พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4034/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีคำบางส่วนซ้ำกัน และสินค้ามีราคาสูง-ต่ำแตกต่างกัน ไม่อาจสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า CHARLIE อ่านว่า "ชา-ลี" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำว่า ROYAL CHARLE อ่านว่า "รอ-ยอล-ชาร์ล" โดยวางคำว่า ROYAL และ CHARLE อยู่คนละบรรทัดกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงมีเสียงเรียกขานต่างกัน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าจากต่างประเทศและวางขายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ มีราคาอย่างต่ำขวดละ 200 บาท ในขณะที่สินค้าของจำเลยมีราคาเพียง 15 ถึง 19 บาทเท่านั้น จึงสามารถสังเกตถึงความแตกต่างดังกล่าวได้โดยง่ายและยากที่จะสับสนหรือหลงผิดระหว่างสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย เครื่องหมายการค้าคำว่า ROYAL CHARLE ของจำเลยจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า CHARLIE ของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้มีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าคำว่า ROYAL CHARLE ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากศาลฎีกายังไม่อนุญาตทุเลาการบังคับคดี
การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง แม้ผู้คัดค้านจะได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว แต่เมื่อศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหรืองดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ – การชำระหนี้ – อายุความ – ค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 35 ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศเสียได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น มิได้รวมถึงกรณีที่อนุญาโตตุลาการต่างประเทศจะต้องทำคำชี้ขาดภายใน 180 วัน นับแต่วันตั้งอนุญาโตตุลาการคนสุดท้าย
ภาระการพิสูจน์ว่าคู่สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ และผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับได้ทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณา หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุประการอื่นหรือไม่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 34 (1) และ (3) ตามลำดับ กำหนดให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิสูจน์ไม่ใช่ผู้ร้อง
ภาระการพิสูจน์ว่าคู่สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ และผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับได้ทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณา หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเพราะเหตุประการอื่นหรือไม่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 34 (1) และ (3) ตามลำดับ กำหนดให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิสูจน์ไม่ใช่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีครอบครัว: ไม่จำต้องมีหากบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 24 วรรคท้ายและมาตรา 109 มุ่งประสงค์ที่จะให้การพิจารณาคดีครอบครัวที่ต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วย ก็แต่เฉพาะคดีครอบครัวที่มีผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีเท่านั้น เมื่อขณะฟ้องบุตรทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้วจึงเป็นคดีครอบครัวที่ไม่มีเป็นผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่จำต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความก่อนการพิจารณาคดีว่าประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วยหรือไม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงแหล่งกำเนิดสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้า และความรับผิดของผู้จัดการห้างหุ้นส่วนในการละเลยป้ายน้ำมัน
โจทก์ร่วมทำสัญญากับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน โดยให้จำเลยมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อน้ำมันจากโจทก์ร่วมมาจำหน่ายเท่านั้น จำเลยผิดสัญญาโดยไปซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นมาจำหน่าย โจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญาให้จำเลยส่งคืนสถานีบริการน้ำมันแก่โจทก์ร่วม รวมทั้งเพิกถอนความยินยอมให้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม แต่จำเลยก็ยังคงประกอบการค้าต่อไปโดยซื้อน้ำมันจากที่อื่นมาจำหน่าย และยังคงติดป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมัน โดยมิได้แสดงเครื่องหมายให้ประชาชนเข้าใจว่าสถานีบริการน้ำมันนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของโจทก์ร่วม แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำเลยจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นการขายของโดยหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดแห่งของอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 271
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และการคำนวณค่าเสียหายตามน้ำหนักสินค้า
จำเลยเป็นเจ้าของเรือมาตุภูมิได้ดำเนินการขนส่งสินค้าร่วมกับบริษัทอาร์. โดยแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์กัน จำเลยจึงเป็น "ผู้ขนส่ง" นิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ เพราะเข้าลักษณะของบุคคลที่ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติและร่วมกันเป็นฝ่ายที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะอุณหภูมิไม่คงที่ในระหว่างการขนส่งในช่วงจากท่าเรือในเมืองสุราบายาถึงท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งมีความล่าช้าผิดปกติ จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายของสินค้าให้แก่โจทก์
พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพยานเอกสารที่ทำขึ้นก่อนเกิดข้อพิพาท เอกสารแต่ละฉบับมีรายละเอียดและจำนวนเงินระบุไว้อย่างมีเหตุผล เชื่อว่ารายการต่างๆ มีมูลค่าตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง อย่างไรก็ตาม น. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ให้ถ้อยคำว่าสินค้ารายพิพาทนี้เป็นราคาซีแอนด์เอฟคือราคาสินค้ารวมค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางรายการที่สองที่โจทก์เรียกร้องมาจึงรวมอยู่ในค่าสินค้ารายการที่หนึ่งด้วยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้ซ้ำอีกได้ ส่วนค่าเสียหายรายการที่เหลือ เมื่อเป็นรายการที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่น จึงเป็นความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์ แต่เมื่อคดีนี้เป็นการเรียกร้องให้จำเลยผู้ขนส่งรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยจึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาทต่อน้ำหนักของสินค้าตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และมาตรา 59 (1)
พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพยานเอกสารที่ทำขึ้นก่อนเกิดข้อพิพาท เอกสารแต่ละฉบับมีรายละเอียดและจำนวนเงินระบุไว้อย่างมีเหตุผล เชื่อว่ารายการต่างๆ มีมูลค่าตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง อย่างไรก็ตาม น. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ให้ถ้อยคำว่าสินค้ารายพิพาทนี้เป็นราคาซีแอนด์เอฟคือราคาสินค้ารวมค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางรายการที่สองที่โจทก์เรียกร้องมาจึงรวมอยู่ในค่าสินค้ารายการที่หนึ่งด้วยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้ซ้ำอีกได้ ส่วนค่าเสียหายรายการที่เหลือ เมื่อเป็นรายการที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่น จึงเป็นความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์ แต่เมื่อคดีนี้เป็นการเรียกร้องให้จำเลยผู้ขนส่งรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยจึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาทต่อน้ำหนักของสินค้าตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และมาตรา 59 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อลงมือเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน แม้ยังไม่ได้นำขึ้นยานพาหนะ
จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าวใช้เชือกผูกผลักลงจากคานบนเสาไฟฟ้า เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมและถูกเคลื่อนมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตามหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สำเร็จ แม้ยังไม่ได้เคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกจากที่เกิดเหตุ หากทรัพย์สินเคลื่อนที่แล้ว ถือเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์
การที่จำเลยกับพวกมีเจตนาลักหม้อแปลงไฟฟ้าของผู้เสียหายโดยปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าแล้วใช้เลื่อยตัดสายลวดสลิงที่ยึดหม้อแปลงไฟฟ้าดังกล่าว เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเคลื่อนจากจุดที่ติดตั้งเดิมบนคานเสาไฟฟ้าและถูกเคลื่อนย้ายมาอยู่บนพื้นดิน ถือว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์หม้อแปลงไฟฟ้าอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันยกหม้อแปลงไฟฟ้าขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยเพราะหม้อแปลงไฟฟ้ามีน้ำหนักมากก็ตาม หาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นมิได้ติดตามที่ดินที่โอน สิทธิทางผ่านไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้รับโอนหากมีทางออกอื่น
แม้เดิมผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภาระจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย ทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ในที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
หมายเหตุ : วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นมิได้โอนไปพร้อมที่ดิน หากมีทางออกอื่น แม้ไม่สะดวก ก็ไม่ถือเป็นทางจำเป็น
การที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า โจทก์จะได้สิทธิในทางพิพาทนั้นด้วยอย่างภารจำยอม เพราะทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วยทั้งเป็นการจำกัดและริดรอนอำนาจกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่น จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์รับโอนมามีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน แม้ส่วนที่ดินที่ติดกันกว้างเพียง 1.16 เมตร และทางเดินออกสู่ทางสาธารณะกว้างเพียง 1.35 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้ก็เป็นเรื่องความสะดวกของโจทก์ เท่านั้น หาใช่ว่าโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น