พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายบริการและการเพิกถอนการจดทะเบียน แม้เป็นคำสามัญและใช้กับบริการต่างประเภท
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกัน แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการของโจทก์มีคำว่า PLACE กับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า อาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารนั้นที่เรียกกันว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลย จึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองและอาจเรียกขานเครื่องหมายบริการทั้งสองว่าโอเรียนเต็ลเหมือนกัน เครื่องหมายบริการทั้งสองต่างใช้คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ แม้ตัวอักษร O ตัวแรกในเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรตัวอื่น และลายเส้นตัวอักษรแต่ละตัวมีความหนาบางประสมกันแตกต่างจากเครื่องหมายบริการของจำเลยที่มีขนาดตัวอักษรและความหนาของลายเส้นเสมอกันทุกตัว ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ยังเป็นคำ คำเดียวกันเรียกขานเหมือนกันเป็นจุดสำคัญอยู่ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงนับว่าคล้ายกับเครื่องหมายบริการของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการของโจทก์อยู่ใกล้ชิดกับโรงแรมที่ใช้เครื่องหมายบริการของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงนับได้ว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายบริการ ORIENTAL ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและโอกาสสับสนในเชิงธุรกิจ
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกันโดยแม้จะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการ ของโจทก์มีคำว่า PLACEกับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วย แต่ก็ได้ความว่าอาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ใช้คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารที่เรียกว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยจึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองที่ต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่แม้ขนาดและลายเส้นตัวอักษรจะแตกต่างกันก็เป็นเพียงในรายละเอียดเล็กน้อยที่มีเสียงเรียกขานเหมือนกัน จึงนับว่าเครื่องหมายทั้งสองคล้ายกัน
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนสินค้าไม่ต้องรับผิดในสัญญา หากผู้ขนส่งทำสัญญาและออกใบตราส่งเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับขนสินค้า: ความรับผิดตามสัญญาเมื่อตัวการทำสัญญาเอง
จำเลยมิได้เป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ แต่เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการเป็นผู้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับผู้ส่งโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งในฐานะเป็นผู้ขนส่งเองโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนสินค้าพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 824
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งเป็นการทำการตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7312/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: การคิดดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารพาณิชย์ และผลของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน
สัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารผู้ให้กู้ ตามคำสั่งและประกาศของโจทก์ที่ 57/2537 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2537 ประกอบคำสั่งและประกาศของโจทก์ที่ 126/2539 ที่ใช้บังคับขณะทำสัญญากู้เงินรายนี้ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกจากลูกต้าทั่วไปที่ไม่ผิดเงื่อนไขในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี คือ ร้อยละ 14.5 ต่อปี บวกด้วยอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี จากประกาศดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ มิใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่กำหนดไว้เพียงร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดดอกเบี้ยในสัญญากู้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราลูกค้าผิดเงื่อนไข มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปเช่นนี้ จึงเป็นการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจึงขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นโมฆะทั้งหมด ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 416 บาท ซึ่งโจทก์นำมาสมทบรวมเข้ากับต้นเงินกู้ที่ค้างชำระก็กำหนดให้คิดดอกเบี้ยอัตราเดียวกับที่จำเลยทั้งสองต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญากู้ด้วยซึ่งเท่ากับอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ เช่นกัน โจทก์คงคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดเท่านั้น แม้ในสัญญากู้เงินจะมิได้ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ขณะทำสัญญาเป็นเท่าใดแต่ก็มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของผู้ให้กู้ ซึ่งตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ที่ใช้บังคับขณะทำสัญญา กู้เงินรายนี้ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ทั้งในกรณีลูกค้าปกติทั่วไปที่ไม่ผิดนัด และลูกค้าที่ผิดนัดผิดเงื่อนไขไว้โดยชัดแจ้ง การที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราใดย่อมจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศของโจทก์ซึ่งสามารถตรวจดูได้ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จะเรียกเก็บจากจำเลยทั้งสองขณะทำสัญญาว่าเป็นเท่าใด หาทำให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยทั้งสองไม่ชัดเจนไม่มีผลบังคับดังศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล F.I.O.S.T. ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายและสูญหายของสินค้า
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางทะเล ประกันภัย รับช่วงสิทธิ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลททาง online ++
++
++
++
++ คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยจำนวน 582,295.18บาท และรับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนลโปรดักส์ ผู้เอาประกันภัยอีกรายหนึ่งจำนวน 35,390.02 บาท มาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นคดีเดียวกัน
++ การพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์ต้องถือทุนทรัพย์ในการรับช่วงสิทธิแต่ละรายแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ที่โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ที.เอ.อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์มาฟ้องเป็นคดีนี้ มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท คดีในส่วนนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
++ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า กากเม็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายและไม่อาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
++
++ สำหรับกรณีโจทก์รับช่วงสิทธิจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัดนั้น ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยกากถั่วเหลืองจากบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ที่จำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยใช้เรือเตาฮัวหลิงจากเมืองแดนดอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังท่าเรือในประเทศไทย เพื่อส่งมอบให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงท่าเรือในประเทศไทย ปรากฏว่าบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ได้รับมอบกากถั่วเหลืองไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 โดยขาดไป 123.57เมตริกตัน โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน582,295.15 บาท ให้แก่บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้เอาประกันภัยไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 และรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่ง
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลอันจะทำให้จำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดสำหรับความสูญหายดังกล่าวต่อบริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ผู้รับตราส่งหรือไม่ เพียงใด
++ เห็นว่า โจทก์มีใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16ถึง จ.19 ใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง 11 และหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงว่าบริษัทเซรอยฟู๊ด เลียนนิ่ง เซรีลส์ แอนด์ ออยล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตจำกัด ผู้ส่งได้ส่งกากถั่วเหลืองจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน มาให้บริษัทศิริผลมหานคร จำกัด ทางเรือเดินทะเลชื่อเตาฮัวหลิง โดยผู้แทนเรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งได้ลงชื่อออกใบตราส่งเอกสารหมายจ.16 ถึง จ.19 ระบุว่า กากถั่วเหลืองดังกล่าวได้บรรทุกบนเรือในลักษณะเทกอง (IN BULK) รวมน้ำหนัก 4,773.150 เมตริกตัน ตั้งแต่วันที่28 กันยายน 2536 แม้จะได้ความว่า การขนส่งรายนี้เป็นการขนส่งแบบF.I.O.S.T. ซึ่งผู้ส่งมีหน้าที่บรรทุกของลงเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็ตาม แต่ก่อนการบรรทุกกากถั่วเหลืองลงเรือก็ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักของกากถั่วเหลืองโดยนำไปชั่งน้ำหนักบนตาชั่งที่ตรวจสอบแล้วและชั่งน้ำหนักได้ 4,773.150 เมตริกตัน ปรากฏตามหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักของสำนักงานตรวจสอบสินค้านำเข้าและส่งออกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนสาขาเลียนนิ่ง เอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 การที่เรือเตาฮัวหลิงของจำเลยผู้ขนส่งออกใบตราส่งเอกสารหมาย จ.16 ถึง จ.19 ให้แก่ผู้ส่งสินค้าโดยระบุว่าผู้ส่งสินค้าได้ส่งกากถั่วเหลืองลงเรือแล้วในลักษณะเทกอง และระบุจำนวนน้ำหนักไว้ชัดเจนว่ากากถั่วเหลืองมีน้ำหนักจำนวน4,773.150 เมตริกตัน ตรงกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสอบน้ำหนักเอกสารหมาย จ.12 ถึง จ.15 และใบกำกับสินค้าเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.11 ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ระบุโดยผู้ส่ง
++ จึงเชื่อได้ว่าผู้ส่งของได้ส่งมอบกากถั่วเหลืองลงเรือเตาฮัวหลิงครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งคือจำนวน 4,773.150 เมตริกตัน แต่ต่อมาเมื่อเรือเตาฮัวหลิงเดินทางมาถึงประเทศไทย นายสราวุธ ภู่เจริญยศ พนักงานของบริษัท พี แอนด์ เอ แอดจัสเม้นท์ จำกัด ซึ่งโจทก์ว่าจ้างให้สำรวจความเสียหายของสินค้าพยานโจทก์เบิกความว่า นายสราวุธได้ทำการสำรวจกากถั่วเหลืองแล้ว ปรากฏว่ากากถั่วเหลืองที่ขนถ่ายออกจากเรือทั้งหมดมีน้ำหนัก 4,649.58 เมตริกตัน ขาดจำนวนจากใบตราส่งไป123.57 เมตริกตัน หรือร้อยละ 2.59 ตามรายงานการสำรวจพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24
++ นายสราวุธเป็นพนักงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจความสูญหายและเสียหายของสินค้าไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด คำเบิกความจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
++ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กากถั่วเหลืองที่ขนส่งได้สูญหายขาดจำนวนไปในระหว่างการขนส่งทางทะเลซึ่งจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดในความสูญหายดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันตามสัญญาประกันภัยทางทะเลไป โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิดังกล่าวของผู้เอาประกันมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยผู้ขนส่งสินค้านั้นได้
++ ส่วนปัญหาว่า เรียกร้องได้เพียงใดนั้น
++ แม้จะได้ความจากคำเบิกความของนายสราวุธประกอบรายงานการสำรวจเอกสารหมาย จ.22 และ จ.24 ว่า ในการขนถ่ายสินค้าใช้เครื่องตักก้ามปูตักกากถั่วเหลืองจากเรือลงรถยนต์บรรทุกแล้วแล่นไปชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การขนถ่ายโดยวิธีการใช้เครื่องตักดังกล่าวทำให้กากถั่วเหลืองร่วงหล่นสูญเสียไปบ้างเล็กน้อยซึ่งผู้รับตราส่งต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนนี้เอง เพราะเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือตามข้อตกลงในการขนส่งแบบ F.I.O.S.T. ก็ตามแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้หักค่าเสียหายส่วนนี้ให้แล้ว โดยหักเป็นความเสียหายส่วนแรกที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามเงื่อนไขการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 จำนวนร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้าทั้งหมดซึ่งคิดเป็นจำนวน 47.731 เมตริกตัน ออกจากน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนทั้งหมด คงเหลือน้ำหนักสินค้าขาดจำนวนสุทธิ 75.839 เมตริกตัน คำนวณเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทั้งสิ้น 582,295.15 บาท รายละเอียดปรากฏตามหนังสือเรียกร้องเอกสารหมาย จ.29 และ จ.30 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งห้าตามหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งนี้หนังสือรับรองและ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่าจำเลยทั้งห้ามีถิ่นอยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่นำสืบว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวแต่พยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าฟังไม่ได้ว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวไปแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งห้ายังคงมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือรับรองและแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งห้า ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ไม่ใช่การซื้อขายลิขสิทธิ์ แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2534 มาตรา 26
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์หนังสือเรียน: การปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อยไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์งานใหม่ นายจ้างไม่มีสิทธิเผยแพร่
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่งหมายความว่า งานใดเข้าลักษณะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทใดประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 หรือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และยังได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ใช้บังคับ ก็คงให้ได้รับความคุ้มครองต่อไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 78 วรรคสองหมายความว่า งานใดที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวแต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ก็ให้งานนั้นได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537แต่ทั้งนี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีผลใช้บังคับไม่ใช่นับแต่วันที่งานนั้นได้สร้างขึ้น
การพิจารณาว่าหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์เป็นตำราเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 โดยวางรากฐานการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา มีเนื้อหาสาระของตัวอย่างการคิดและวิเคราะห์ แบบทดสอบคิดเลขเร็ว และโจทก์ปัญหาในภาคผนวกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในสายการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนมีแนวการคิดและมีการวิเคราะห์หาคำตอบได้รวดเร็ว และดัดแปลงวิธีการคิดให้เป็นแนวทางของตนเองได้ ทั้งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดเลข มีความสัมพันธ์กันตามลำดับความง่ายยากตามขั้นตอน จูงใจให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้มีความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่โจทก์นำตัวเลขรูปภาพสัญลักษณ์ โจทก์ปัญหาและเครื่องหมายต่าง ๆ กันมาปรับใช้โดยมีวิธีการคิดตามลำดับเพื่อให้เข้ากับหลักสูตรและพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการเรียนตามวัยของเด็กนักเรียนในลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากการใช้สอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานหลายปี เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานของโจทก์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์เองอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานดังกล่าว หาใช่เป็นเพียงความคิด ขั้นตอนกรรมวิธี ระบบวิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการการค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ อันไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใดไม่ หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วจึงเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
