คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้ของผู้อื่น: ทายาทที่เข้ามาดำเนินคดีแทนผู้ถึงแก่กรรม ไม่ผูกพันต้องรับผิดในหนี้เดิม
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางร่วมของญาติพี่น้องกันในชนบท ไม่ถือเป็นภารจำยอมหรือการครอบครองปรปักษ์
โจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นญาติพี่น้องกัน โจทก์ใช้ทางพิพาทตั้งแต่มีสภาพเป็นคันนา ต่อมาเมื่อมีการขุดบ่อเลี้ยงกุ้ง ทางพิพาทก็เปลี่ยนสภาพมาใช้เป็นคันบ่อเมื่อถึงฤดูทำนาก็จะเดินบนคันนา แต่ถ้านอกฤดูทำนาก็อาจเดินลัดที่นาได้ จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเดินทางใดสุดแล้วแต่จะสะดวก โดยเฉพาะแต่ละคนสามารถเดินผ่านที่นาซึ่งกันและกันในลักษณะพึ่งพาอาศัยและถ้อยทีถ้อยอาศัยกันอันเป็นการสะท้อนถึงสภาพวิถีชีวิตที่แท้จริงของการอยู่ร่วมกันของคนชนบทว่าตามปกติแล้วจะใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านได้ โดยการถือวิสาสะอาศัยความเกี่ยวพันในทางเครือญาติหรือความคุ้นเคยเป็นประการสำคัญซึ่งเป็นการเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสี่มากว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เหมาะสม
เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 แม้เด็กหญิง อ. จะอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วน. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรมก็ตามก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตรตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้ระบุให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้ แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทนได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันทรัพย์สินเกินกว่าเหตุ การใช้กำลังทำร้ายผู้ลักทรัพย์ ศาลพิจารณาความเกินกว่าเหตุและลดโทษ
ผู้ตายคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนได้เข้าไปเพื่อจะลักเอาไก่ที่จำเลยเลี้ยงไว้ แต่ได้ไปสะดุดสายไฟฟ้าที่ จำเลยผูกกับกระป๋องน้ำอัดลมทำให้เกิดเสียงดังขึ้น ผู้ตายทั้งสองจึงออกมายืนซุ่ม เพื่อรอดูเหตุการณ์และก็ยังประสงค์ที่จะเข้าไปลักเอาไก่ของจำเลยอยู่อีก เพราะมิฉะนั้น ผู้ตายทั้งสองคงจะหลบหนีไปได้เนื่องจากมีเวลาเพียงพอกว่าที่ จำเลยจะตื่นขึ้นและตามหาได้ ดังนั้น พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าภยันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์ของจำเลยยังมีอยู่และใกล้จะถึงแล้ว การที่จำเลยใช้จอบตีผู้ตายทั้งสองจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันทรัพย์ของตน อย่างไรก็ตามเนื่องจากขณะที่จำเลยใช้จอบตีผู้ตายทั้งสองนั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทั้งสองจะทำร้ายหรือต่อสู้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 69
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด จึงเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และที่วรรคสองระบุให้การเปลี่ยนเงินนี้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินนั้น หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันออกใบแจ้งหนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 บาท โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินต่างประเทศ ศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะให้ส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า การเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินนี้ตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
โจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ความตามที่อ้าง กรณีเป็นหนี้เงินจึงให้เรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและอำนาจศาลในการย้อนสำนวนคดีแพ่ง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลจดทะเบียนรับบุตรเมื่อผู้ให้ความยินยอมถึงแก่ความตาย
ด.มารดาของช.และช. ผู้เป็นบุตรถึงแก่ความตายแล้ว ไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับ ช. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิพากษาว่า ช. เป็นบุตรผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรหลังผู้ให้ความยินยอมถึงแก่ความตาย ศาลอนุญาตได้ตามกฎหมาย
เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการวางค่าขึ้นศาล และอายุความคดีละเมิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ยื่นคำร้องสอดว่า คดีของผู้ร้องสอดเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องภายในนัดหน้าครั้นถึงวันนัดผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดทุนทรัพย์ด้วย ศาลชั้นต้นสอบทนายผู้ร้องสอดเกี่ยวกับราคาทรัพย์พิพาทแล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดแถลงจำนวนทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนในนัดต่อไป มิฉะนั้นจะสั่งว่าผู้ร้องสอดทิ้งคำร้องสอด เมื่อถึงวันนัดผู้ร้องสอดได้ยื่นต่อศาลแต่เพียงหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินพิพาทว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กำหนดราคาประเมินไว้ตารางวาละ 1,500 บาท และขอถือเป็นทุนทรัพย์ โดยผู้ร้องสอดไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง คำร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ถือเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาท โดย อ. เจ้าของเดิมนำไปขายฝากไว้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวจาก อ. มาแต่เดิมอยู่ในตึกแถวนั้นต่อไป ซึ่งได้บอกกล่าวให้จำเลยรับทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการอยู่ในตึกแถวของโจทก์โดยละเมิดเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่และการทำละเมิดของจำเลยชัดเจนแล้ว ไม่เคลือบคลุม
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ฟ้องอันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่องคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 25