พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความรับผิดฐานเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ขับรถชนเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อหลบหนี มีเจตนาประสงค์ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถพุ่งเข้าชนสิบตำรวจตรีป.ขณะเข้าทำการตรวจค้น ขับรถด้วยความเร็วสูงสลับกับการห้ามล้อหลายครั้งในขณะที่สิบตำรวจตรีป.นอนคว่ำหน้าอยู่บนฝากระโปรงด้านหน้าของรถที่จำเลยขับเพื่อให้สิบตำรวจตรีป.ตกจากรถ ล้วนแต่ มุ่งประสงค์ที่จะให้สิบตำรวจตรีป. เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งสิ้น เมื่อไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจสั่งงดจ่ายเงินเดือนย่อมไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่ง ผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็น ความผิดตามมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนของข้าราชการตำรวจเป็นอำนาจหน้าที่ของ กรมตำรวจหรือผู้ที่กรมตำรวจมอบหมายโดยตรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับ มอบหมายให้มีหน้าที่สั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจ แม้จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาในการที่โจทก์ขาดราชการเกินกว่า 15 วัน และเสนอความเห็นให้มีคำสั่งให้ โจทก์ออกจากราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่การเงินจ่ายเงินเดือนให้ โจทก์ก็เพราะเหตุที่เชื่อว่าโจทก์ละทิ้งราชการหรือหนีราชการ ประกอบกับในทางปฏิบัติ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้จ่ายเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนให้แก่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ขอเบิกรับเงินไป หากมีเงินส่งคืนก็จะบันทึก เหตุผลในการส่งคืนไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงดจ่ายเงินเดือนข้าราชการตำรวจทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องทางจำเป็นและภารจำยอม: ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่ฟ้อง หากไม่ได้ยกประเด็นทางจำเป็น ศาลมิอาจวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ หรือมีการแบ่งโอนที่ดินกันเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ อันเป็นความสำคัญในเรื่องขอให้เปิดทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และ1350 ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นในเรื่องทางจำเป็น โจทก์เพียงอ้างว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกเกิน 10 ปี จนได้ภารจำยอม ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่า ทางพิพาทเป็นภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นเมื่อได้ความว่า ทางพิพาทมิใช่ทางภารจำยอม ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและบังคับให้จำเลยที่ 1รื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อ และการเบิกความอธิบายเอกสาร มิใช่การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความอธิบายเอกสารสัญญาเช่าซื้อ การรวมค่าเบี้ยประกันภัยในค่างวด ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน 620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อคู่สัญญายอมรับข้อตกลงและไม่คัดค้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การจำเลยและนัดชี้สองสถาน ก่อนถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนตามที่ได้ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งว่าสำเนาให้โจทก์ถ้าจะคัดค้านให้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือในวันชี้สองสถาน เมื่อถึงวันนัดชี้สองสถานฝ่ายโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้ลงนามในสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการกับจำเลยจริงและแถลงไม่ติดใจคัดค้านคำร้องของจำเลย เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440-5441/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ สัญญาประกันภัย การผิดสัญญา และผลกระทบจากการแจ้งความผิดพลาด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อที่สูญหายไป แต่ให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกอันมีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374,375 และ 376 เมื่อโจทก์ผู้รับประโยชน์ได้เรียกร้องให้บริษัทรับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว เป็นการถือเอาประโยชน์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงในนามของตนเอง ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องผู้รับประกันภัย แต่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง2 ปีเศษ จนขาดอายุความจึงเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เมื่อทะเบียนรถยนต์ที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นทะเบียนรถยนต์คันที่หายไปจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำแผ่นป้ายเลขทะเบียนดังกล่าวมาใช้กับรถยนต์คันที่ตนครอบครองอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบทุกงวดก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้ จำเลยที่ 1 จึงมีเหตุที่จะอ้างไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อจนกว่าโจทก์จะดำเนินการแก้ไขให้จำเลยที่ 1 สามารถใช้และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันที่ครอบครอง และสามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจำนองไม่กระทบหนี้เดิม ผู้จำนองยังคงมีภาระผูกพันชำระหนี้ตามสัญญา
การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงระงับจำนอง (ปลดจำนอง) โดยมีข้อความยืนยันว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะเป็นการปลดจำนอง ก็มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ได้เท่านั้น ภาระหนี้สินที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่ตามเดิม