พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดียาเสพติด และการแก้ไขโทษ บทลงโทษที่ไม่เกิน 5 ปี
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 บัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นการแสดงมาในฟ้องแล้วว่าประกาศดังกล่าวมีอยู่จริง แม้โจทก์จะไม่ได้แนบประกาศมาท้ายฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'รถ' ทางกฎหมาย: รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงเข้าข่ายรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายหรือไม่
ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า รถ ไว้ว่า หมายความว่า รถยนต์? และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ ข้อ 1 วรรคหนึ่ง ว่า ให้รถใช้งานเกษตรกรรมเป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และวรรคสองความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รถที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรมโดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ส่วนข้อ 2 มีความว่า รถใช้งานเกษตรกรรมต้องเป็นรถที่มีสามล้อ หรือสี่ล้อ? กว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร? เมื่อรถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วง มีล้อ 4 ล้อ คือ 2 ล้อหน้าเป็นส่วนตัวรถไถนาแบบเดินตาม ส่วน 2 ล้อหลัง เป็นส่วนกระบะที่ดัดแปลงมาพ่วงต่อใช้เป็นส่วนให้คนนั่งหรือบรรทุกพืชผักผลไม้ได้ โดยแล่นไปโดยอาศัยเครื่องยนต์ของรถไถนาแบบเดินตามส่วนหน้านั้นเอง ไม่ได้อาศัยเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์โดยเฉพาะมาติดตั้ง ดังนั้น จึงครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) รถไถนาแบบเดินตามมีกระบะพ่วงจึงเป็นรถใช้งานเกษตรกรรมและเป็นรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2525) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากข้อเท็จจริงเรื่องระยะเวลาจำคุกในคดีเดิมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี รวม 101 กระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงมาว่า จำเลยถูกจำคุกในคดีเดิม 12 คดี รวมกันมีกำหนด 20 ปี ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยถูกจำคุกมา 74 ปี นั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยถูกจำคุกในคดีเดิมมาเป็นเวลาเท่าไร จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้อีกหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6765/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมาย 'LAUFEN' ดีกว่าจำเลย แม้ยังมิได้จดทะเบียนในไทย ศาลยืนเพิกถอนเครื่องหมาย 'UMI-LAUFEN'
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 40 นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องและเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง
กำหนดระยะเวลา 5 ปี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 ให้นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามมาตรา 40 มิใช่นับแต่วันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันจะมีผลให้ถือเอาวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMILAUFEN เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2537 และวันที่ 19 เมษายน 2539 ตามลำดับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 เมษายน2542 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ที่จำเลยได้รับโอนจากบริษัท ส. และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญาผู้ถือหุ้น และมิได้ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ตามสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า ทั้งมิได้ขอให้บังคับตามสิทธิในสัญญาให้ความช่วยเหลือและบริการทั่วไปทางเทคนิค คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เกิดจากกรณีพิพาทกันตามข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรืออาศัยสิทธิตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งตามสัญญาทั้งสามฉบับดังกล่าวอันจะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก่อน โจทก์จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และ UMI-LAUFEN สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และใช้กับสินค้าสุขภัณฑ์มาก่อนจำเลยจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าสุขภัณฑ์ ดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ตามสัญญาที่โจทก์ให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าหรือไม่ เป็นอีกปัญหาหนึ่งและเป็นคนละเรื่องกับการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า และห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN โดยใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์มาก่อนที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ของจำเลย แม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "LAUFEN" สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFENของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์มาก่อนจำเลยแม้ยังมิได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้านั้นในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และคำว่า UMI-LAUFEN ซึ่งใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ก็มีคำว่า LAUFEN อันเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่าLAUFEN ของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ดังนั้น แม้คำว่า UMI-LAUFEN จะเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตและขายสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ซึ่งใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าUMI-LAUFEN ของจำเลยได้
