คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: คำให้การไม่ชัดเจนถือเป็นประเด็นข้อพิพาท และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ทราบและไม่รับรองว่า ป. เป็นผู้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือไม่ และตกลงค่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่า ป. ไม่ได้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองโดยให้ค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ถือได้ว่าเป็นคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: สิทธิในการยื่นคำขอในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261
ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัดหรือคำสั่งตามมาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่งหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้?" การที่ศาลชั้นต้นมีหมายห้ามชั่วคราวถึง ภ. จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งเดิม หากโจทก์ทั้งยี่สิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เห็นว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวของศาลชั้นต้น และประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนหมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯได้ในคดีแพ่งเดิม ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง จะมาฟ้องให้เพิกถอนคำสั่ง ฯ เป็นคดีใหม่หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทิศที่ดินสร้างโรงเรียนอิสลาม: ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาโจทก์อนุญาตให้บิดาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ใช้ที่พิพาทสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ประมาณปี 2487 จนกระทั่งบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายในปี 2517 และเมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9ถึงแก่ความตายในปี 2520 โจทก์ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 1 สอนศาสนาในที่พิพาทต่อไป เป็นการที่บิดาโจทก์และโจทก์อุทิศที่พิพาทให้ใช้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามตามหลักของศาสนาอิสลามทำให้ผู้ใดจะยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทไม่ได้ ที่พิพาทจึงเป็นที่ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ของชาวมุสลิมและตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีที่บิดาโจทก์อุทิศให้ โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 10 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทิศที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาโจทก์และโจทก์อุทิศที่พิพาทให้ใช้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามตามหลักของศาสนาอิสลาม อันมีผลทำให้ผู้ใดจะยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทไม่ได้ ที่พิพาทจึงเป็นที่ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์และตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีที่อุทิศให้ โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ปัญหาว่าที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
(ประเด็นหลังวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาครั้งที่ 15/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ พิจารณาจากพฤติการณ์และคำพูดของผู้กระทำ หากไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ไปเป็นการถาวร ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยทั้งสองว่าจ้างให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งระหว่างทางมีการบังคับให้ผู้เสียหายเข้าไปในกระท่อมแต่ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ 2 เอามือรัดคอผู้เสียหายและดึงเอากุญแจมาส่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่ เมื่อมีคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาช่วย จำเลยทั้งสองก็เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายขับหลบหนีไป ก่อนจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปมีจำเลยคนหนึ่งพูดว่าให้ผู้เสียหายไปเอารถจักรยานยนต์คืนที่โรงเรียนวัด บ. แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเพียงต้องการนำรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายขับไปใช้ชั่วคราวโดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง มิได้กระทำเพื่อเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ตลอดไป จึงมิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุฟ้องหย่าต้องมีเหตุตามกฎหมาย การแยกกันอยู่ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย การฟ้องหย่าไม่สำเร็จหากฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะหย่า
เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม
แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องโดยชอบธรรม ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของมารดาโจทก์ โดยจำเลยซื้อมาจากผู้อื่น ผู้ขายได้ชี้แนวเขตที่ดินตามแนวเขตเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำเลยครอบครองที่ดินตลอดมา ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทมาแต่ต้น มิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองศาลจึงจะยกปัญหาในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยเองตามที่จำเลยฎีกาหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องยาวนาน และการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินซึ่งมีเขตติดต่อกับที่ดินของมารดาโจทก์ โดยจำเลยซื้อมาจากผู้อื่น ผู้ขายได้ชี้แนวเขตที่ดินตามแนวเขตเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จำเลยครอบครองที่ดินตลอดมา ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทมาแต่ต้น มิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลจึงจะยกปัญหาในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โดยอ้างว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยเองตามที่จำเลยฎีกาหาได้ไม่ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับข้อที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนและไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีอาญาหลังโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เกินกรอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย จึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 5 (2) แต่เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.อ.
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส.ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 29 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้น ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้ตาย ขณะผู้ตายวิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการดำเนินคดีของทายาทเมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตาย และการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 โจทก์ร่วมเป็นบิดาของผู้ตาย โจทก์ร่วมจึงเข้าจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) เมื่อโจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ทายาทของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ถึงแก่ความตายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ส. ทายาทของโจทก์ร่วมเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. ที่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ดังกล่าวฟังไม่ขึ้นก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ปัญหาข้อนี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องโดยมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นและคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
of 25