แม้สัญญาจะระบุชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์"แต่มีข้อความในรายละเอียดกำหนดจำนวนตำราคณิตคิดเลขเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ กำหนดเดือนและปีที่เริ่มจำหน่าย และการคิดเงินค่าลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้ลงนามในฐานะผู้ขายและจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่มและกำหนดจำนวนพิมพ์ของหนังสือแต่ละเล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ตามมาตรา 13(4) และ 14แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมทั้งหกเล่มของโจทก์และแนบสำเนาสัญญามาท้ายฟ้องซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์ก็ตาม ก็เป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของโจทก์ โจทก์มีเจตนาที่แท้จริงเพียงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
แม้หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์จะมีการปรับปรุงใหม่โดยโจทก์และนักวิชาการของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการปรับปรุงโดยเปลี่ยนรูปแบบปกหนังสือใหม่และจัดรูปแบบหนังสือโดยแยกคำเฉลยออกพิมพ์ต่างหาก ส่วนเนื้อหาของหนังสือยังเหมือนเดิม หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงไม่ใช่เป็นงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงโดยปรับปรุงงานเดิมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ แต่เป็นงานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมเดียวกันกับหนังสือฉบับเดิมนั่นเอง หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธินำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ปรับปรุงใหม่ออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยพิมพ์ออกจำหน่ายในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 7
การพิจารณาว่าหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์เป็นตำราเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 โดยวางรากฐานการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา มีเนื้อหาสาระของตัวอย่างการคิดและวิเคราะห์ แบบทดสอบคิดเลขเร็ว และโจทก์ปัญหาในภาคผนวกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในสายการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนมีแนวการคิดและมีการวิเคราะห์หาคำตอบได้รวดเร็ว และดัดแปลงวิธีการคิดให้เป็นแนวทางของตนเองได้ ทั้งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดเลข มีความสัมพันธ์กันตามลำดับความง่ายยากตามขั้นตอน จูงใจให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้มีความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่โจทก์นำตัวเลขรูปภาพสัญลักษณ์ โจทก์ปัญหาและเครื่องหมายต่าง ๆ กันมาปรับใช้โดยมีวิธีการคิดตามลำดับเพื่อให้เข้ากับหลักสูตรและพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการเรียนตามวัยของเด็กนักเรียนในลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากการใช้สอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานหลายปี เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานของโจทก์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์เองอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานดังกล่าว หาใช่เป็นเพียงความคิด ขั้นตอนกรรมวิธี ระบบวิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการการค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ อันไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใดไม่ หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วจึงเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
แม้สัญญาจะระบุชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์"แต่มีข้อความในรายละเอียดกำหนดจำนวนตำราคณิตคิดเลขเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ กำหนดเดือนและปีที่เริ่มจำหน่าย และการคิดเงินค่าลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้ลงนามในฐานะผู้ขายและจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่มและกำหนดจำนวนพิมพ์ของหนังสือแต่ละเล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ตามมาตรา 13(4) และ 14แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมทั้งหกเล่มของโจทก์และแนบสำเนาสัญญามาท้ายฟ้องซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์ก็ตาม ก็เป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของโจทก์ โจทก์มีเจตนาที่แท้จริงเพียงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
แม้หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์จะมีการปรับปรุงใหม่โดยโจทก์และนักวิชาการของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการปรับปรุงโดยเปลี่ยนรูปแบบปกหนังสือใหม่และจัดรูปแบบหนังสือโดยแยกคำเฉลยออกพิมพ์ต่างหาก ส่วนเนื้อหาของหนังสือยังเหมือนเดิม หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงไม่ใช่เป็นงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงโดยปรับปรุงงานเดิมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ แต่เป็นงานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมเดียวกันกับหนังสือฉบับเดิมนั่นเอง หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธินำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ปรับปรุงใหม่ออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยพิมพ์ออกจำหน่ายในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน การครอบครองทำประโยชน์ และการคัดค้านการรังวัดที่ดิน
++ เรื่อง ที่ดิน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 9 หน้า 170 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 9 หน้า 170 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++