คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประชา ประสงค์จรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีจำนอง แต่ยังเรียกหนี้จำนองได้ภายใน 5 ปี
จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยย่อม สิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาอีกต่อไป แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินได้ระงับสิ้นไป การจำนองที่ดิน จึงยังคงมีอยู่ แม้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแต่หนี้จำนองตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมายกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเป็นเวลา 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: สิทธิการบังคับคดีขาดอายุความ แต่สิทธิการรับชำระหนี้จำนองยังคงอยู่ และการชำระหนี้โดยวางทรัพย์
การที่จำเลยมิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่หนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่จำเลยยังคงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จำนองตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินพิพาทได้ระงับสิ้นไป จำเลยยังคงมีสิทธิจะบังคับจำนอง แม้หนี้ที่ประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 เมื่อโจทก์เสนอขอชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยเป็นเวลา 5 ปี แต่จำเลยไม่ยอมรับชำระหนี้ การที่โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้จำนองแก่จำเลยจึงเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนถอนจำเลยที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองที่ดิน แต่คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนถอนจำนองที่ดินดังกล่าวหลังจากระยะเวลาในการบังคับคดีเดิมได้ล่วงหน้าพ้นไปแล้ว หาเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องมิได้เป็นทนายความ และการไม่อาจฎีกาลดโทษ
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมี ธ. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียน โดย ธ. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ทนายความฯ การที่ ธ. เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา, โมฆะ, ดอกเบี้ยตามกฎหมาย, การชำระหนี้, ความเชื่อโดยสุจริต
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ให้แก่โจทก์ในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ (ปัจจุบันเท่ากับอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) และหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้คืนเบี้ยประกันอัคคีภัยแก่โจทก์เต็มจำนวนพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ที่กำหนดให้พึงเรียกเก็บได้ (ในปัจจุบันอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 (2) แม้ขณะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิได้คิดอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ก็ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้และหนังสือยินยอมได้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้และเบี้ยประกันอัคคีภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ จึงย่อมจำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ประกอบอาชีพค้าขาย โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์ อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น ย่อมมีเหตุที่จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ปลอมและพิรุธ โจทก์ฟ้องผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่น ร่วมกันกระทำผิด การรับฟังพยานหลักฐาน และการระงับคดีเนื่องจากการตายของผู้ต้องหา
พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุกับจำเลยที่ 1 ทั้งเบิกความและให้การได้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นในขณะเกิดเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมชิงทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คน ซึ่งคล้ายจำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้ตายขับรถยนต์รับจ้างออกไปจากโรงแรม ร. หลังจากนั้นไม่นานผู้ตายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตาย และทิ้งศพไว้ในที่เกิดเหตุ และต่อมาในวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของผู้ตายไปใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์ร้านทอง ทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ว่าจ้างผู้ตายให้ขับรถยนต์รับจ้างจากกรุงเทพมหานครไปส่งที่จังหวัดสระบุรี เมื่อไปถึงก็ได้ร่วมกันชิงทรัพย์รถยนต์คันดังกล่าวและฆ่าผู้ตาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเท่านั้น บ่งชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นคนร้ายรายนี้จริง ที่จำเลยที่ 1 นำสืบต่อสู้ว่าไม่เคยไปพักที่โรงแรม ร. กับได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การโดยไม่ได้อ่านข้อความเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายนั้น เมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ให้การกล่าวถึงการกระทำโดยละเอียดและยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพตามบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 จึงไม่น่าเชื่อ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้ตายตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จากบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง โดยการแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสอบสวนที่ชอบ ไม่ควรรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้นั้น เห็นว่า การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ทั้งจำเลยที่ 1 เพิ่งยกเรื่องการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบว่าพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้จำเลยที่ 1 ทราบ อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นพยานหลักฐานได้
อนึ่ง คดีนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ข้อเท็จจริงจากรายงานสืบเสาะฯ ประกอบดุลพินิจลงโทษ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในท้องสำนวนจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ศาลสามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษได้โดยชอบ หาใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกสำนวนไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. ไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ประสงค์ให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้แก่จำเลย 2 อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนให้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 โดยมิได้มีการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้วิธีการสำหรับเด็ก: ประวัติพฤติกรรมผู้กระทำผิดมีผลต่อการพิจารณาการดูแล
การใช้วิธีการสำหรับเด็กตาม ป.อ. มาตรา 74 (2) เป็นกรณีที่ศาลเห็นว่าบิดามารดาสามารถดูแลเด็กนั้นได้ แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีประวัติกระทำความผิดในคดีอื่นฐานร่วมกันลักทรัพย์ของผู้อื่นในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะอันแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย ไม่สำนึกหรือเกรงกลัวต่อโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ไม่น่าจะอยู่ในวิสัยที่บิดามารดาของจำเลยที่ 2 จะสามารถดูแลได้ การที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยที่ 2 เข้ารับการศึกษาและฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น จึงเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กที่เหมาะสมแก่จำเลยที่ 2 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกเกินอัตรากฎหมายกำหนดในคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงเจ็ดปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว วางโทษจำคุก 4 ปี นั้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเรือประมงรู้เห็นเป็นใจกับการลักลอบขนน้ำมัน จึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของเรือประมงของกลางที่ถูกศาลสั่งริบในความผิดฐานลักลอบซื้อขายน้ำมันหลีกเลี่ยงภาษีได้ความว่า ก่อนนำเรือพิพาทออกให้เช่าผู้ร้องจัดทำถังน้ำมันจำนวนมากถึง 20 ถัง บรรทุกอยู่บริเวณหน้าเครื่องบรรจุน้ำมันได้ถึง 40,000 ลิตร ซึ่งโดยปกติเรือประมงทั่วไปจะมีถังน้ำมันที่ห้องเครื่องห้องละ 1 ถัง มีปริมาตรไม่เกิน 10,000 ลิตร นอกจากนี้เรือดังกล่าวยังมีเครื่องสูบถ่ายน้ำมันที่สามารถถ่ายน้ำมันออกไปสู่เรือลำอื่นได้ แสดงจุดประสงค์หรือเจตนาของผู้ร้องว่าจะใช้เรือดังกล่าวสำหรับบรรทุกน้ำมันเพื่อถ่ายให้เรือลำอื่นด้วย พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
of 33