พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง: ข้อจำกัดและขอบเขตการพิจารณาของศาลสูง
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้มาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ แม้มีการโอนทรัพย์สินให้ผู้จัดการมรดก
ครั้งแรกที่ ล. โอนที่ดินมรดกของ ท. มาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นทุกคน แม้จะมีการโอนที่ดินมรดกดังกล่าวมาเป็นของ ล. ในฐานะส่วนตัวแล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินมรดกแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวโดยเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพราะ ล. ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ทั้งปรากฏว่าก่อนหน้านี้ ล. ได้ถูก ป. ยื่นฟ้องในอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นเรื่องขอแบ่งมรดก คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกับ ส. กับ ป. ทายาทผู้ตายต้องถือว่าครอบครองแทนทายาทของ ส. คำพิพากษาจึงผูกพันล. และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต้องถือว่า ล. ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นอยู่เช่นเดิม ล. ยังคงมีหน้าที่จะต้องจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การจัดการมรดกยังมิได้เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายสิ้นสุดลงเมื่อเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นขโมย
เหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์หมดไปแล้ว ไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย จึงไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันเนื่องจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัวอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันเนื่องจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัวอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า แม้ผู้เสียหายมีพฤติการณ์น่าสงสัย แต่เมื่อผู้เสียหายแสดงตัวและแจ้งว่าไม่ใช่ขโมยแล้ว การยิงจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบ
แม้ผู้เสียหายจะถือมีดเข้าไปในบ้านของมารดาจำเลยในเวลากลางคืนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาพบได้มีการพูดจาโต้ตอบกันและผู้เสียหายได้บอกแก่จำเลยแล้วว่าไม่ใช่ขโมย เหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์จึงหมดไปแล้ว ไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าบุพการี-ครอบครองอาวุธ: ศาลฎีกายืนโทษฐานฆ่า แต่ยกข้อหาครอบครองปืนของผู้ตาย
อาวุธปืนของกลางเป็นของผู้ตาย การที่จำเลยหยิบอาวุธปืนของผู้ตายที่วางอยู่บริเวณที่เกิดเหตุขึ้นมายิงผู้ตายนั้น อาวุธปืนดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของผู้ตาย จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียน ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดจึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุทางรถยนต์ และความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แซงรถโดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ แล้วรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับได้เสียหลักล้มลงรถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับจึงได้แล่นทับผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแซงแล้วเสียหลักล้มลงอย่างกะทันหันหน้ารถยนต์โดยสารประจำทางที่จำเลยขับห่าง 1 เมตรเศษ เป็นระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยจะหยุดรถได้ทัน กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมิใช่เกิดจากความประมาทของจำเลย
หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่
หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทันทีเพราะไปแจ้งให้เจ้าของรถทราบเหตุหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการมอบอำนาจขอคืนของกลางในคดีอาญา: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการดำเนินคดีทั้งหมดและมอบอำนาจช่วงได้
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา
ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ นอกจากนี้ในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินการแทนได้ภายในขอบเขตที่ได้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ และปรากฏในหนังสือมอบอำนาจช่วงผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องราวลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืน อันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั่นเอง ถือได้ว่า ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ นอกจากนี้ในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินการแทนได้ภายในขอบเขตที่ได้ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ และปรากฏในหนังสือมอบอำนาจช่วงผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องราวลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืน อันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั่นเอง ถือได้ว่า ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและอาวุธปืน การลงโทษความผิดฐานปล้นทรัพย์ การแยกความผิดฐานอื่น
เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น โดยจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย จึงถือมิได้ว่าจำเลยที่ 3 มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
หลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้วระหว่างทางได้ใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้เสียหายและร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผู้ข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป และให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หาใช่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังกรรมหนึ่งและทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่
หลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้วระหว่างทางได้ใช้อาวุธปืนจี้บังคับผู้เสียหายและร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผู้ข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไป และให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกันอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หาใช่ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังกรรมหนึ่งและทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ไม่ได้ใช้อาวุธปืน ศาลพิจารณาโทษฐานปล้นทรัพย์และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83