พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: ทราบคำสั่งแล้วถือว่าเริ่มนับเวลา แม้ศาลมิได้แจ้ง
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ การแจ้งผลคำสั่ง และผลของการยื่นคำร้องเพิ่มเติม
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลภายในเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายหลังจากวันยื่นอุทธรณ์และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องนั้น หามีผลทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาฎีกาในข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดทุนทรัพย์ ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งเรื่องให้ผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องพิจารณาก่อน
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท. และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248ท. มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส. พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส. มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส. ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท.และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ท.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส.พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส.ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนชื่อบริษัทเข้าทะเบียนหลังถูกถอนทะเบียน กรณีบริษัทยังประกอบการอยู่
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ดำเนินการถอนทะเบียนบริษัท พ.เป็นบริษัทร้างและขีดชื่อออกจากทะเบียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียน บริษัท พ.ยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทร้องขอ กรณีจึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7167/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับจดทะเบียนบริษัทร้าง กรณีมีหลักฐานว่ายังประกอบกิจการอยู่ แม้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ดำเนินการถอนทะเบียนบริษัท พ. เป็นบริษัทร้างและขีดชื่อออกจากทะเบียน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียน บริษัท พ. ยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทร้องขอ กรณีจึงมีเหตุที่ศาลจะสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7148/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายเงินมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นหุ้นส่วนค้าทอง แต่ขาดหลักฐานสนับสนุน
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิได้รับส่วนกำไรอันเกิดจากกิจการที่ทำนั้น หากไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรแต่ได้รับเป็นอย่างอื่น ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน ปรากฏว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการแบ่งผลประโยชน์ให้กันทุกเดือน เดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน แสดงว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนทุกเดือนโดย ไม่ได้รอผลกำไรจากกิจการแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยเพื่อ ทำกิจการซื้อขายทองรูปพรรณ แต่เป็นกรณีที่จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากการที่โจทก์ให้เงินจำเลยไปลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับทองรูปพรรณอันเป็นกิจการของจำเลยเองจำเลยประกอบธุรกิจค้าขายทองมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ย่อมรู้ดีว่าการลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้บุคคลอื่นต้องผูกพันตนเองอย่างไร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะยอมสั่งจ่าย เช็คพิพาทให้โจทก์โดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยืนยันว่ามูลเหตุที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ให้โจทก์มาจากการที่จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้งรวมยอดหนี้ได้ 1,000,000 บาท จำเลย จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยพยานบุคคลขัดต่อข้อตกลงในสัญญา และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา94 (ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกยุติลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในการเป็นผู้จัดการมรดก
ณ. เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยคำสั่งศาลมาก่อน ต่อมาผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ตายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ณ. จากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถอนฟ้อง โดยตกลงกันให้ ณ. ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ซึ่ง ณ. ยอมแบ่งเงินจากกองมรดกของผู้ตายจำนวน 180,000 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งทำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 852 ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก จึงมาร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713