พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อเช็คอย่างระมัดระวัง และต้องรับผิดเมื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม แม้ผู้เสียหายมีส่วนประมาท
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นธุรกิจของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ เป็นลายมือชื่อปลอม มิใช่ลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการทั้งสองดังกล่าวที่ให้ไว้แก่ธนาคาร และมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์โดยกรรมการทั้งสองนี้เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่ธนาคารจำเลยไปเช่นนี้ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อซื้อยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และการริบเงินล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เงิน 100 บาท ของกลางที่ใช้ในการล่อซื้อมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใดซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด vs. การครอบครองก่อน & การขาดอายุความ
จำเลยทั้งสามให้การมีสาระสำคัญว่า จำเลยทั้งสามได้ถือสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2530 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองหรือทำประโยชน์ หากฟังว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ฟ้องโจทก์ก็ขาดอายุความเพราะฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยการถูกแย่งสิทธิครอบครองซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับจากวันที่ถูกแย่งการครอบครองตามคำให้การดังกล่าวแสดงว่า จำเลยทั้งสามอ้างว่าจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2530 จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้แย่งการครอบครองจากผู้ใดเพราะการแย่งการครอบครองนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ส่วนที่ว่าหากฟังได้ว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสามก็ได้แย่งการครอบครองแล้วนั้นเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขโดยต้องฟังเป็นที่ยุติก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งข้อเท็จจริงยังโต้แย้งกันอยู่ ทั้งขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกที่ว่าจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ในปัจจุบัน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ตามที่จำเลยให้การต่อสู้
การที่จำเลยทั้งสามฎีกาในทำนองว่าโจทก์ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 นั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่มีประเด็นว่าโจทก์ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตหรือไม่ หรือเป็นไปโดยไม่ชอบอย่างไร และมิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
การที่จำเลยทั้งสามฎีกาในทำนองว่าโจทก์ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 นั้น เมื่อตามคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่มีประเด็นว่าโจทก์ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตหรือไม่ หรือเป็นไปโดยไม่ชอบอย่างไร และมิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญา แม้ใช้ตราประทับไม่ถูกต้อง หากได้รับประโยชน์จากสัญญานั้น
แม้ว่าตราประทับของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ใช้ประทับในสัญญาจะมิใช่ตราสำคัญที่บริษัทจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็เป็นตราที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ในการทำธุรกรรมทางการค้ากับโจทก์ตลอดมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้ว การทำสัญญาดังกล่าวจึงสมประโยชน์จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับ พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณโทษปรับ
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ มีระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากร เข้าด้วยแล้ว กฎหมายมิได้กำหนดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีตามกฎหมายอื่นมารวมคำนวณด้วย คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมบาร์และโซ่ยนต์ของกลางที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคา 7,000 บาท ค่าภาษีอากรขาเข้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มรวมเป็นเงิน 2,737 บาท เมื่อหักภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของราคาของดังกล่าวจำนวน 490 บาท ออกแล้ว คงเป็นราคาของและอากรขาเข้า รวมเป็นเงิน 9,247 บาท โทษปรับสี่เท่าเป็นจำนวน 36,988 บาท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับจำเลยทั้งสาม ในความผิดดังกล่าวก่อนลดโทษรวมเป็นเงิน 38,948 บาท โดยนำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณค่าปรับด้วยนั้นเกินกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยทั้งสามถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นเงิน 18,494 บาท หากจำเลย ไม่ชำระค่าปรับและจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ต้องกักขังจำเลยตามส่วนคนละเท่า ๆ กัน จึงกักขังจำเลยได้คนละ 30 วัน
จำเลยทั้งสามถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นเงิน 18,494 บาท หากจำเลย ไม่ชำระค่าปรับและจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ต้องกักขังจำเลยตามส่วนคนละเท่า ๆ กัน จึงกักขังจำเลยได้คนละ 30 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์กระทบสาธารณูปโภค ลดโทษเมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งผ่านสายสัญญาโทรศัพท์ จากสายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7,192 หน่วย มีมูลค่าราคารวม 7,192 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นผลเสียต่อกิจการที่เป็นประโยชน์ในทางสาธารณะ เกิดผลกระทบต่อระบบการสื่อสารในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงลำพังแต่การที่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ยังไม่เหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงและการนำบทบัญญัติมาใช้บังคับเมื่อไม่มีศาลแขวงในพื้นที่
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะและให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 157 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้องเมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการจึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรีตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย