พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาขายฝาก, ลาภมิควรได้, การคืนเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, เพิกถอนทะเบียน
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดิน น.ส.3 ตกเป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับกล่าวคือ ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งก็ต้องคืนเต็มจำนวนนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ เพราะเป็นหนี้เงิน แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่รับไว้และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วตั้งแต่เมื่อใด โจทก์ทั้งสองคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยถือว่าเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอคดีทางภารจำยอม: ต้องฟ้องเป็นคำฟ้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ
ผู้ร้องอ้างว่าทางเข้าออกตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินผู้ร้องโดยอายุความ และผู้ร้องเคยขอให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของผู้ร้อง แต่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเพิกเฉย แสดงว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิผู้ร้องต้องเสนอคดีต่อศาลเป็นคำฟ้องมิใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอคดีทางภาระจำยอม: จำเป็นต้องฟ้องเป็นคำฟ้องเมื่อมีข้อพิพาท
ผู้ร้องอ้างว่าทางเข้าออกตามเอกสารท้ายคำร้องขอตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้ร้อง ผู้ร้องเคยขอให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้ร้อง แต่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเพิกเฉย แสดงว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามที่อ้าง ผู้ร้องต้องเสนอคดีต่อศาลเป็นคำฟ้อง มิใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้: ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ไม่อนุญาตให้ยกคดีที่ได้งดการพิจารณาไว้ขึ้นพิจารณาต่อไปเป็นคำสั่งที่มิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เพราะศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯได้มีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังผลคำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำร้องขอของโจทก์เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/13 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับขนทางอากาศ: ผู้ส่งต้องรับผิดชอบค่าระวางส่วนที่เรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้ หากตกลงกันไม่มีเงื่อนไขความรับผิด
การที่จำเลยผู้ขายสินค้าว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าทางอากาศจากประเทศไทยไปส่งแก่ผู้ซื้อที่ต่างประเทศ โดยตกลงกันให้ชำระค่าระวาง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองส่วน ส่วนแรกให้เรียกเก็บจากจำเลย ส่วนที่สองให้เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขนส่งสินค้าของจำเลยไปส่งให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อ โจทก์ผู้ขนส่งในฐานะเป็นคู่สัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลย จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะ คู่สัญญาให้ชดใช้ส่วนที่ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่ง: ความรับผิดของผู้ส่งเมื่อเรียกเก็บค่าระวางจากผู้ซื้อไม่ได้
โจทก์และจำเลยตกลงกันขนส่งสินค้าโดยให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเรียกเก็บไม่ได้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ในใบตราส่งก็ไม่มีเงื่อนไขว่าหากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่ง ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้ และเมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันผิดนัดแก่โจทก์อีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางอากาศ: การชำระค่าระวางและสิทธิเรียกร้องเมื่อเรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้
แม้โจทก์ผู้ขนส่งและจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งจะตกลงกันให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทางไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ทั้งในใบตราส่งก็ไม่ได้ระบุจำนวนค่าระวางไว้และไม่ได้มีเงื่อนไขใด ๆ ว่า หากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลย เมื่อโจทก์กับจำเลยเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางอากาศกันโดยตรง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองครอบคลุมหนี้ในอนาคต แม้ชำระหนี้เดิมแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้นจากหนี้จำนอง
ตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองฉบับ เป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของโจทก์และหรือ ถ. ต่างระบุว่าจำนองเป็นประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองหรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้าทุกลักษณะหนี้ นอกจากนั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองทั้งสองฉบับนี้ ซึ่งสัญญาจำนองให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนองต่างระบุไว้เช่นเดียวกันว่า "เนื่องจากทรัพย์จำนองเป็นประกันหนี้ในขณะทำสัญญาจำนองและหนี้ต่อไปในภายหน้าด้วย ผู้จำนองและผู้รับจำนองจึงตกลงกันว่าตราบใดที่ผู้จำนองยังมิได้ทำการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามผู้จำนองและผู้รับจำนองยังคงตกลงให้ถือว่าสัญญาจำนองคงมีผลบังคับอยู่เพื่อประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าของลูกหนี้ดังกล่าวกับผู้รับจำนอง" ส่วนบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองที่ดินก็ระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามสัญญาจำนองฉบับเดิมทุกประการดังนี้ เมื่อหนี้เบิกเงินบัญชีของ ถ. กับหนี้บัตรเครดิตของ ถ. กับโจทก์เป็นหนี้ที่มีขึ้นภายหลังจากการจำนองในขณะที่ยังมิได้ทำการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองย่อมเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตดังกล่าวด้วยตามข้อตกลงในสัญญาจำนอง การที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอใช้บัตรเครดิตมิได้ระบุให้เอาที่ดินตามสัญญาจำนองเป็นประกันหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงในสัญญาจำนองไม่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์และ ถ. กู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว ก็ยังไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นจากหนี้จำนอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและส่งมอบโฉนดที่ดินกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่จำนอง รวมทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและการริบรถยนต์ที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 2 มีข้อความระบุแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านได้ขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 320,000 บาทได้รับเงินมัดจำไว้ 170,000 บาท ส่วนที่เหลือ 150,000 บาท จะชำระในวันที่ 29มกราคม 2541 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีการแบ่งชำระราคาซื้อขายเป็น 2 งวดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 มิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ผู้คัดค้านจึงมิใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินสมรสหลังการขายฝากโดยไม่ยินยอม แม้ขับไล่แล้วสิทธิคู่สมรสยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาทว่าจำเลยขายฝากที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์และพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นสามีของจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ดังนี้แม้ศาลจะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีที่มีการขายฝากของโจทก์จำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดจะมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)