คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใช้ไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระค่าบริการตามจำนวนที่ใช้จริง แม้เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้ไปเต็มจำนวน เมื่อปรากฏว่ามีการต่อสายไฟฟ้าเข้ามาตรวัดกระแสไฟฟ้าของจำเลยเฟสที่ 3 ขาเข้าและขาออกสลับกัน เป็นเหตุให้มาตราวัดกระแสไฟฟ้าหมุนช้าไปกว่าปกติร้อยละ65.5 แม้จะเกิดจากการกระทำผิดพลาดของพนักงานโจทก์เอง แต่จำเลยก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าไปเต็มจำนวน จำเลยจึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์อยู่ ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์เต็มจำนวนตามข้อตกลง เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดจำนวนไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเพิ่มเติมย้อนหลังให้ครบถ้วนได้ จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอใช้กระแสไฟฟ้าต่อโจทก์ในการนี้จำเลยยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อโจทก์ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟฟ้า ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บ โจทก์ได้ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้จำเลยเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้าประกอบการคิดค่ากระแสไฟฟ้าแสดงว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้าตามหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าตามมาตรวัดกระแสไฟฟ้าและอัตราค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยสามารถตรวจสอบดูได้มิใช่ว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใดก็ได้ตามความพอใจของโจทก์ ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บจึงมีความหมายเพียงว่า เมื่อโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว จำเลยต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้านั้น มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าตามความพอใจ ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ทำให้ประชาชนเสียหายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานเป็นมรดก ไม่ใช่สินสมรส ระเบียบบริษัทจ่ายให้ภริยาและทายาทที่ระบุได้
เงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานซึ่งนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานเป็นเงินของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างยังไม่ตายและออกจากงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง เมื่อลูกจ้างตายเงินดังกล่าวจึงเป็นมรดกของผู้ตาย มิใช่สินสมรสระหว่างผู้ตายกับภริยา ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างในการจ่ายเงินตามโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงานที่กำหนดให้ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับไปครึ่งหนึ่ง กับบุคคลที่ลูกจ้างระบุไว้ในหนังสือรับรองทายาทอีกครึ่งหนึ่งนั้น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิในมรดกก่อนได้รับมรดกเป็นโมฆะ การครอบครองที่พิพาทของทายาทเป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง ไม่ถือเป็นบุกรุก
โจทก์ร่วมและ ป. เป็นบุตร พ. จำเลยเป็นบุตร ป. ป.ตายก่อน พ. หลังจาก ป. ตายโจทก์ร่วมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นของ พ. และ ป. ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยนำที่พิพาทซึ่งโจทก์ร่วมแบ่งให้มาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วมก่อนที่ พ. จะตาย เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่โดยการรับมรดกแทนที่ ป. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ ที่พิพาทเป็นมรดกของ พ. ที่ยังไม่ได้แบ่ง การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและข้อตกลงรื้อถอนกำแพงวัด ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากได้รับความยินยอมจากวัด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
of 3