กำหนดระยะเวลา 5 ปี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 ให้นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามมาตรา 40 มิใช่นับแต่วันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันจะมีผลให้ถือเอาวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMILAUFEN เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2537 และวันที่ 19 เมษายน 2539 ตามลำดับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 เมษายน2542 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ที่จำเลยได้รับโอนจากบริษัท ส. และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามสัญญาผู้ถือหุ้น และมิได้ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ตามสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า ทั้งมิได้ขอให้บังคับตามสิทธิในสัญญาให้ความช่วยเหลือและบริการทั่วไปทางเทคนิค คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เกิดจากกรณีพิพาทกันตามข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรืออาศัยสิทธิตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งตามสัญญาทั้งสามฉบับดังกล่าวอันจะต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก่อน โจทก์จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และ UMI-LAUFEN สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และใช้กับสินค้าสุขภัณฑ์มาก่อนจำเลยจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าสุขภัณฑ์ ดังนี้ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ตามสัญญาที่โจทก์ให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าหรือไม่ เป็นอีกปัญหาหนึ่งและเป็นคนละเรื่องกับการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า และห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN โดยใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์มาก่อนที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ของจำเลย แม้โจทก์จะยังมิได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย โจทก์ก็เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "LAUFEN" สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFENของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์มาก่อนจำเลยแม้ยังมิได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้านั้นในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAUFEN และคำว่า UMI-LAUFEN ซึ่งใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย และเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ก็มีคำว่า LAUFEN อันเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่าLAUFEN ของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ดังนั้น แม้คำว่า UMI-LAUFEN จะเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตและขายสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า UMI-LAUFEN ซึ่งใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าUMI-LAUFEN ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: จำเลยไม่มีส่วนร่วมในการโฆษณาชักชวนโดยตรง ทำให้ไม่มีความผิด
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการกู้ยืมเงินของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจำเลยที่ 1 จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จำเลยที่ 1 ไม่ทราบการดำเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจำเลยทั้งสี่โดยตรง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง โดยศาลแก้คำพิพากษาเดิมให้จำเลยต้องรับผิดตามสัดส่วน
ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ ระบุว่าทำที่ธนาคารโจทก์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีเนื้อความตอนต้นว่า ตามที่บริษัท อ. และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างได้รับสินเชื่อไปจากธนาคารโจทก์ประเภทสกุลเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐนั้น บัดนี้บริษัททั้งสองมีความประสงค์จะขอโอนและรับโอนภาระหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์ มีเนื้อความตอนต่อไปว่า ตามที่บริษัท อ. มีภาระหนี้กับโจทก์ สาขาฮ่องกง ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2541 รวมเป็นเงินจำนวน 1,287,046.95 ดอลลาร์สหรัฐ นั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ขอรับโอนภาระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งหมดที่บริษัท อ. มีอยู่กับโจทก์ ณ สาขาฮ่องกง มาเป็นหนี้ในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ณ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ และยินยอมให้โจทก์เปลี่ยนสกุลเงินจากเงินดอลลาร์สหรัฐ มาเป็นเงินบาท และในตอนท้ายระบุว่า บันทึกนี้ทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ได้รับทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ชำระหนี้แทนบริษัท อ. และมิให้ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่ประการใด ข้อเท็จจริงได้ความว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวทำขึ้นที่ธนาคารโจทก์จริง ในวันทำบันทึกข้อตกลง บริษัท อ. และจำเลยที่ 1 ต่างก็ได้ลงนามในฐานะผู้โอนและผู้รับโอนไว้ ส่วนโจทก์ยังไม่ได้ลงนาม เพราะต้องมีการเสนอให้ลงนามไปตามลำดับชั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับบริษัท อ. และโจทก์ โดยใจสมัครและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งต่อมาก็ได้มีการลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ บันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ได้ ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้เพราะหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ในคำให้การและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหยิบยกประเด็นข้อนี้มาเป็นเหตุหนึ่งในการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 13 ฉบับ และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 11 ฉบับ เมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จากทุกสัญญาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเกินกว่าหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 2 ฉบับ รวมวงเงิน 39,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 3 ฉบับ รวมวงเงินทั้ง 3 สัญญา เป็นเงินจำนวน 24,000,000 บาท โดยตามสัญญาจำนองทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบถ้วน ดังนั้น นอกเหนือจากที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่จำนองในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมีบุคคลสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ด้วย