คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชนะ ภาสกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อ/ค้ำประกัน: ผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ทำหนังสือ ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ภริยาทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หนังสือยินยอมสองฉบับมีข้อความว่า ผู้ให้ความ ยินยอมยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ นอกจากเป็นหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างรับว่าให้ความยินยอมในการที่คู่สมรสของตนทำนิติกรรมแล้ว ยังแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนวินิจฉัยไปล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทราบความหมายหรือสาระสำคัญของเอกสารที่ทำทั้งที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังไม่ได้เข้าเป็นคู่ความต่อสู้คดีนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนข้อที่ตำหนิว่าหากต้องการให้ รับผิดก็ควรให้ทำสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 นั้น การทำข้อตกลงอย่างไร ให้ริบผิดแค่ไหนเพียงใดเป็นสิทธิของคู่สัญญา การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8625/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนขัดต่อสัญญา การคำนวณหนี้ใหม่ตามข้อตกลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินกู้จำนวนที่ได้เบิกไป โดยมีกำหนดชำระเงินรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดงานของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำงานที่ถัดไป ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนจึงขัดกับข้อสัญญาเป็นการไม่ชอบ ทำให้มูลหนี้ความรับผิดของจำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง จึงต้องคิดคำนวนหนี้ของจำเลยในส่วนนี้ใหม่ โดยให้คิดดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยทุกวันสิ้นเดือน แล้วนำดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงินคงค้าง เพื่อถือเป็นต้นเงินของเดือนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุขัดเคืองกันมาก่อนก่อนเกิดเหตุ ถือไม่ได้เสมอไปว่าจะเป็นเหตุให้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า หลังจากที่จำเลยและผู้ตายมีเรื่องขัดเคืองกันในครั้งก่อน แล้วจำเลยมีความอาฆาตคอยติดตามที่จะทำร้ายผู้ตายอีก ทั้งบ้านจำเลยและบ้านผู้ตายก็มิได้อยู่จังหวัดเดียวกัน ผู้ตายเพิ่งมาบ้านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านพ่อตาแม่ยายและอยู่ใกล้กับบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุนั้นเอง การที่จำเลยฆ่าผู้ตายมิได้เป็นการซุ่มยิง แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงจากข้างล่าง 1 นัด แล้วเดินตามขึ้นไปยิงผู้ตายบนบ้านที่เกิดเหตุอีก 1 นัด และยังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้ตายต่อหน้าญาติจำเลยและญาติผู้ตายอีกหลายคน ผิดวิสัยที่จะเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ความคิดของจำเลยที่จะฆ่าผู้ตายเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อเห็นผู้ตายที่บ้านที่เกิดเหตุโดยจำเลยมิได้มีการตระเตรียมการหรือมีการวางแผนมาก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7709/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความ: ผู้ที่เป็นคู่ความเดิมแล้ว ไม่สามารถร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57
ป.วิ.พ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า เฉพาะแต่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเท่านั้นที่จะเข้ามาในคดีด้วยการร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีอยู่แล้ว จึงไม่ใช่บุคคลภายนอก ไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7709/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี การเป็นคู่ความเดิมไม่อาจร้องสอดได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าเฉพาะแต่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเท่านั้นที่จะเข้ามาในคดีด้วยการร้องสอด แต่จำเลยที่ 3 เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว แม้จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ละเลยไม่ต่อสู้คดีกับโจทก์ จำเลยที่ 3ต้องการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ก็ไม่ใช่บุคคลภายนอก ไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดีตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149-7150/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการสืบพยานหลายครั้งและทุกครั้งก็ได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์อีกว่าหากมีเหตุขัดข้องเกี่ยวกับพยานจะถือว่าโจทก์ประวิงคดี แต่โจทก์ก็ขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย แต่เมื่อตรวจดูใบความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์แล้ว ปรากฏว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดและคออักเสบ เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย มิได้มีอาการหนักถึงกับไปศาลไม่ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้แพทย์ไปตรวจแล้วจึงมีคำสั่งดังโจทก์อ้าง อีกทั้งยังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่มีพยานไปศาลและโจทก์ไม่ได้ขอหมายเรียกพยานไว้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือจึงชอบแล้ว
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดดอกเบี้ยได้ตามควร
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฉะนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้โดยชอบแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญาดังกล่าว
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่เบี้ยปรับ, คิดดอกเบี้ยตามสัญญาก่อนบอกเลิก
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินบัญชีได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า จำเลยยอมเสีย ดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร และจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีซื้อขายรถยนต์ โดยศาลฎีกาต้องบังคับตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญา และสัญญายังไม่เลิกกัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืน ให้จำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ดังกล่าวแก่โจทก์ ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างพร้อม ดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งสามทิ้งอุทธรณ์ คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือ ขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 ผลคดีถึงที่สุดโดย ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นคดีนี้ขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนดตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป และพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาฎีกาใหม่มีผลเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขมีผลบังคับใช้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกันจำเลยไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืนให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลย ผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกัน จึงขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวที่ว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบเมื่อกรณีเป็นดังนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่งโดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
of 19