คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชนะ ภาสกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามโอนสิทธิใบอนุญาตระเบิดหิน เป็นโมฆะ ทำให้เช็คที่ออกมาชำระหนี้ไม่มีผล
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัว และผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือ ผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้ รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลง ให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเอง โดยจำเลยมิได้เป็น ผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเอง จะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต ภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบรวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กันจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายอนุญาตระเบิดหินเป็นโมฆะ, เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่ เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลย ระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไป ดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไป ทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิด และย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิ ตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การออกเช็คพิพาท เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำ ของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินหลีกเลี่ยงกฎหมายโอนสิทธิอนุญาตระเบิดและย่อยหินเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตโอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเองโดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิเมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 การออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: การฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนและอำนาจฟ้องของคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทไว้กับจำเลย โดยกำหนดวงเงินเป็นจำนวนแน่นอน ต่อมาระหว่างอายุสัญญารถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไปในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์และแจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าเป็นสัญญาประกันภัยประเภทใด กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เริ่มคุ้มครองและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาด้วย แต่มีคู่ฉบับอยู่ที่จำเลยแล้ว จึงเป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ, นอกคำขอ, ค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สิน
เมื่อปัญหาในเรื่องการทำสัญญาเช่าซื้อฟังได้เป็นยุติตามที่จำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่า ล.ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล.กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคัน และจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วย การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้
ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์โดยมิชอบ, การกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
เมื่อปัญหาในเรื่องการทำสัญญาเช่าซื้อฟังได้เป็นยุติตามที่จำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่า ล. ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล. กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคันและจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วยการที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้ ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลต้องส่งไปยังศาลฎีกา และการพิจารณาฐานะยากจนของผู้ขอ
จำเลยที่ 1 ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแล้ว จำเลยที่ 1อาจยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่1กลับอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นจึงไม่ชอบปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และ 247ให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้อง แม้จำเลยที่ 1 จะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประมาณ 100 คน มีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดีทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาทหลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง กับจำเลยที่ 1 ยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ก็ยังดำเนินกิจการมีรายได้ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้จึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยที่ 1เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาต และการพิจารณาฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใน ชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายใน กำหนด เจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายเพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบกรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น อันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี อย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ของจำเลยให้ แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้อง หลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนอง และมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการ มีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียม ศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาถ้าจำเลยประสงค์จะ ดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา: การพิจารณาความยากจนและฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลยให้
แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการมีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ถ้าจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากขังชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหาอ้างถูกทำร้าย-ขู่เข็ญก่อนถูกสอบสวน และเหตุโต้แย้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ตามคำขอฝากขังของเจ้าพนักงานสอบสวนทั้งสองครั้ง โดยที่ ผู้ต้องหาที่ 1 มิได้คัดค้านประการใดนั้น เป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏตามที่ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้น ก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายต้อง กลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ผู้ต้องหาที่ 1 ชอบที่จะ ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาที่ 1 จะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นเรื่อง ที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่ง อนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง ตามคำร้องของ ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 233,237, วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและ วรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็น การโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญแม้ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวในตอนท้ายคำร้องด้วยว่า บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ขัดแย้ง หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นข้อกล่าวอ้าง ที่เลื่อนลอย ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ต้องยกคำร้อง
of 19