คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ดุลพินิจศาลและประเด็นความสงบเรียบร้อย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตนหาได้เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่ต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไปไม่ เมื่อตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยภายหลังการชี้สองสถานจะอ้างว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยอยู่แล้ว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใดได้ จึงไม่มีเหตุควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6888/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาแก้ไขคำให้การ: ดุลพินิจและการนำสืบหลักฐาน
ป.วิ.พ.มาตรา 180 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์หรือจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การของตน หาได้เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของโจทก์จำเลยเสมอไป เมื่อศาลพิจารณาคำร้องโจทก์จำเลยแล้วเมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาคำร้องเป็นเรื่อง ๆ ไป
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังการชี้สองสถานแม้จะอ้างเหตุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด" โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก็ต้องนำสืบถึงยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยตามประเด็นดังกล่าว และจำเลยก็สามารถสืบหักล้างว่าดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยมีเพียงใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6836/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ระงับสิ้นสุด ผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คไร้มูล และการจำหน่ายคดี
เมื่อหนี้ตามสัญญาซื้อขายระงับสิ้นไป มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจมีคำสั่งตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ให้รับผลตามคำสั่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมายแต่ไม่ระบุอัตรา ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามคำขอท้ายฟ้อง แต่สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดแต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ย แม้คู่ความมิได้ฎีกา หากเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี แต่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด มิได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมาย ต้องคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี แต่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด มิได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5835/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำหนักพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา vs. ชั้นสอบสวน: การพิสูจน์ความผิดทางอาญา
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายที่ 2 ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายก็ตาม แต่ได้ความจากคำเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหายที่ 2 ว่า ตอนไปดูตัวคนร้าย เจ้าพนักงานตำรวจพาคนร้ายออกมาคนเดียวและให้ผู้เสียหายที่ 2 ชี้ตัว เจ้าพนักงานตำรวจบอกว่าคนนี้แหละที่แทงผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นคนร้ายหรือไม่ แต่ก็ได้ให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าเป็นคนร้ายและเบิกความต่อไปอีกว่า ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยแล้วคลับคล้ายคลับคลา แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 บอกว่าใช่ผู้เสียหายที่ 2 ก็บอกว่าใช่ด้วยเมื่อคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาแตกต่างกับคำให้การในชั้นสอบสวนเช่นนี้ หากพฤติการณ์แห่งคดียังไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานเบิกความบ่ายเบี่ยงข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลยแล้ว คำเบิกความในชั้นพิจารณาย่อมมีน้ำหนักที่จะรับฟังมากกว่าเพราะคำเบิกความชั้นสอบสวนหาได้ผ่านกระบวนการถามค้านแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ไม่อาจเพิ่มค่าเสียหายเกินคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายสำหรับโจทก์จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่เกิน 200,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า 200,000 บาท ทั้งที่โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัดและค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาความเสียหายทางชื่อเสียงและโอกาสทางอาชีพ
พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจองสถานที่จัดงานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งการติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรส ล้วนส่อแสดงว่าจำเลยประสงค์จะสมรสกับโจทก์ การให้แหวนกันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการหมั้นและเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการสมรสกันในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการหมั้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปสมรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
โจทก์จำเลยกำหนดจัดงานพิธีสมรสกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน2537 แต่พอถึงเวลาดังกล่าวไม่มีการจัดงานพิธีสมรส แต่โจทก์และจำเลยก็ยังมีความประสงค์ที่จะสมรสกันอยู่เพียงแต่มีการเลื่อนไป โดยทั้งสองยังมีความสัมพันธ์กันด้วยดีตลอดมา ในช่วงนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 จำเลยจัดงานพิธีสมรสกับ น. ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์นับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 200,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องจำนวนค่าเสียหายเป็นอันยุติ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเกินกว่า200,000 บาท จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานอ่อนแอ ไม่สามารถลงโทษจำเลยในข้อหายิงผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและรอการลงโทษ
แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพและไม่สืบพยาน แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนัก จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายตามฟ้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลยโดยส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 6
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น แต่เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตาม มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง เมื่อฟังว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคสาม
of 25