้ ดังนั้น เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งจนผู้ซื้อไม่ยอมรับซื้อและชำระราคาโจทก์ในฐานะผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเล ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ตามสัญญารับขนของทางทะเลนั้น
โจทก์เพียงส่งมอบใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1เท่านั้นยังไม่ได้โอนใบตราส่งไปยังผู้ซื้อ แม้ผู้ซื้อจะได้เรียกร้องให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามสิทธิทั้งหลายของโจทก์ในฐานะผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนของทางทะเลก็ยังหาได้โอนไปยังผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งไม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ได้ตามพระราชบัญญัติการรับของทางทะเลฯ มาตรา 39
ใบตราส่งสินค้าระบุว่าสินค้าที่ขนส่งเป็นทุเรียนสดจำนวน 1,200 หีบห่อ อันเป็นการระบุจำนวนและลักษณะของหน่วยการขนส่งที่รวมกันนั้นไว้ในใบตราส่ง ดังนี้ ต้องถือว่าสินค้าที่ขนส่งมีจำนวนหน่วยการขนส่ง 1,200 หน่วยตามพระราชบัญญัติการรับของทางทะเลฯมาตรา 59(1) มิใช่ 1 ตู้คอนเทนเนอร์เป็น 1 หน่วยการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์: สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ยังไม่ชำระราคา, การโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้รับโอน
แม้ว่าการซื้อขายเครื่องชั่งพิพาทระหว่าง ข. กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่า ถ้า ข. ผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงินให้แก่จำเลยผู้ขายได้ ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ยินยอมให้จำเลยไปรับเอาเครื่องชั่งพิพาทคืนไปได้ทันทีโดยไม่จำกัดว่าเครื่องชั่งพิพาทจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม แต่การซื้อขายเครื่องชั่งดังกล่าวเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ระบุตัวทรัพย์และราคา แน่นอนแล้ว และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงในการซื้อขายว่า หากผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบถ้วนทรัพย์สินที่ขายยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายอยู่จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วนแต่อย่างใด จึงมิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข แต่เป็นสัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ ข. จะยังไม่ชำระราคาให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในเครื่องชั่งพิพาทก็ย่อมโอนไปยัง ข. แล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนเครื่องชั่งพิพาทมาจาก ข. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องชั่งพิพาทโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ทราบว่า ข. ซื้อเครื่องชั่งพิพาทมาจากจำเลยและยังไม่ได้ชำระราคาหรือไม่ เครื่องชั่งพิพาทจึงมิใช่เป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้เคียวป้องกันตัวจากภรรยาที่ทำร้ายร่างกาย
ผู้ตายกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี มีบุตรด้วยกัน 5 คน มีความสัมพันธ์รักใคร่ผูกพันซึ่งกันและกันแม้จะมีปากเสียงทะเลาะกันบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาระหว่างสามีภริยา เหตุที่จำเลยใช้เคียวฟันผู้ตายก็เนื่องจากถูกผู้ตายถีบและเตะซึ่งถือเป็นเหตุเล็กน้อย กรณีไม่ใช่เหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องฆ่ากัน จำเลยฟันผู้ตายเพียงครั้งเดียว การที่เคียวถูกที่ลำคอผู้ตายเป็นเรื่องบังเอิญ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้ การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมาก การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีก ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.อ.มาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตายระหว่างสามีภริยา
ผู้ตายกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนกันมาเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี มีบุตรด้วยกัน 5 คน มีความสัมพันธ์รักใคร่ผูกพันซึ่งกันและกันแม้จะมีปากเสียงทะเลาะกันบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาระหว่างสามีภริยา เหตุที่จำเลยใช้เคียวฟันผู้ตายก็เนื่องจากถูกผู้ตายถีบและเตะซึ่งถือเป็นเหตุเล็กน้อย กรณีไม่ใช่เหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จะต้องฆ่ากัน จำเลยฟันผู้ตายเพียงครั้งเดียวการที่เคียวถูกที่ลำคอผู้ตายเป็นเรื่องบังเอิญ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้ตายก็ไม่มีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเตะถีบทำร้ายร่างกายและข่มขู่จะฆ่าจำเลยได้ เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน กรณีถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้การที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันผู้ตายไป 1 ครั้ง ก็เพื่อจะยับยั้งมิให้ผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลยอีก จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ถีบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธ ทั้งจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยแม้จำเลยอ้างว่าผู้ตายขู่จะฆ่าจำเลยด้วยก็เป็นเรื่องข่มขู่กันระหว่างสามีภริยา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องจริงจัง จึงมิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงอย่างมากการที่จำเลยใช้เคียวเป็นอาวุธฟันถูกที่ลำคอผู้ตาย แม้จะมีเจตนาเพียงทำร้ายเพื่อไม่ให้ผู้ตายเข้ามาทำร้ายจำเลยอีกก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ประกอบด้วยมาตรา 69
of 33