คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ ตังคจิวางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อโดยมิชอบตามระเบียบพัสดุ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และความเสียหายต่อโจทก์
ร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายหนังสือพิพาทโดยตรง อีกทั้งหนังสือพิพาทไม่ใช่หนังสือภาคบังคับตามหลักสูตรของโจทก์ เพียงแต่เป็นหนังสือเสริมการเรียนการสอนเท่านั้น จึงถือได้ว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อหนังสือพิพาทหากมีการล่าช้าในการจัดซื้อก็ไม่น่าจะทำให้ทางราชการเสียหาย การจัดซื้อหนังสือพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 แม้การจัดซื้อดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือเวียนที่มีถึงส่วนราชการต่าง ๆ หนังสือดังกล่าวก็มิใช่คำสั่ง แต่เป็นเพียงข้อเสนอแนะชักชวนให้สนับสนุนกิจการด้านสหกรณ์กลาโหม จำกัดเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น การที่จำเลยที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 10 ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขออนุมัติจัดซื้อหนังสือพิพาท จำเลยที่ 9 ในฐานะรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติและแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 เป็นกรรมการจัดซื้อหนังสือพิพาทโดยวิธีพิเศษ ซึ่งเป็นการผิดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ และเป็นการเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ และการพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำผิด
คำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ จะแปลข้อความไปในทางที่เป็นผลร้ายว่า จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ใช้รถจักรยานยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5742/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลริบได้
ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าตนเป็นเจ้าของเงินตามคำร้องและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างของข้อเท็จจริงในคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟัง ส่งผลให้ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกันฆ่าผู้ตายเมื่อข้อเท็จจริงในการพิจารณารับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วาน ให้ผู้อื่นไปฆ่าผู้ตาย จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะของผู้สืบสันดานเมื่อการสมรสมีข้อบกพร่องและคู่สมรสถึงแก่ความตาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับนาง ส. มารดาโจทก์เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า จำเลยจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น โดยหญิงนั้นแอบอ้างชื่อว่าเป็นนาง ส. เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการจดทะเบียนสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยนาง ส. ไม่ได้ให้ความยินยอมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งจะต้องมีคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ โดยคู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 ดังนั้น แม้นาง ส. ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสสิ้นสุดลงก่อนโจทก์ฟ้อง แต่เมื่อยังปรากฏความเป็นโมฆะอยู่โดยยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นโมฆะ ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะของผู้สืบสันดาน แม้คู่สมรสฝ่ายหญิงเสียชีวิตแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของ จ. กับ ส. มารดาโจทก์ซึ่งหย่าขาดกันแล้ว ต่อมาจำเลยกับหญิงอื่นที่อ้างชื่อเป็น ส. มารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันโดยมารดาโจทก์มิได้ทราบและมิได้ลงชื่อในฐานะคู่สมรสฝ่ายหญิง และ เด็กหญิง ม. ไม่ได้เป็นบุตรของ ส. และจำเลย ดังนี้ เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการจดทะเบียนสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดย ส. ไม่ได้ไปให้ความยินยอมโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้อันจะก่อให้เกิดสถานะความเป็นสามีภริยา หากเป็นจริงก็เป็นกรณีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1458 เรื่องให้ความยินยอมในการสมรสย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งจะต้องมีคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ โดยคู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 ดังนั้น แม้ ส. จะถึงแก่ความตายไปแล้วอันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. มารดาโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ยังปรากฏความเป็นโมฆะอยู่โดยยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นโมฆะเช่นนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของ ส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4558/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดกันทางธุรกิจและการชำระหนี้ผิดพลาด การกระทำที่ไม่สุจริตทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้
ป. และ ก. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์และเป็นผู้บริหารงานด้านบริการให้แก่บริษัท ซ. ด้วย เดิมโจทก์กับบริษัท ซ. มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่เดียวกันมีพนักงานขายกลุ่มเดียวกัน จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์และบริษัท ซ. โดยสั่งจ่ายเงินค่าสินค้าทั้งสองบริษัทให้แก่บริษัท ซ. ซึ่งเป็นการชำระหนี้แก่บริษัท ซ. เกินจำนวนจริง ก. ผู้รับเช็คพบความผิดพลาดแล้วแทนที่จะส่งเช็คไปให้จำเลยออกใหม่ตามที่เรียกเก็บ แต่กลับนำเช็คที่ชำระเกินจำนวนนั้นไปเข้าบัญชีของบริษัท ซ. ทั้งหมดแล้วมาทวงหนี้จากจำเลยในนามโจทก์ ดังนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตโดยเอาความผิดพลาดที่เกิดจากการบริหารงานของโจทก์และบริษัท ซ. ที่ระคนปนกันจนบุคคลภายนอกเข้าใจว่าเป็นบริษัทเดียวกัน จึงเป็นการเชิดกันและกันออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการติดต่อกับบุคคลภายนอกผู้สุจริต
of 25