เมื่อรวมวงเงินต้นเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000,000 บาท ซึ่งยังน้อยกว่าวงเงินต้นเงินตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้จำนวน 67,394,972.55 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพียงในวงเงินต้นเงินจำนวน 63,000,000 บาท พร้อมอุปกรณ์แห่งหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 13 ฉบับ และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 11 ฉบับ เมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จากทุกสัญญาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเกินกว่าหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 2 ฉบับ รวมวงเงิน 39,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 3 ฉบับ รวมวงเงินทั้ง 3 สัญญา เป็นเงินจำนวน 24,000,000 บาท โดยตามสัญญาจำนองทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบถ้วน ดังนั้น นอกเหนือจากที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่จำนองในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมีบุคคลสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ด้วย เมื่อรวมวงเงินต้นเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000,000 บาท ซึ่งยังน้อยกว่าวงเงินต้นเงินตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้จำนวน 67,394,972.55 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพียงในวงเงินต้นเงินจำนวน 63,000,000 บาท พร้อมอุปกรณ์แห่งหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อการกำหนดโทษและการพิจารณาความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองและจำหน่าย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอด แสดงว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองยาเสพติดต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอดนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า จำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการต่างประเทศตามมาตรา 824
แม้โดยหลักทั่วไปว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก เมื่อตัวแทนกระทำการแทนตัวการไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่ตัวแทนได้ทำไปดังกล่าวนั้น โดยตัวแทนไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ก็ตาม แต่ในกรณีตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศนั้นเป็นกรณีที่มี มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนเช่นนี้ต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง ซึ่งหมายความว่า ตัวแทนเช่นว่านี้ต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมา และศาลได้พิจารณาเห็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกคนหนึ่งได้ตาม มาตรา 824
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/46)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนตัวการต่างประเทศ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
โจทก์เป็นผู้ขายมีหน้าที่ที่จะต้องส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทาง และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญารับขนของทางทะเลว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองให้ดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่สินค้าได้เกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่ง ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ส่งซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งย่อมมีสิทธิจะฟ้องร้องให้ผู้ขนส่งรับผิดต่อโจทก์ได้ตามสัญญารับขนของทางทะเล ทั้งโจทก์ยังไม่ได้โอนใบตราส่งให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง โดยโจทก์เพียงแต่ส่งมอบต้นฉบับใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ท่าเรือต้นทางเพื่อให้แจ้งไปยังตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางให้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งที่โจทก์ระบุไว้เท่านั้น แม้ผู้ซื้อจะได้เรียกร้องให้ตัวแทนของผู้ขนส่งที่ท่าเรือปลายทางส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว สิทธิทั้งหลายของโจทก์ในฐานะผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนยังหาได้โอนไปยังผู้รับตราส่งไม่ นอกจากนั้นผู้ซื้อยังไม่ได้ตกลงรับซื้อสินค้า สินค้าจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากความเสียหายของสินค้าด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนที่ใต้หวัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อยังเมืองฮ่องกงโดยวิธีขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจัดเตรียมการขนส่ง รับมอบสินค้าตลอดจนนำสินค้าบรรทุกลงเรือ และเป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาตัวแทนย่อมไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศเป็นกรณีที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเองซึ่งหมายความว่าตัวแทนต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนในประเทศไทยที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมาและศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนที่ใต้หวัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบัง ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อยังเมืองฮ่องกงโดยวิธีขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนส่ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยเกี่ยวกับการจัดเตรียมการขนส่ง รับมอบสินค้าตลอดจนนำสินค้าบรรทุกลงเรือ และเป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศด้วย การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาตัวแทนย่อมไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
การที่ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศเป็นกรณีที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเองซึ่งหมายความว่าตัวแทนต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศกับจำเลยที่ 2 ตัวแทนในประเทศไทยที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 1 รวมกันมาและศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย