คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการรังวัดที่ดินทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้คัดค้านและขัดขวางการรังวัด แต่เมื่อกลับได้ความว่าโจทก์ได้ขอยกเลิกการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว โดยให้เหตุผลในบันทึกถ้อยคำของเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์กับจำเลยสามารถตกลงแนวเขตกันได้แล้วโดยไม่ติดใจสงสัยค้านแนวเขตด้านที่ติดกัน ดังนั้นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ย่อมหมดไป โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านพิพาท: การพิสูจน์สิทธิในสินสมรสและการแบ่งทรัพย์สิน
แม้โจทก์ จำเลย และ ย. ซึ่งเป็นบิดาของจำเลย จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357 ว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดโจทก์สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อพฤติการณ์แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยโดย ย. เพียงแต่มีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อการเสนอธนาคารขออนุมัติกู้เงิน ย. จึงหาได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใดไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสกึ่งหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาทโจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ดังกล่าว และแม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามเดิม เนื่องจากเห็นควรให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
โจทก์จำเลยเคยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาหย่าขาดกัน โจทก์และจำเลยพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 750,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาท โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท แม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของผู้ให้เช่าซื้อที่เพิกเฉยต่อการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และรับชำระเงินต่อ ย่อมถือได้ว่ารู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
ผู้ร้องทราบว่าศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่ผู้ร้องก็เพิกเฉยหาได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ ทั้งยังรับชำระค่าเช่าซื้อต่อมาอีก 2 งวด หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 เดือน ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาและมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น จึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาและไม่ติดตามเอารถจักรยานยนต์ของกลางคืน ทั้ง ๆ ที่มีการผิดนัดค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวด การที่ผู้ร้องมาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็ก/ผู้เยาว์สำเร็จตั้งแต่พรากออกจากผู้ปกครอง การสมรส/ค่าสินไหมทดแทนไม่ลบล้างความผิด
ความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์นั้นเป็นการกระทำต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้พาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่บิดามารดาของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนแล้วก็ดี และการที่ศาลอนุญาตให้ ผู้เสียหายสมรสกับจำเลยก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้ว ไม่อาจลบล้างความผิดที่จำเลยกระทำได้ และความผิดฐานพรากเด็กและ ผู้เยาว์ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดดังเช่นบทบัญญัติในเรื่องการกระทำชำเราเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ - สาระสำคัญสัญญา - การเปลี่ยนแปลงนโยบาย - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรี การนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลังโจทก์ ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขัน เมื่อโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่า ภายในวันดังกล่าวโจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ความเข้าใจเช่นนี้แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงโดยปริยาย ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรี เป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ: การเปลี่ยนแปลงนโยบายนำเข้าถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา ผู้นำเข้าไม่ต้องรับผิด
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรีการนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขันดังนั้น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าภายในวันดังกล่าว โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามา โดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรีเป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากและสิทธิเรียกร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอนการอายัดเงินฝาก
เงินฝากตามบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้น ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด กรณีมิใช่จำนำเงินฝาก ส่วนสมุดคู่ฝากออมทรัพย์ที่จำเลยมอบไว้แก่ผู้ร้องก็เป็นเพียงการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของผู้กู้ทุกรายทั้งสิทธิดังกล่าวก็เป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างอันจะส่งมอบแก่กันได้ โดยเฉพาะไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสารตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ดังนั้น เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยจำนำเงินฝากหรือจำนำสิทธิ ซึ่งมีตราสารไว้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจะอ้างบุริมสิทธิจำนำมาบังคับเหนือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ไม่ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินไม่ใช่การจำนำ สิทธิรับเงินฝากคืนไม่เป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอนการอายัด
เงินที่จำเลยฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงิน จำเลยมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินและผู้ร้องมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขอถอนเท่านั้น การฝากเงินจึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำ กรณีมิใช่จำนำเงินฝาก ส่วนสมุดคู่ฝากที่จำเลยมอบไว้แก่ผู้ร้อง เป็นเพียงการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้กู้ทุกรายซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่จำเลยนำมากู้เงินจากผู้ร้อง ทั้งสิทธิดังกล่าวเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างอันจะส่งมอบแก่กันได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสารจึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 750 ผู้ร้องจะอ้างบุริมสิทธิจำนำมาบังคับเหนือทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการอายัดเงินฝากของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน แม้มีการโอนที่ดินแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ายังบังคับคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์อ้างการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเล้าไก่ส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเป็นคำฟ้องที่ต้องบังคับแก่จำเลยโดยตรงได้ เพราะผู้กระทำการละเมิดโจทก์คือจำเลย และเป็นการขอให้รื้อถอนเฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะโอนที่ดินแปลงที่บ้านและเล้าไก่ปลูกอยู่ให้ ป. บุตรชายไปก่อนแล้วก็ตาม การบังคับจำเลยให้รื้อถอนเล้าไก่เฉพาะส่วนที่รุกล้ำที่ดินโจทก์ก็หาได้กระทบกระเทือนสิทธิใด ๆ ของ ป. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ศาลจึงอาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้
of 25