พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ การอุทธรณ์ต้องอาศัยเหตุผลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามคำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่ในวันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี อันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรกดังนั้น คำร้องของโจทก์ฉบับหลังจึงมีข้ออ้างและคำขอแตกต่างกับคำร้องของโจทก์ฉบับแรก เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องตามคำร้องฉบับแรกของโจทก์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์ในวันที่ 4 ธันวาคม2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมอบสินค้าขัดต่อสิทธิผู้รับตราส่ง และความรับผิดของตัวแทนผู้ขนส่งและผู้รับสินค้า
ใบตราส่งระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการส่งมอบสินค้า แสดงว่าจำเลยมิใช่ผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่ง จำเลยจึงมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยได้รับคำสั่งจาก ค. ตัวแทนของผู้ขนส่งให้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมโดยแจ้งว่าต้นฉบับใบตราส่งได้มีการเวนคืนให้แก่ผู้ขนส่งแล้วที่ต้นทางโดยส่งโทรสารใบตราส่งมายืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวด้วย จำเลยจึงได้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยร่วมนำไปรับมอบสินค้าโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งจากจำเลยร่วม ตามโทรสารใบตราส่งก็ปรากฏชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้รับตราส่ง กรณีไม่มีเหตุให้จำเลยทราบได้ว่าคำสั่งให้ปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การที่จำเลยปล่อยสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยร่วมโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งจึงเป็นการที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งตามสัญญาตัวการตัวแทนระหว่างจำเลยกับผู้ขนส่งปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการโดยสุจริต ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุเงื่อนไขไว้อย่างแจ้งชัดว่าเอกสารใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์และให้แจ้งแก่จำเลยร่วม แม้ข้อความในตอนต่อมาจะระบุว่าเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วมก็ตาม ก็ย่อมหมายความว่าเอกสารที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วม เว้นแต่ใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์กล่าวคือ ให้โจทก์เป็นผู้รับตราส่งและให้แจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทให้จำเลยร่วมทราบ นอกจากนี้ผู้บริหารของ ค. กับบริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน จำเลยร่วมรับสินค้าไปจากผู้ขนส่งตามคำสั่งของ ค. จึงเชื่อได้ว่าขณะที่จำเลยร่วมรับสินค้าพิพาทไปจากผู้ขนส่ง จำเลยร่วมย่อมทราบดีว่าผู้รับตราส่งคือโจทก์มิใช่จำเลยร่วม โดยจำเลยร่วมเป็นเพียงผู้รับแจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิที่จะรับสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ไม่ การที่จำเลยร่วมขอรับสินค้าพิพาทไปจากจำเลยตัวแทนผู้ขนส่งโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับชำระค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้ขายไปแล้ว จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุเงื่อนไขไว้อย่างแจ้งชัดว่าเอกสารใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์และให้แจ้งแก่จำเลยร่วม แม้ข้อความในตอนต่อมาจะระบุว่าเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วมก็ตาม ก็ย่อมหมายความว่าเอกสารที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วม เว้นแต่ใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์กล่าวคือ ให้โจทก์เป็นผู้รับตราส่งและให้แจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทให้จำเลยร่วมทราบ นอกจากนี้ผู้บริหารของ ค. กับบริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน จำเลยร่วมรับสินค้าไปจากผู้ขนส่งตามคำสั่งของ ค. จึงเชื่อได้ว่าขณะที่จำเลยร่วมรับสินค้าพิพาทไปจากผู้ขนส่ง จำเลยร่วมย่อมทราบดีว่าผู้รับตราส่งคือโจทก์มิใช่จำเลยร่วม โดยจำเลยร่วมเป็นเพียงผู้รับแจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิที่จะรับสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ไม่ การที่จำเลยร่วมขอรับสินค้าพิพาทไปจากจำเลยตัวแทนผู้ขนส่งโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับชำระค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้ขายไปแล้ว จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยรถยนต์ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์กระบะ ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์รับประกันวินาศภัยและเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ ทำให้สินค้าของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากใคร ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดิม: การฟ้องเรียกหนี้จากทายาทโดยธรรมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ผู้ตายซึ่งเป็นบิดาชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ป. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวอีก ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายหรือไม่ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นรายเดียวกันคำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดสนับสนุนการออกใบเสร็จปลอม - การลงโทษซ้ำซ้อน
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีโดยมิชอบเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นผู้ปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีและเมื่อมีการล่อซื้อใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีปลอมจำนวน 69 ชุดในครั้งเดียวการกระทำของจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินปลอมรวม 69 ชุด จึงเป็นความผิดกรรมเดียว การที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ในความผิดฐานนี้ 69 กระทง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาความเสียหาย แม้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามอุทธรณ์
ในคดีที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. แม้โจทก์อุทธรณ์เพียงประการเดียวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน และศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ ๒ เท่านั้น สัญญาชัดเจน ไม่ต้องตีความเจตนาตาม มาตรา 171
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 บัญญัติว่า ในการตีความการแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรนั้น หมายถึง กรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกัน หรืออาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย จึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความแสดงเจตนา ดังนี้ จึงนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 171 มาบังคับให้ต้องสืบพยานบุคคลประกอบ เพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนอง: การตีความเจตนาตามสัญญาที่ระบุชัดเจน และขอบเขตความรับผิดของผู้จำนอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 ที่บัญญัติว่า ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ็งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรนั้น หมายถึง กรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกันหรืออาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนา
สัญญาจำนองพร้อมข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ ดังนี้ จึงนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 มาบังคับให้ต้องสืบพยานบุคคลประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) คดีจึงฟังได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินพร้อมข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์
สัญญาจำนองพร้อมข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ ดังนี้ จึงนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 มาบังคับให้ต้องสืบพยานบุคคลประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) คดีจึงฟังได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินพร้อมข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6537/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามก ศาลฎีกาพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการอุทธรณ์
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกันทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน และการพิพากษาคดีอาญา
การจับ ส. ที่บ้านได้กระทำโดยมีหมายจับที่พันตำรวจเอก ร. ออกโดยชอบและหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรี เมื่อแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น ส. ซึ่งยืนอยู่ด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้าน แล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่า ส. ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้วเข้าไปจับ ส. จึงเป็นกรณีจำเป็น ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 94 วรรคสอง
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป