คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4422/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การแต่งตั้งทนายความ, ข้อบกพร่องเอกสาร, การแก้ไขเอกสาร, การดำเนินคดีแทน
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. เป็นผู้ฟ้องคดีแทน และระบุชื่อคู่ความว่า "นางดี พานิชเจริญ โดย บ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์" แต่ปรากฏในใบแต่งทนายความที่ยื่นพร้อมคำฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้แต่งให้ ว. เป็นทนายความด้วยตนเองและ ว. เป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายฟ้อง โจทก์จึงเป็นผู้ฟ้องคดีเองมิได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีนี้หรือไม่
ใบแต่งทนายความของโจทก์มีผู้ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียวไม่เสมอกับลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง มีผลทำให้การแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทนายความผู้นั้นยังไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจทำได้หลายประการ เช่น ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความ ในใบแต่งทนายความหรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่ความตายและมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความแทนโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเป็นค่าเช่าค้างชำระหรือค่าเสียหายจากการเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ แต่ก็ได้กล่าวด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันและจำเลยตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่าเป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์เข้ายึดถือครอบครองเอาคืนซึ่งหัวรถยนต์บรรทุกที่เช่าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2540 สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ยังไม่พ้นสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเรียกร้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่ง ซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: คดีไม่ขาดอายุความเมื่อฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่งซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการ (สำเนาทะเบียนรถ, แผ่นป้ายภาษี) มีความผิดกรรมเดียว และการใช้เอกสารปลอม
จำเลยที่ 1 ถ่ายสำเนารายการจดทะเบียนรถจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการ แล้วแก้ไขรายการในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับ และน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้แก้ไขรายการจดทะเบียนรถในเอกสารที่แท้จริง แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กับพวกได้ร่วมกันปลอมสำเนารายการจดทะเบียนโดยมีเจตนาอย่างเดียวกับการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์เพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 พ-6302 กรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยกับพวกจะได้ใช้รถยนต์นั้นโดยชอบ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในการปลอมรายการจดทะเบียนจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานปลอมและใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ปลอมซึ่งจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 265 และโดยที่เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เยาวชนฯ แม้คดีมีโทษประหาร
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งศาลชั้นต้นต้องถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคแรก ก็ตามแต่ก็เป็นบทบัญญัติสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมาตรา 83แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่ระบุให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายความ หากจำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมายก็ให้ศาลแต่งตั้งให้เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดีจะไม่ตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้นั้น ถือเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบททั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ ดังนั้น ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมาย และศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมาย จึงให้นัดสืบพยาน... จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 83 ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: กฎหมายเฉพาะเหนือกว่ากฎหมายทั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ได้มีบทบัญญัติในมาตรา 83 ว่า ในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจำเลยจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ในกรณีที่จำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ เว้นแต่จำเลยนั้นไม่ต้องการและศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นแก่คดี จะไม่แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ดังนั้น การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติดังกล่าว มิอาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มาใช้บังคับได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2545)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: บทเฉพาะย่อมยกเว้นบททั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 ให้แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่ว่าความผิดที่จำเลยถูกฟ้องนั้นมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายและศาลเห็นว่าที่ปรึกษากฎหมายไม่จำเป็นแก่คดี บทกฎหมายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 อันเป็นกฎหมายทั่วไป และไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวซึ่งขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาใช้ได้
จำเลยอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์แล้วขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง แต่ขณะกระทำความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 จำเลยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ จึงต้องดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 5 การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 83 การที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายจำเลย ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมายจำเลย จึงให้นัดสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่ทายาทเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแทนจำเลยที่เสียชีวิต ไม่ถือเป็นการฟ้องทายาทโดยตรง ศาลไม่อาจบังคับชำระหนี้แทนได้
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม – การคำนวณดอกเบี้ย – ทายาทรับผิดชอบหนี้ – แก้คำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องโดยได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการคิดคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์แล้วว่าคำนวณอย่างไร ไม่จำเป็นต้องระบุยอดหนี้ที่ค้างชำระในแต่ละเดือนว่าเป็นเท่าไรหรือโจทก์คำนวณดอกเบี้ยทบต้นหรือไม่อีกเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบให้เห็นได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ไม่ได้ฟ้อง ร.ในฐานะทายาทของจำเลยที่2ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้
of 25