พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์รายงานสืบเสาะและพิจารณาในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกามีอำนาจบวกโทษคดีที่รอการลงโทษตามกฎหมาย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ: การครอบครองแทนโจทก์และการอาศัยสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ราษฎรผู้ครอบครองไม่อาจยกสิทธิใด ๆ ขึ้นโต้แย้งรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมยกการยึดถือครอบครองขึ้นยันผู้อื่นได้
โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาจำเลยขอใช้ประโยชน์ในที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านโดยจำเลยยอมเสียค่าเช่าหรือค่าตอบแทนแก่โจทก์ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการอาศัยสิทธิของโจทก์เป็นการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท
หมายเหตุ วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา (ครั้งที่ 1/2547)
โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต่อมาจำเลยขอใช้ประโยชน์ในที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านโดยจำเลยยอมเสียค่าเช่าหรือค่าตอบแทนแก่โจทก์ ถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทจึงเป็นการอาศัยสิทธิของโจทก์เป็นการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท
หมายเหตุ วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา (ครั้งที่ 1/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ศาลยืนตามดุลพินิจศาลล่าง ไม่รอการลงโทษจำคุก เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยลักเอาเงินจำนวน 2,051 บาท ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจากเครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งไว้ให้บริการแก่ประชาชนในเวลากลางคืน โดยใช้กุญแจและอุปกรณ์อื่นที่จัดเตรียมมาเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด และใช้จักรยานเป็นพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด พาทรัพย์ไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดความขัดข้องในการใช้โทรศัพท์สาธารณะของประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 18 ปีเศษ นับว่าอยู่ในวัยที่มีวุฒิภาวะและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพอสมควรแล้ว แต่กลับกระทำความผิดดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงความสงบสุขของสังคมส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งวันแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อพิสูจน์อำนาจฟ้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
มีดที่จำเลยใช้เป็นอาวุธเป็นมีดสปาต้ายาวประมาณ 1 ศอก นับว่าเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายแก่บุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ และจำเลยเข้าไปฟันผู้เสียหายบริเวณใบหน้าในขณะที่ผู้เสียหายนอนอยู่ไม่ทันได้ระวังตัว ซึ่งจำเลยสามารถที่จะฟันโดยแรงให้ผู้เสียหายมีแผลฉกรรจ์ได้ แต่ปรากฏว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับบริเวณดั้งจมูกมีขนาดยาวเพียง 2 เซนติเมตร ส่วนที่ศีรษะด้านหลังก็มีขนาดยาวเพียง 3 เซนติเมตร บาดแผลทั้งสองแห่งเป็นแผลตื้นใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน เท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันโดยแรง นอกจากนี้ยังได้ความจากผู้เสียหายว่ามีดที่จำเลยใช้ฟันมีผ้าพันทั้งด้าม โดยจำเลยเพียงดึงผ้าที่พันทางด้านปลายมีดออกเล็กน้อยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงชีวิต สำหรับสาเหตุที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าจำเลยมาก่อน คงได้ความตามทางนำสืบของจำเลยว่ามีสาเหตุมาจากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเป็นวัยรุ่นหมู่บ้านปลาปากที่เคยทำร้ายเพื่อนของจำเลยซึ่งมิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงฟังเพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้า-ยาสูบ: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุม-สอบสวนได้ แม้ไม่มีผู้ร้องทุกข์ และการประกาศราคายาสูบไม่ต้องลงราชกิจจานุเบกษา
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 เป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจทำการสอบสวนได้ ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษผู้กระทำผิดหรือไม่ แม้จะวินิจฉัยว่าการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีผลทำให้การดำเนินคดีนี้แก่จำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ศาลจังหวัดมุกดาหารดำเนินการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ตามคำขอของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 47 วรรคสอง เมื่อศาลจังหวัดมุกดาหารเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสืบพยานเพิ่มเติมตามมาตรา 26 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 45
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 23 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตออกประกาศเพื่อกำหนดราคายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตเพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบ ตามมาตรา 5 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตจะมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็มีผลใช้บังคับในการนำไปคำนวณค่าปรับได้
ศาลจังหวัดมุกดาหารดำเนินการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ตามคำขอของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 47 วรรคสอง เมื่อศาลจังหวัดมุกดาหารเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและสืบพยานเพิ่มเติมตามมาตรา 26 และ 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 45
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 23 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตออกประกาศเพื่อกำหนดราคายาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตเพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณค่าแสตมป์ยาสูบ ตามมาตรา 5 ตรี แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้บังคับให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตจะมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็มีผลใช้บังคับในการนำไปคำนวณค่าปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: การมอบอำนาจช่วงที่มิชอบ ทำให้การฟ้องร้องเป็นโมฆะ
บริษัท ย. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ได้มอบอำนาจให้บริษัท ค. โดย พ. มีอำนาจร้องทุกข์และดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ กับทั้งให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้ แสดงว่าผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายคือบริษัท ค. มิใช่ พ. เช่นนี้ พ. ในฐานะส่วนตัวจึงไม่อาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลใดไปร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้ การที่ พ. มอบอำนาจช่วงให้ ป. ไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะที่ พ. เองเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การแจ้งความร้องทุกข์โดย ป. ตามที่ได้รับมอบอำนาจจาก พ. จึงเป็นการร้องทุกข์โดยมิชอบเพราะกระทำไปโดยผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ดังนั้น พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ ปัญหาเรื่องการสอบสวนและการฟ้องคดีชอบหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: การครอบครองแทนโจทก์และผลของการโอนที่ดินก่อนครบกำหนด
การครอบครองที่ดินของ ส. เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากสหกรณ์นิคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของสหกรณ์นิคม หากมิได้ปฏิบัติตาม ส. อาจถูกสั่งให้ออกจากนิคมสหกรณ์ได้ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐหรือสหกรณ์ผู้ได้รับมอบอำนาจทางกฎหมายให้จัดที่ดินให้แก่สมาชิก มิได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่สมาชิกแต่อย่างใด การครอบครองของ ส. จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์และไม่สามารถขายหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดได้ การที่ ส. ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์มานั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารสิทธิที่แสดงว่า ส. ได้ทำประโยชน์ในที่ดินและเป็นสมาชิกสหกรณ์มาเกินห้าปี และสามารถนำเอกสารนี้ไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองทำประโยชน์ได้เท่านั้น มิใช่เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงถึงการครอบครอง ดังนั้น ถึงแม้ผู้ร้องจะได้รับมอบการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินก็เป็นเพียงเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส. เท่านั้น เมื่อ ส. ไม่มีสิทธิครอบครองผู้ร้องก็ไม่ได้สิทธิครอบครองด้วย และเมื่อภายหลัง ส. ถึงแก่กรรมจำเลยได้เข้าสวมสิทธิของ ส. นำหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องไว้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายได้กระทำลงยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 12 จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจใช้บังคับได้ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: การบรรเทาโทษ, ความสามารถในการรู้ผิดชอบ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดข่มขู่หรือชักชวนให้จำเลยกระทำความผิด และจำเลยสามารถหลบหนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่บ้านเพื่อน แสดงว่าระดับเชาวน์ปัญญาของจำเลยไม่ได้อยู่ในระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จำเลยกระทำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 65
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดียาเสพติด และการแก้ไขโทษ บทลงโทษที่ไม่เกิน 5 ปี
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 บัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นการแสดงมาในฟ้องแล้วว่าประกาศดังกล่าวมีอยู่จริง แม้โจทก์จะไม่ได้แนบประกาศมาท้ายฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง