คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินงอก: การครอบครอง, สาธารณสมบัติ, และระยะเวลาการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนนเมื่อ 4 ถึง 5 ปี มานี้ ดังนั้นก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกที่เชื่อมติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่งอกพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของรถบรรทุก: พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือและสอดคล้องกัน
ขณะเกิดเหตุรถบรรทุกของกลางยังมีจำเลยเป็นเจ้าของ ผู้ร้องอ้างว่าซื้อรถบรรทุกคันดังกล่าวมาจากจำเลยเพื่อถมปรับสภาพพื้นดินในการทำบ้านจัดสรรในระยะเวลาประมาณ 10 วันเท่านั้น หลังจากนั้นได้นำไปให้จำเลยเช่า ไม่น่าเชื่อว่าผู้ร้องจะยอมลงทุนถึง 500,000 บาท มาซื้อรถบรรทุกจากจำเลยเพียงเพื่อใช้ในกิจการดังกล่าว เป็นเรื่องผิดปกติวิสัยอย่างยิ่ง แม้ผู้ร้องจะมีสัญญาเช่าสัญญาซื้อขายและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการโอนและการรับโอนมาเป็นพยานเอกสารอ้างอิงก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวผู้ร้องและจำเลยสามารถจัดทำขึ้นมาได้ อีกทั้งผู้ร้องอ้างว่าที่ยังไม่มีการโอนทะเบียนรถเพราะไม่พบจำเลยจึงไม่อาจนำรถบรรทุกของกลางไปตรวจสภาพได้นั้น แต่เมื่อจำเลยยืนยันว่า ภายหลังที่จำเลยขายรถบรรทุกของกลางให้แก่ผู้ร้องแล้วจำเลยก็ยังคงรับจ้างขับรถบรรทุกคันดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องมิได้ไปอยู่ที่อื่นข้ออ้างของผู้ร้องในเรื่องนี้จึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ประกอบกับระหว่างทำการสอบสวนไม่มีผู้ใดมาขอคืนรถบรรทุกของกลาง และผลการสอบสวนก็ได้ความว่ารถบรรทุกคันดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งจำเลยไม่เคยโต้แย้งในเรื่องนี้แต่อย่างใด ดังนี้ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังว่ารถบรรทุกของกลางเป็นของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของรถบรรทุกของกลางในคดีความผิด พ.ร.บ.ทางหลวง การซื้อขายและสัญญาเช่าที่ไม่น่าเชื่อถือ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติทางหลวง (ชั้นขอคืนของกลาง) ++
++ ผู้ร้องฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 19 ++
++ มีหมายเหตุ :
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลยก่อนพิจารณาคดีหลัก
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไป หรือไม่ โดยต้องพิจารณาประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การโดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยไว้เลย จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ สมควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งฟ้องแย้งของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ตาม มาตรา 27 และเมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งในเรื่องฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับฟ้องแย้งได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องแย้งของจำเลยก่อนแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการพิจารณาฟ้องแย้งร่วมกับคำให้การ และความชอบด้วยกฎหมายของการสั่งให้พิจารณาก่อนพิพากษา
จำเลยฟ้องแย้งและมีคำขอบังคับโจทก์รวมมาในคำให้การตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องตรวจฟ้องแย้งของจำเลยและมีคำสั่งตามที่พิจารณาเห็นสมควรว่าจะรับไว้พิจารณาต่อไป หรือไม่ โดยต้องพิจารณาประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การโดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องฟ้องแย้งของจำเลยไว้เลย จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และเมื่อคดียังมีปัญหาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยเช่นนี้ สมควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งฟ้องแย้งของจำเลยเสียก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ตาม มาตรา 27 และเมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งในเรื่องฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับฟ้องแย้งได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องแย้งของจำเลยก่อนแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการขยายเวลาชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แต่จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาดังกล่าว ครั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้แล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้แสดงเหตุว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการไม่วินิจฉัยประเด็นการขาดนัด
คดีอาญาโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเกินกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ กรณีจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้ในครั้งแรกแล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว ได้แสดงเหตุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้ที่ต้นฉบับสูญหาย และการนำสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับฟ้อง
ขณะยื่นฟ้อง โจทก์มีต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินแต่สูญหายไปศาลจึงรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ทางนำสืบของโจทก์หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่ไม่ตรงกับฟ้องโจทก์ในข้อสาระสำคัญ และศาลล่างทั้งสองได้ชี้ขาดตัดสินคดีโดยหยิบยกข้อเท็จจริงตามทางนำสืบขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: ลายมือชื่อผู้กู้เป็นหลักฐานเพียงพอ แม้ไม่มีพยาน, การนำสืบที่มาของเงินกู้ไม่เกินฟ้อง
จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาจากข้อความตามสัญญาเป็นหลัก โดยเฉพาะจำเลยได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ยืมในสัญญาแม้ไม่มีพยานในสัญญา ศาลก็รับฟังได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์ เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกกับการคืนรถที่ถูกลักขโมย เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร แม้ไม่มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์
หลังจากรถยนต์เก๋งของโจทก์ร่วมถูกลักไปแล้ว ในระหว่างที่จำเลยรอการตกลงซื้อขายรถของโจทก์ร่วมให้แก่ลูกค้ารายอื่น จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์ร่วมตั้งแต่ครั้งแรกที่โจทก์ร่วมมาติดต่อให้จำเลยสืบหารถที่ถูกลัก โดยจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นรถอยู่ที่ใด พฤติการณ์ที่จำเลยเรียกเงินจากโจทก์ร่วมดังกล่าวหาใช่เป็นการเรียกค่าใช้จ่ายที่จำเลยออกทดรองจ่ายในการสืบหารถของโจทก์ร่วมไม่แต่เป็นการเรียกค่าไถ่รถจากโจทก์ร่วมอันเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายทรัพย์โดยจำเลยรู้ดีว่าทรัพย์ดังกล่าวถูกคนร้ายลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะมีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ เพราะความผิดฐานนี้ต้องการองค์ประกอบความผิดภายในเพียงการกระทำโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 59เท่านั้น
of 25