คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สิน จำเลยต้องมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ชัดเจน
โจทก์ซื้อบ้านและต้นกาแฟพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล ส่วนที่ดินที่ปลูกบ้านและต้นกาแฟดังกล่าวทางราชการ ออกเอกสาร สปก.4-01 เป็นชื่อของ จ. สามีนอกสมรสของจำเลยหลังจากโจทก์ซื้อบ้านและต้นกาแฟจากการขายทอดตลาดแล้ว โจทก์นำคนงานไปเก็บผลกาแฟ จำเลยและ จ. ใช้มีดพร้าไล่ฟันคนงานของโจทก์หลายครั้งแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยและบริวารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับต้นกาแฟของโจทก์อย่างไร เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีเพียงเท่านี้ จึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยตัดต้นกาแฟและลักลอบเก็บผลกาแฟของโจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การโจทก์ก็ต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ตามฟ้อง เพราะศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะ ต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายลงทุนซื้อที่ดินและดอกเบี้ยกู้ยืม: การหักลดหย่อนภาษีและการงดลดเบี้ยปรับ
ตาม ป.รัษฎากร 65 ตรี (5) ไม่ยอมให้นำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงินมาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน
แม้ตาม ป.รัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ คดีนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษี ประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วไม่มีเหตุที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขอีก ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุนต้องห้ามทางภาษี แต่ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากมีเหตุสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอมให้นำรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการ ลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็น รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรงส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการ กู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากร วางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็น เพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้นหาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่า ผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้อง เสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตาม หลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัด ที่ศาลภาษีอากร พิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย ย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้น จากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อเช่า เป็นรายจ่ายลงทุนที่ต้องห้ามทางภาษี ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับตามเหตุผลสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอม ให้นำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดิน นั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ซึ่ง เป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ ของโจทก์ต่อไปเงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ย นั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงินมาจนกว่าจะ ชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรง ที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจาก การกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับ เงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลงศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินให้เช่าเป็นรายจ่ายลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
การที่จำเลยกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่จำเลยซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของจำเลยอันเป็นทุนรอนของจำเลยเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของจำเลยต่อไป เงินกู้ยืมที่จำเลยจ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินจึงเป็นรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ทำให้จำเลยได้ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งจำเลยมีภาระต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของจำเลยย่อมเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้น ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจาก การกู้ยืมเงินของจำเลยมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่จำเลยนำไปซื้อที่ดิน จำเลยจึงไม่สามารถ นำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลทันทีตามกฎหมาย แม้ต่อมามีการซื้อขายหรือจำนอง
ช.อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของตนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรได้ จึงย่อม มีผลตามกฎหมายทันทีนับตั้งแต่วันที่ ช. อุทิศให้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนให้ปรากฏเป็นทางสาธารณะอีกเมื่อที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ต่อมา ช.จะได้นำที่ดินดังกล่าวขายให้แก่จำเลยหรือจำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองต่อก็ดี ก็หาทำให้ที่ดินพิพาทสิ้นสภาพเป็นทางสาธารณะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลทันที แม้มีการซื้อขายหรือจำนองต่อมาก็ไม่ทำให้สภาพทางสาธารณะเปลี่ยนแปลง
ช.อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของตนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรได้ จึงย่อมมีผลตามกฎหมายทันทีนับตั้งแต่วันที่ ช.อุทิศให้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนให้ปรากฏเป็นทางสาธารณะอีก เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ต่อมา ช.จะได้นำที่ดินดังกล่าวขายให้แก่จำเลยหรือจำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองต่อก็ดี ก็หาทำให้ที่ดินพิพาทสิ้นสภาพเป็นทางสาธารณะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลทันทีตามกฎหมาย แม้ต่อมามีการซื้อขายหรือจำนอง
ช. อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของตนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจร ย่อมมีผลตามกฎหมายทันทีนับตั้งแต่วันที่ช. อุทิศให้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนให้ปรากฏเป็นทางสาธารณะอีก เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ต่อมาช. จะนำที่ดินดังกล่าวไปขายให้แก่จำเลยหรือจำเลยนำไป จดทะเบียนจำนองต่อ ก็หาทำให้ที่ดินพิพาทสิ้นสภาพ เป็นทางสาธารณะไม่
of 25