คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการรับข้อเท็จจริงจากคดีอาญาเป็นข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ข้อความตามรายงานกระบวนพิจารณาฟังได้เพียงว่า มีการเสนอท้ากันในครั้งแรกจะให้ถือเอาผลคดีอาญาของศาลชั้นต้นเป็นข้อแพ้ชนะกันในคดีนี้ โดยทนายจำเลยขอไปศึกษาข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเสียก่อน ในวันนัดต่อมาคู่ความแถลงร่วมกันต่อศาลใหม่ว่าขอถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในผลแห่งคดีอาญาของศาลชั้นต้นมาเป็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ โดยไม่มีข้อตกลงให้ถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกันตามที่เคยเสนอท้ากันไว้ แสดงว่าคู่ความไม่ประสงค์จะถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะกัน คงเพียงแต่ให้ถือข้อเท็จจริงคดีนี้ตามข้อเท็จจริงในคดีอาญาเท่านั้น ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่คำท้า
เมื่อไม่ปรากฏตามข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 4เป็นผู้ขุดตักดินที่พิพาทหรือไม่ จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 ได้เบิกความเป็นพยานในคดีนี้รับว่าเป็นผู้ขุดตักดินของโจทก์จริงมาฟัง จึงเป็นการฎีกาให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงแตกต่างนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงกันไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7532/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินมรดก: สิทธิของทายาท vs. ผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ยังมิได้แบ่งปันแก่ทายาท บุตรของ ร. ทุกคนซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิในที่ดินเท่า ๆ กัน การที่ ว. และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินมรดกจึงเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่น ๆ ว. ย่อมไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งทางด้านทิศเหนือของที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ร. ไปขายแก่โจทก์โดยที่ทายาททุกคนไม่ยินยอม การที่โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดย ว. ส่งมอบให้จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาท ในฐานะครอบครองแทนทายาทของ ร. เช่นเดียวกับ ว. เท่านั้น เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ได้โอนขายที่ดินทั้งหมดซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ร. แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกของ ร. ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้บุตรนอกกฎหมาย การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและการพิจารณาฐานะของคู่สมรส
โจทก์ฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ว. ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของ ว. โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ และทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า การให้ดังกล่าวเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวอันเป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักที่ว่าทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความค่าเช่าที่ดิน เริ่มนับจากวันที่ค้างชำระ
การนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 (เดิม 169)ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าที่ดิน: นับเริ่มเมื่อค้างชำระรายเดือน ไม่นับจากวันเริ่มสัญญา
การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12(เดิม 169) ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลแสดงความเป็นมาของที่ดินเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อในโฉนดที่พิพาทแทนโจทก์เท่านั้น และการนำสืบเช่นนี้ยังเป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวแทนอีกส่วนหนึ่งด้วยซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหน้าที่สถานธนานุเคราะห์: การกระทำโดยทุจริตของเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์สินของสถานธนานุเคราะห์ได้ร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์สินที่รับจำนำไว้ และมีหน้าที่นำทรัพย์สินมาให้ผู้จำนำไถ่คืน ส่วนจำเลยที่ 2ทำหน้าที่ผู้จัดการมีหน้าที่รับจำนำและมีหน้าที่ให้การไถ่ถอนทรัพย์สินแก่ประชาชนที่นำทรัพย์สินไปจำนำ ผู้จำนำจะต้องนำทรัพย์สินที่จะจำนำมายื่นให้จำเลยที่ 2ตรวจดูสภาพทรัพย์สินและตีราคา แล้วจำเลยที่ 2 จะเขียนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ แล้วส่งให้พนักงานข้อมูลพิมพ์ตั๋วจำนำอันเป็นการยืนยันว่าการตรวจสภาพและตีราคาทรัพย์จำนำ เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 2 ทั้งหลังจากทราบเหตุคดีนี้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานสรุปว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดคนเดียวโดยจำเลยที่ 2 อ้างข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นข้อต่อสู้คดีได้โดยถูกต้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 จึงมิได้หลงต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดของพนักงานรัฐที่ร่วมกันทุจริตในการรับจำนำทรัพย์สิน โดยจำเลยฎีกาว่าหลงต่อสู้คดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีหน้าที่จัดการและดูแลทรัพย์สินของสถานธนานุเคราะห์ได้ร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงในทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์สินที่รับจำนำไว้ และมีหน้าที่นำทรัพย์สินมาให้ผู้จำนำไถ่คืน ส่วนจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ผู้จัดการมีหน้าที่รับจำนำและมีหน้าที่ให้การไถ่ถอนทรัพย์สินแก่ประชาชนที่นำทรัพย์สินไปจำนำ ผู้จำนำจะต้องนำทรัพย์สินที่จะจำนำมายื่นให้จำเลยที่ 2ตรวจดูสภาพทรัพย์สินและตีราคา แล้วจำเลยที่ 2 จะเขียนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ แล้วส่งให้พนักงานข้อมูลพิมพ์ตั๋วจำนำอันเป็นการยืนยันว่าการตรวจสภาพและตีราคาทรัพย์จำนำ เป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 2 ทั้งหลังจากทราบเหตุคดีนี้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานสรุปว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 นำสืบปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดคนเดียวโดยจำเลยที่ 2 อ้างข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นข้อต่อสู้คดีได้โดยถูกต้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 จึงมิได้หลงต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: สิทธิของผู้ร้องในการฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตแล้ว
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุสมควรประกอบกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180เป็นบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตน หาได้เป็นบทบัญญัติบังคับ ศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปเมื่อศาลพิจารณาคำร้องโจทก์จำเลยแล้วเมื่อมีเหตุอันสมควรศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาคำร้องเป็นเรื่อง ๆ ไป
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังการชี้สองสถานแม้จะอ้างเหตุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยตามประเด็นดังกล่าว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก
of 25