คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชนะ ภาสกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังฟ้องคดีค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 701วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 135,136 เท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็นจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันทีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2ชำระหนี้ จึงยังไม่มีวันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันหลังฟ้องคดี และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอ ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิด ได้ ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 135,136 เท่านั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม สูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอม เข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า 100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่า ธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตรา ดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชี ไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็น จำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ย จากจำเลยที่ 1ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันที ที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงิน ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่ สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จึงยังไม่มี วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้สัญญาไม่ได้กำหนดดอกเบี้ย
ผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สัญญาถึงกำหนดวันที่ 1เมษายน 2532 ไม่ได้เสนอขอชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดในช่วงเวลาที่สัญญาถึงกำหนด เพิ่งเสนอขอชำระเมื่อถูกโจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ว่าสัญญาค้ำประกันจะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า 100,000 บาทตามวงเงินในสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 5 เมษายน 2533 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ของต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6เมษายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะเลิกกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตั้งแต่วันที่ดังกล่าว โจทก์ไม่อุทธรณ์และต่อมาฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นอย่างอื่นเกินไปกว่าที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 2 รับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองการเสียอากรแสตมป์จากเอกสารที่ยื่นต่อศาล: สำเนาเอกสารราชการที่ตรวจสอบได้ถือเป็นหลักฐานได้
สัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้น โจทก์ได้แนบแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานสรรพากรและใบเสร็จรับเงินของสำนักงานสรรพากรมาด้วย แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินระบุมูลค่าของตราสารไว้ ย่อมหมายถึงโจทก์ขอเสียอากรแสตมป์สำหรับตราสารสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้อง ส่วนใบเสร็จรับเงินที่แนบมาด้วยนั้นก็มีจำนวนเงินตรงตามจำนวนเงินค่าอากรแสตมป์ที่ขอชำระ แม้แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินและใบเสร็จรับเงินค่าอากรแสตมป์ดังกล่าวจะเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายแต่ก็เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายจากเอกสารแบบฟอร์มของทางราชการที่สามารถตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารได้ และเอกสารดังกล่าวโจทก์แนบมาท้ายสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกัน ถือว่าได้ยื่นต่อศาลโดยชอบแล้วจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับสัญญาเงินกู้หมุนเวียนและสัญญาค้ำประกันแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานสรรพากรรับค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินแล้ว จึงถือว่าตราสารได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ ผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด บังคับคดีได้ แม้ชำระเงินครบถ้วน
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด บังคับคดีได้ทันที กำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระให้ทนายโจทก์ที่สำนักงาน งวดแรกชำระในวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระในวันที่ 30 พฤษภาคม 2540โดยโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ผ่านทางธนาคารครบถ้วนตามข้อตกลง แม้จะชำระเงินครบถ้วนดังกล่าว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะชำระหนี้ล่วงเลยกำหนด ทั้งชำระผิดสถานที่ที่ระบุไว้อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 เอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าจำนวนหนี้ตามหมายบังคับคดีมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากมีการชำระหนี้ไปบ้างแล้วศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะขอยกเลิกหมายบังคับคดีและถอนการบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ชำระเงินครบถ้วนแต่ไม่ตรงตามกำหนดและสถานที่ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
++ เรื่อง ซื้อขาย (ชั้นบังคับคดี)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับของผิดกฎหมาย และการแยกความผิดเป็นหลายกรรมต่างกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ เลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว หรือหลายกรรมต่างกัน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยได้บังอาจซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลาง และได้ช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ดังกล่าว โดยจำเลย รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นได้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และคำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้าง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ และ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เช่นนี้ นับว่าเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางเป็นของต้องห้าม ต้องกำ กัดตามกฎหมายในการนำเข้าและต้องชำระภาษี โจทก์หาจำต้องระบุว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำ กัดตามประกาศ ของกระทรวงใดอีกไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ (6) แล้ว การพิจารณาว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป การกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกันหรือประสงค์จะให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐาน การที่ตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดของกลางในคดีในข้อหาความผิด ทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แปรรูปไม้ มีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครอง เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร กรณีมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง การผัดชำระหนี้ค่าจ้างไม่ถือเป็นการข่มเหง
พฤติการณ์ที่จำเลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างแล้วถูกผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก เพียงเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะเป็นประโยชน์แก่คดีของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การซื้อขายและการครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่าชื่อในเอกสารสิทธิ
แม้ ป.บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ป.ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373 ก็ตาม แต่ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลาม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3592/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องการเพิ่มทุนโดยการโอนทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่โอนทรัพย์สินให้โจทก์ตามข้อตกลง
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ที่ 2 กับนายสมชัยและจำเลยตกลงเข้าร่วมลงทุนกับโจทก์ที่ 1 โดยจะจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น6,000,000 บาท ในการเพิ่มทุนครั้งนี้โจทก์ที่ 2 และนายสมชัยจะต้องชำระเงินคนละ2,000,000 บาท ส่วนจำเลยจะโอนทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ที่ 1 มาตีราคาในการเพิ่มทุน ต่อมาโจทก์ที่ 2 ชำระเงิน 2,000,000 บาท และนายสมชัยชำระเงิน1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 1 ชำระเงิน 3,000,000 บาท ให้แก่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์ตอนนี้จะบรรยายว่า เพื่อเป็นการซื้อทรัพย์สินจากจำเลย อันมีความหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออ่านฟ้องโจทก์ทั้งหมดโดยตลอดแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีความประสงค์จะให้จำเลยโอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงเข้าร่วมลงทุนโดยมิได้คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือเป็นของผู้อื่น ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน และจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยชำระเงินค่าทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยไม่ครบถ้วนดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลย โจทก์ที่ 2 และนายสมชัย ไชยศุภรากุล เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ คือกรรมการสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยให้การว่าในการแต่งตั้งนายสุรัตน์ แสงจันทร์รุ่ง เป็นทนายความดำเนินคดีแทน โจทก์ที่ 1 มิได้ลงลายมือชื่อกรรมการสองคนและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ให้ถูกต้องตามข้อบังคับการแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องคำให้การจำเลยดังกล่าวไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม คดีย่อมไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ว่าตราประทับในใบแต่งทนายความของโจทก์ที่ 1 เป็นดวงตราปลอม จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.พ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง จำเลยชักชวนโจทก์ที่ 2 และ ส.เข้าร่วมลงทุนในบริษัทโจทก์ที่ 1 โดยจดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 1,000,000 บาท เป็น 6,000,000 บาท โจทก์ที่ 2 และ ส.ลงทุนคนละ 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยนำทรัพย์สินตีราคาเป็นทุน 6,000,000 บาทการเพิ่มทุนของโจทก์ที่ 1 มีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน จำนวนกรรมการและอำนาจกรรมการที่จะลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ที่ 1เป็นเงิน 3,000,000 บาท แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงร่วมลงทุน หากโจทก์ที่ 1 ยังค้างชำระเงินให้แก่จำเลยเท่าใด จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ที่ 1 เป็นคดีใหม่
of 19