คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประชา ประสงค์จรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บ้านปลูกบนที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิอาศัย ไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ป. ให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมา และจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทหลังจากที่ดินพิพาทตกเป็นของ ป. แล้วโดย ป. รู้เห็นยินยอม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิอาศัยในที่ดินพิพาทปลูกสร้างบ้านไว้ในที่ดินนั้น บ้านจึงเข้าข้อยกเว้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลความกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพิ่มเติมแก้ไขข้อความ แต่แปลความตามเจตนาที่แท้จริง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่พิพาท ช่องผู้เอาประกันภัยนั้นได้ระบุชื่อบริษัท ค. และชื่อบุคคลอยู่ภายในวงเล็บต่อมา เป็นเหตุให้เกิดความสงสัย การที่ศาลอุทธรณ์แปลความถึงความมุ่งหมายที่เกิดขึ้นจริงแห่งข้อความที่ปรากฏว่าบุคคลที่อยู่ภายในวงเล็บเป็นผู้เอาประกันภัย จึงเป็นเพียงเหตุผลในการแปลความตามอักษรที่ปรากฏนั้นหาได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลไม่รับฟังเหตุพิจารณาใหม่ แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบเรื่องฟ้องเนื่องจากบวช
ขณะเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัด ซึ่งห่างจากบ้านจำเลยเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปมาสะดวก ที่บ้านจำเลยมีภริยาบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยอาศัยอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไปทำบุญที่วัดดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งในการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่พบภริยาจำเลยอยู่ที่บ้าน แต่ภริยาจำเลยไม่ยอมรับหมายแทน จึงได้ปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล แสดงว่าภริยาจำเลยทราบเรื่องการส่งหมายทั้งสองครั้งแล้ว ซึ่งตามปกติวิสัยเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ภริยาจำเลยหรือบุคคลอื่นในบ้านย่อมต้องรีบแจ้งให้จำเลยทราบเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การในกำหนด และไม่ได้ไปศาลตามวันเวลาที่นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและจงใจขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีเหตุให้พิจารณาใหม่และรับคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด – จำเลยต้องแจ้งความประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความไม่มาศาล และหน้าที่จำเลยในการแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความและการบังคับคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ห. เจ้ามรดก เป็นเจ้าของรวมกัน หลังจากโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสาม และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แบ่งที่ดินพิพาทตามรูปแผนที่ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำชี้อันเป็นการกระทบสิทธิของ ค. ค. ก็ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาระหว่างสมรส การบอกล้างสัญญา และผลของการบอกล้าง
คดีนี้เดิมโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีเงื่อนไขฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว ต่อมาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สำเร็จผล มีผลให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นอันตกไปไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์และจำเลยจึงได้ทำข้อตกลงกันใหม่เป็นสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 จึงมีผลผูกพันโจทก์จำเลยแทนสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 แต่จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 นั้นได้อีก จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงจึงยังไม่เกิดเป็นสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 โจทก์ต้องฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเป็นคดีใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 เป็นข้อตกลงเพื่อจัดการทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อจำเลยได้บอกล้างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว สัญญาระหว่างสมรสของโจทก์จำเลยจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ถือเช็คโดยชอบมีสิทธิฟ้องเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป. เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป. แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็คโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประกอบมาตรา 988(4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คมีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้จะมอบให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป.เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป.แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ประกอบมาตรา 988 (4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้
of 33