คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสพสุข บุญเดช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ และการตกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของงานต้นฉบับ
จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามมาตรา 28 (2) และ 69 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสอง โดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง อันมิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท ดังนี้ จึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะมีผลเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้น เมื่อแผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 28 และ 69 จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองโดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่งให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง แต่ความผิดตามมาตรา 31และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดต่องานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น อันมิใช่การกระทำที่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ได้กระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองจึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 28(2) และ 69 วรรคสอง แต่ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
แผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล เมื่อสินค้าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของนิยามคำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 แต่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการถือได้ว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นเพราะการออกใบตราส่งของจำเลยที่ 2 ผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เป็นตัวการ เท่ากับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าดังกล่าวตามสัญญารับขนของทางทะเลช่วงจากกรุงเทพมหานครไปสิงคโปร์ และการที่จำเลยที่ 3 ขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าลงเรือของจำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้านั้นต่อไปยังท่าปลายทาง เป็นการที่ผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปอีกทอดหนึ่ง จำเลยที่ 4 จึงเป็นผู้ขนส่งอื่นตามคำนิยามใน พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ด้วย เมื่อสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหายระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้ขนส่งอื่น โดยมิใช่ความผิดของผู้ส่งของ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ขนส่งอื่น จึงต้องร่วมกันรับผิดสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวต่อผู้รับโอนใบตราส่ง ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 และมาตรา 43 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 และมาตรา 45
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากับผู้ส่งของโดยตรงในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดต่อผู้ส่งของโดยผลของกฎหมายคือ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 39 จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับโอนใบตราส่งโดยลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 และเมื่อจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ต่อผู้รับโอนใบตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การปลอมเอกสารคำสั่งศาลต้องเกิดขึ้นในบริเวณศาลจึงจะถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่การปลอมสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แม้จะมุ่งหมายให้เกิดผลเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และบุคคลทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นคำสั่งของศาลที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่อาจนำลำพังความมุ่งหมายให้เกิดผลดังกล่าวมาถือเป็นข้อชี้ขาดว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1),33 จึงไม่อาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาเสพติดจำนวนมาก ศาลฎีกายืนโทษประหารชีวิต แม้ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ
จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึง 110,000 เม็ดน้ำหนัก 10,496.92 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึง 1,044.916 กรัม แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มี พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทนก็ตาม แต่เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ขึ้นไปกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
การที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณาของศาล เป็นเพราะจำนนต่อพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ล่อซื้อจับกุมจำเลยที่ 2 ได้ขณะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้และมาเบิกความยืนยันความผิดของจำเลยที่ 2 ด้วยตนเอง จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถ-ความรับผิดชอบผู้ให้ยืม: ผู้ให้ยืมไม่รู้เห็นเป็นใจ หากผู้ขับขี่ประมาทหรือขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย
จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(8), 160 วรรคสาม โดยจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงฉวัดเฉวียนไปมาซึ่งความผิดเช่นว่านี้ แม้จำเลยจะมีใบอนุญาตขับรถยนต์ก็ยังเป็นความผิดได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะทราบว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ แต่ยังให้ยืมรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับขี่ ก็หาได้ถือว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนและตัวการจากการผิดสัญญาขนส่งสินค้าและการชำระหนี้เงินต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งไม่ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อที่ท่าเรือปลายทางจึงชำระเงิน 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ให้แก่บริษัท ย. เจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองแทนจำเลยทั้งสองแล้วรับสินค้าไป ทั้งที่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 หลายประการ ถึงแม้ในภายหลังโจทก์ที่ 1 จะได้ใช้เงินคืนให้โจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังได้รับความเสียหายในส่วนอื่นอีกอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเหตุให้ถูกบริษัท ย. ยึดหน่วงสินค้าไว้ จึงเป็นเรื่องที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งระหว่างโจทก์ที่ 2กับจำเลยทั้งสอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายส่วนอื่นได้
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนสินค้าทางทะเล: ความรับผิดในสัญญา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลในประเทศไทยในการทำพิธีการรายงานเรือเข้าออกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับแต่งตั้งมอบหมายให้สามารถลงชื่อในใบตราส่งในฐานะตัวแทนแทนนายเรือและเรียกเก็บเงินค่าระวางเพื่อโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการทำสัญญารับขนของทางทะเลเท่านั้น มิใช่ผู้ขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ แล้วจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
ในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสอง บัญญัติว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่มีคำพิพากษาหรือในวันสุดท้ายที่มีอัตราเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา หากในวันดังกล่าวอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวนมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันชำระหนี้กันจริง ก็จะมีผลให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องชำระจริง จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: รถยนต์ที่ซื้อระหว่างสมรส และเงินดาวน์รถที่มาจากเงินขายทรัพย์เดิม
ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ที่ดินที่จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่ชายจำเลย เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ อันถือเป็นสินส่วนตัวของจำเลย และมีการนำไปแลกเปลี่ยนกับที่ดินพิพาท 2 แปลง ทรัพย์สินที่ได้มาใหม่จึงย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะเป็นการได้ที่ดินมาแทนทรัพย์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำเงินของโจทก์ไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์วอลโว่ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังมิได้หย่าขาดจากกัน ประกอบจำเลยยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสองว่า กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสรถยนต์วอลโว่จึงมีสถานะเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยต้องได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง
ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยขอแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง เมื่อรถยนต์วอลโว่เป็นสินสมรสและโจทก์จำเลยหย่ากันแล้วก็ชอบที่จะแบ่งสินสมรสให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน แต่หากไม่สามารถนำรถยนต์สินสมรสมาแบ่งกันได้ก็ให้โจทก์ใช้คืนมูลค่าค่าเช่าซื้อที่ชำระไปครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีหย่า เพราะเป็นคนละมูลคดีกัน
คดีก่อนจำเลยได้ฟ้องหย่าโจทก์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ระหว่างพิจารณาโจทก์ได้ฟ้องขอหย่าจากจำเลยและจำเลยได้ฟ้องแย้งขอหย่าทั้งขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีนี้ ต่อมาคู่ความตกลงกันในคดีก่อนทำสัญญาประนีประนอมหย่าขาดจากกัน และศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนในคดีนี้คู่ความได้ตกลงสละประเด็นเรื่องฟ้องหย่าตั้งแต่ก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องหย่าในคดีนี้ นอกจากนี้ประเด็นในการฟ้องหย่ามีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกัน แม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่า แต่ก็หาจำต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ นอกจากนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่าดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 15