พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินเนื่องจากข้อตกลงปลูกสร้างอาคารร่วมผนัง การโอนสิทธิที่ดินในสภาพรุกล้ำ
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันนั้นร่วมกัน โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยซื้อมาจากภรรยาและทายาทผู้รับมรดกของ ส. เจ้าของที่ดินเดิม ฐานรากที่รุกล้ำและเหล็กเส้นที่งอกเงยเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารร่วมผนังแม้จะมีส่วนรุกล้ำ ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. โจทก์รับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินโอนรับทราบการรุกล้ำก่อน
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วนที่รุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวน-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การปรับบทความผิดและหลักการลงโทษกรรมเดียว-หลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อม สภาพป่า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณเขาบรรทัด กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535มาตรา 38,54 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทว่าความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติกับความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันให้ลงโทษฐานตัดโค่นไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯซึ่งเป็นบทหนักจึงไม่ถูกต้อง อีกทั้งความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดยไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีถึงที่สุดผูกพันการครอบครอง การแย่งการครอบครองต้องแสดงเจตนาชัดเจน การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้ว ในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาทจำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57 (1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่งแล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่งแล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดิน การเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง และผลของการครอบครองแทนเจ้าของ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้วในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาท จำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57(1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่ง แล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเป็นเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอในส่วนที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ถือเอา ตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเสีย โดยการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่ง แล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเป็นเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอในส่วนที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ถือเอา ตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเสีย โดยการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำนองที่เกินวงเงิน: โมฆะเนื่องจากขัดมาตรา 708 และหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้นตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลง ที่ใช้ได้ เพราะผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกัน เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ข้อตกลงเกินวงเงินจำนองเป็นโมฆะ, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีค้า
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินประกันหนี้ ของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดวงเงินไว้ 710,000 บาท 1,120,000 บาท และ 870,000 บาท ตามลำดับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความรับผิดชอบตามสัญญาจำนองในต้นเงินดังกล่าว ส่วนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้น ตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงิน ที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้นั้น เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะ ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตาม สัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดทีได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีดอกเบี้ยหรือ หนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินเท่านั้น สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนอง ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และ ไถ่ถอนจำนองว่า ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,441,139.09 บาท ซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ไว้ โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นตั้งแต่วันดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจนถึงวันที่สิ้นสุดคำบอกกล่าวและหักทอนบัญชีได้ หลังจากนั้นต้องคิดดอกเบี้ยอัตราเดิมแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขและตัวอักษรในคำฟ้อง ค่าเสียหายที่ศาลควรพิจารณาตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินสามจำนวน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลข ไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนา อันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษร เป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาจริงจากคำขอท้ายฟ้องที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลยึดเจตนาที่ชัดเจน ไม่ใช่ตัวอักษรตามกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุล. ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามา ชนรถที่ ล. ขับทำให้รถของ ล. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์ คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 102,742 บาท โจทก์จึง ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่า ให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย แก่โจทก์จำนวน 104,347 บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า(หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกัน แล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บ ต่อท้าย 104,347 บาทว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็น ตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความจำนวนเงินในคำฟ้อง: ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขกับเจตนาของผู้ฟ้อง
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุ ล.ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำเลยที่ 1ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถที่ ล.ขับทำให้รถของนายลองที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน102,742 บาท โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่าให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 104,347บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้นจึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณตาม ป.พ.พ.มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