พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า แม้มิได้ตกลงในบันทึกข้อตกลง ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเลี้ยงดูได้
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะทำผิดมีผลต่อการลงโทษและมาตรการเยาวชน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเพียง 13 ปีเศษ หาใช่ 14 ปีเศษดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ จำเลยจึงไม่ต้อง รับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทน ข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก. ประกอบด้วยมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลย มีอายุครบ 18 ปีแล้ว กรณีไม่อาจส่งตัวจำเลยไปเพื่อฝึกและอบรมตามมาตรา 74 (5) ได้ แต่สมควรให้ดำเนินการตามมาตรา 74 (2) และ (3) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกามา ศาลฎีกา ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอนุญาตฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยระบุ ขอให้ศาลอนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา แต่พอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกานั่นเอง การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่บุคคลที่มีอำนาจให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 สั่งคำร้องโดยไม่อนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินเนื่องจากประพฤติเนรคุณและการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และจดทะเบียนโอนสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์เพราะเหตุที่จำเลยทำการโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยโดยไม่มีอำนาจกับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ตามเดิม เพราะเหตุที่จำเลยประพฤติเนรคุณ แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลง เพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลงดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย อันเป็นการมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้พิพากษาใหม่ตามมาตรา 243(1)อำนาจนี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลงดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย อันเป็นการมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้พิพากษาใหม่ตามมาตรา 243(1)อำนาจนี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการจอดรถในที่มืด และความรับผิดตามกฎหมายจราจรทางบก
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตามแต่ผู้ขับรถที่จะถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตามแต่ผู้ขับรถที่จะถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล: การมอบอำนาจและผลของการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
การประปานครหลวงโจทก์โดย ส. ผู้ว่าการได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ป. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคำสั่งดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิกหรือเพิกถอนจึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ แม้ ส. จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม ป. ซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ก็มีอำนาจลงนามมอบอำนาจให้ ก. ผู้อำนวยการกองคดีฟ้องคดีแทนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ช. ผู้ว่าการเป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ตรงต่อความเป็นจริงก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบสินค้าและชำระราคาควบคู่กัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยสั่งซื้อเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์ชนิดที่มีความสามารถชั่งได้ 600 ตัน ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง ในราคารวม 2,619,360 บาท และโจทก์คิดค่าแรงในการติดตั้งเป็นเงินจำนวน 32,100 บาท โจทก์ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องชั่งพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับมอบเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์แล้ว เมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบเครื่องชั่งที่มีความสามารถตามที่ตกลงกับจำเลย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเครื่องชั่งพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกัน แบ่งหน้าที่ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นตัวการร่วม
ก่อนที่โจทก์ร่วมถูกคนร้ายฟัน จำเลยได้ชักชวนโจทก์ร่วมให้ออกไปยืนรออยู่ที่หน้าซุ้มประตูวัดแล้วจำเลยไปติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่ เมื่อ ว. พี่เขยของจำเลยเข้าไปฟันโจทก์ร่วมแล้วได้วิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยติดเครื่องรออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยกับ ว. ได้คบคิดที่จะทำร้ายโจทก์ร่วมในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำอันเป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 แม้การชักชวนโจทก์ร่วมไปที่เกิดเหตุจะเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่พวกของจำเลยกระทำความผิดหรือการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาพวกหลบหนีจะมิใช่เป็นการกระทำในส่วนสำคัญหรือสาระสำคัญของความผิดฐานพยายามฆ่าก็ตามแต่เมื่อจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำแล้วจำเลยก็มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการรังวัดที่ดินทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้คัดค้านและขัดขวางการรังวัด แต่เมื่อกลับได้ความว่าโจทก์ได้ขอยกเลิกการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว โดยให้เหตุผลในบันทึกถ้อยคำของเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์กับจำเลยสามารถตกลงแนวเขตกันได้แล้วโดยไม่ติดใจสงสัยค้านแนวเขตด้านที่ติดกัน ดังนั้นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ย่อมหมดไป โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ได้