พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าชดเชยเป็นหนี้ได้ต่อเมื่อลูกจ้างพ้นสภาพแล้ว ไม่ขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้นดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วยของลูกจ้าง: แม้ไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ ก็มีสิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือน, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม, การหักกลบลบหนี้เงินทดรองจ่าย: สิทธิและหน้าที่นายจ้างลูกจ้าง
อุทธรณ์เรื่องการแปลความหมายแห่งเอกสารว่าเป็นหนังสือเตือนหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย เอกสารที่เป็นคำรับของโจทก์ว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย และโจทก์ให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีกหากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ โจทก์และคณะกรรมการสอบสวนได้ลงลายมือชื่อไว้มีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัว และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากจำเลยให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อโจทก์ ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนจำเลยได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของจำเลยโดยชอบเมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อจำเลยเลิกจ้างและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม การวินิจฉัยว่านายจ้างจะนำเงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างยืมไปอันเนื่องมาจากการทำงานมาหักชำระได้หรือไม่ ต้องวินิจฉัยจากข้อที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายพิเศษ ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นการทั่วไปมาวินิจฉัยได้ และเงินดังกล่าวมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินนั้นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่เป็นธรรมจากเหตุฝ่าฝืนระเบียบ และการหักเงินทดรองจ่ายจากค่าจ้าง
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีกซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเดือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินโบนัสชำระหนี้จากการเบิกเงินทดรองจ่าย: สิทธิของนายจ้างเมื่อลูกจ้างได้รับทุนฝึกอบรม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้ ขอเบิกเงินสมทบจากจำเลยเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเนื่องจากโจทก์ได้ รับทุนจากต่างประเทศ และจำเลยได้ อนุมัติให้โจทก์ยืมเงินทดรองจ่ายไป การที่โจทก์ขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะ ลูกจ้างและนายจ้างมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 จำเลยจึงมีสิทธินำเงินโบนัสที่จะต้อง จ่ายแก่โจทก์มาหักกับหนี้ ดังกล่าวได้ โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเงินโบนัสเป็นค่าจ้างหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากโบนัส: หนี้ที่เกิดจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้ขอเบิกเงินสมทบจากจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเนื่องจากโจทก์ได้รับทุนจากต่างประเทศ และจำเลยได้อนุมัติให้โจทก์ยืมเงินทดรองจ่ายไป การที่โจทก์ขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะ ลูกจ้างและนายจ้าง หนี้ที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันในฐานะ ลูกจ้างและนายจ้าง มิใช่หนี้อื่นตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 จำเลยมีสิทธินำเงินโบนัสที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์มาหักกับหนี้ดังกล่าวได้โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเงินโบนัสเป็นค่าจ้างหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินโบนัสชำระหนี้ที่เกิดจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้ขอเบิกเงินสมทบจากจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเนื่องจากโจทก์ได้รับทุนจากต่างประเทศ และจำเลยได้อนุมัติให้โจทก์ยืมเงินทดรองจ่ายไป การที่โจทก์ขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย เป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง หนี้ที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30จำเลยมีสิทธินำเงินโบนัสที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์มาหักกับหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินโบนัสเป็นค่าจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายค่ารถบริการรับส่งจากค่าจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นที่ไม่ชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก็เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากค่าจ้างลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 30ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างคำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยแม้โจทก์จะเสียค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฎิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่ หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่ จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้