คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน, ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, และการยกเว้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้งในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความติดใจจะยกขึ้นว่ากล่าวไม่ว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยกล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน 10 แปลงขึ้นไปเพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดินแปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนนที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภาระจำยอมสำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลย แบ่งแยกขายตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย
ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391
ภาระจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมาย หรือโดยอายุความจากการใช้ได้ทั้งสามทาง การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่จำเลยเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีการได้มาซึ่งภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสองทางเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน, ภารจำยอม, การจดทะเบียน, และข้อจำกัดในการอุทธรณ์/ฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกาเพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยกล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน10 แปลง ขึ้นไป เพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนโดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆหรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดิน แปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนน ที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภารจำยอม สำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกขายตามความหมายของ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิ ปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย
ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภารจำยอมตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับ ให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ ภารจำยอมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391
ภารจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมายหรือโดยอายุความจากการใช้ การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าทางพิพาทเป็นภารจำยอม ตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องจำเลยเข้าใจ คำฟ้องและต่อสู้คดี การได้มาซึ่งภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองทาง เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, เงินค้ำประกัน: การหักชดค่าเสียหายและอำนาจลดเบี้ยปรับของศาล
ค่าควบคุมงานกรณีจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญานับแต่เวลาที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงาน และค่าควบคุมงานกรณีที่โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วจนถึงงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญา เมื่อได้ความว่าโจทก์ต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จจึงเป็นค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงหาได้เป็นเบี้ยปรับไม่
ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 แล้ว โดยระบุในสัญญาจ้างข้อ 3 ว่าให้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา เงินตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จึงนำไปหักจากค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลกำหนดให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดกและการเป็นทายาทโดยธรรม ศาลต้องรับคำร้องคัดค้านเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) ถึง (3)ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(4) หากเป็นจริง ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยธรรมและสถานะผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1)ถึง (3) ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) หากเป็นจริงผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าหลายกรรมต่างกัน การพิพากษาลงโทษเกินคำขอ และการแก้ไขโทษปรับ
ฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอรายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้วเดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร เป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายด้วยอาวุธมีด การพิสูจน์เจตนา และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดของกลางฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยยังไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานในคดีเยาวชนและครอบครัว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 7 ปี รวมจำคุก 8 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยกำหนดโทษและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกสถานหนึ่งก็ตาม แต่คงให้ลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยหลายประการฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าว
of 25