พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี และการเพิกเฉยต่อการขอให้จำหน่ายคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับผู้ขับขี่
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองไว้ จึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง หาใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตายไม่ โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล: สิทธิของผู้เอาประกันภัยโดยตรง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองจึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง มิใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นโจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี มีหน้าที่เบิกเงินงบประมาณตามคำสั่งโรงพยาบาลบันนังสตา จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีมานานถึง 14 ปี ย่อมทราบระเบียบเกี่ยวกับการรักษาเงินเป็นอย่างดี จำเลยเก็บเงินงบประมาณแผ่นดินที่โรงพยาบาลเบิกมาเพื่อจ่ายค่าเวชภัณฑ์ที่สั่งซื้อ จำเลยควรนำเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลและต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง แต่จำเลยกลับลงหลักฐานทางบัญชีเป็นเท็จว่าได้ชำระเงินทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้จ่าย และนำเงินนั้นมาเก็บไว้และเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน นับแต่วันที่รับเงินมาจนกระทั่งเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบเป็นเวลาถึง 6 เดือน พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงตัวเป็นนายประกันปลอมเพื่อหลอกลวงศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม
การที่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงตัวเป็น อ. นายประกันของจำเลยและลงลายมือชื่อในคำร้องขอประกันตัวต่อซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นการหลอกลวงศาลว่ามีการประกันตัวต่อโดยชอบ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33พฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรงเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรมอันเป็นช่องทางให้จำเลยหลบหนีได้ หากศาลตรวจไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาเสียก่อน การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลเป็นอย่างมาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรับราชการครูและยังมีหน้าที่ต้องอุปการะผู้อื่น ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิส่งออกกับการรับผิดในค่าขนส่ง: จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาโดยตรง ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา อีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิส่งออกกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา: จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่งต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8705/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความตามเจตนาสุจริตและเนื้อที่ที่ระบุในสัญญา ไม่ใช่การซื้อขายเหมา
ในวันทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาทติดจำนองธนาคารโจทก์จึงนำสำเนาโฉนดเฉพาะหน้าแรกมาให้จำเลยดู ในสำเนาโฉนดดังกล่าวระบุว่าที่ดินพิพาทมีจำนวน 167 ตารางวา และโจทก์ยืนยันกับจำเลยว่าที่ดินพิพาทมีจำนวน 167 ตารางวาจริง จำเลยจึงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยเชื่อว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 167 ตารางวาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 นั้น ในกรณีที่สัญญามีปัญหาให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย สัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 167 ตารางวา โดยไม่ปรากฏข้อความในสัญญาว่าเป็นการซื้อขายแบบเหมา จึงไม่อาจตีความในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สุจริตได้ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทจำนวน 167 ตารางวา มิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8705/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การตีความตามเจตนาสุจริตและเนื้อที่ตามสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 กำหนดว่า ในกรณีที่สัญญามีปัญหาให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อพิจารณาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ระบุว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 167 ตารางวา โดยไม่ปรากฏข้อความในสัญญาเลยว่าเป็นการซื้อขายแบบเหมาด้วยแล้ว จึงมิอาจตีความในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้สุจริตได้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทจำนวน 167 ตารางวา มิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมา เมื่อต่อมาปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน และโจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่แท้จริง โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้เท่าเพียงตามจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการหักชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นรับมาแต่เพียงว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามมาตรา 238,243(3) ประกอบมาตรา 247
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี