พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ฉ้อโกง, และการกำหนดโทษสำหรับความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าร้านค้า โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบกิจการอยู่ในร้านค้านั้น ต่อมาจำเลยที่ 3 เป็นผู้นำใบบันทึกการขายปลอมรวม 4 ฉบับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใบบันทึกการขายปลอมจำนวน 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมได้โอนเงินให้แล้ว ส่อแสดงให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกันในกิจการร้านค้าที่จำเลยที่ 1 ทำการค้าขายอยู่นั้นด้วย ในการนำใบบันทึกการขายและใบสรุปยอดการขายบัตรเครดิตไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คงมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 หมุนเวียนกันไปโดยไม่มีบุคคลอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาในคดีร่วมกันปลอมและใช้บัตรเครดิตและใบบันทึกการขายอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกง โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการปลอมและใช้บันทึกการขายปลอม และมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีทำร้ายร่างกาย บุกรุกเคหสถาน และชิงทรัพย์: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 1 เปลือยกายถือมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงนอนของผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืน ผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวจำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียงจำเลยที่1ชกปากและเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปาก ผู้เสียหายที่ 1กัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน ผู้เสียหายที่ 1 ถูกมีดของจำเลยที่ 1บาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและได้ใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 365 เมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาที่ห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้ายและจำเลยที่ 1 หยิบเอากระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วยและตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนีจำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบุกรุก, กระทำอนาจาร, ชิงทรัพย์: พยานหลักฐานแน่นชัด ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
การที่จำเลยที่ 1 เปลือยกายถืออาวุธมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงภายในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 พอดีผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาเห็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พูดขู่มิให้ร้อง ผู้เสียหายที่ 1 ร้องกรี๊ดสุดเสียง จำเลยที่ 1 จึงชกปากผู้เสียหายที่ 1 และเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากของผู้เสียหายที่ 1 ผู้เสียหายที่ 1 จึงกัดนิ้วของจำเลยที่ 1 และดิ้นจนตกจากเตียงนอน ระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกอาวุธมีดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถือมาบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 3 เข้ามาในห้องนอนของผู้เสียหายที่ 1 ก็ถูกจำเลยที่ 1 ทำร้าย และหยิบเอากระเป๋าที่มีอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 เก็บไว้ ซึ่งผู้เสียหายที่ 3 นำมาด้วย และตกอยู่ที่พื้นไป ก่อนจะหลบหนี จำเลยที่ 1 วิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 และยังใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริต โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ผู้เสียหายให้การสอดคล้อง เชื่อได้จำเลยกระทำผิดฐานกระทำอนาจาร บุกรุกเคหสถาน และชิงทรัพย์
จำเลยเปลือยกายถือมีดเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนอนอยู่บนเตียงในห้องนอนในเวลากลางคืน ผู้เสียหายที่ 1 รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาแล้วร้องสุดเสียงจำเลยจึงชกปากและเอามือซ้ายยัดเข้าไปในปากผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถูกมีดของจำเลยบาดที่ข้อมือซ้าย ถือว่าจำเลยกระทำการอันไม่สมควรทางเพศแก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายและได้ใช้กำลังประทุษร้ายแล้ว จึงเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 และเป็นการบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควรในเวลากลางคืน โดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(1)(2) และ (3) ประกอบมาตรา 364 ซึ่งเป็นกรรมเดียวกัน หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 เข้ามาที่ห้องนอนก็ถูกจำเลยทำร้าย และจำเลยหยิบเอากระเป๋าที่มีปืนของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของผู้เสียหายที่ 1 ที่ผู้เสียหายที่ 3 นำมาและตกอยู่ที่พื้นไปด้วย โดยก่อนที่จะหลบหนีจำเลยวิ่งชนผู้เสียหายที่ 3 แล้วใช้มีดฟันจนผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการลักอาวุธปืนของผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยทุจริต โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อสะดวกในการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดียื่นคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลย จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้ว และไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางที่รับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12 ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้ และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้น การพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขายจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้นการพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกันการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงิน ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้ว กรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้ และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ก็ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีแพ่งเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินอันเกิดจากการผิดสัญญาจะซื้อขาย จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงมีคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยนั่นเอง เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นในระหว่างการพิจารณาหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับของจำเลยว่า จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาแล้วโดยไม่ปรากฏว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (4) ซึ่งบัญญัติให้ศาลที่มีการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยงดการพิจารณาไว้และย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย ดังนั้น การพิจารณาหลักประกันของศาลชั้นต้นตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี หรือการที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ดี ล้วนถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่งซึ่งต้องงดการพิจารณาไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาและศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนการพิจารณานั้นเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสงบและเปิดเผย แม้เข้าใจผิดว่าเป็นทางสาธารณะ ก็มีผลทำให้ได้สิทธิ
การได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญ โดยไม่ได้คำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ตัวว่าใครเป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะใช้ประโยชน์ในทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยรวมไปกับทางสาธารณะกว้าง 2 เมตร โดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะทั้งหมด ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3059/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสงบและเปิดเผยเกิน 10 ปี ทำให้ได้สิทธิภารจำยอม แม้เข้าใจผิดว่าเป็นทางสาธารณะ
การได้ภารจำยอมโดยอายุความนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิดังกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกล่าวคือ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินภารยทรัพย์นั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผย และด้วยเจตนาจะได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวตามมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382ซึ่งกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ถือเอาการใช้ประโยชน์ของเจ้าของสามยทรัพย์เป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงว่าภารยทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้ใดหรือเจ้าของสามยทรัพย์จะต้องรู้ตัวว่าใครเป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น
โจทก์ใช้ประโยชน์ในทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยรวมไปกับทางสาธารณะกว้าง 2 เมตร โดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะทั้งหมดต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะจะให้ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อใช้ติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผยโจทก์จึงได้ภารจำยอมในทางพิพาท
โจทก์ใช้ประโยชน์ในทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยรวมไปกับทางสาธารณะกว้าง 2 เมตร โดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะทั้งหมดต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะจะให้ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อใช้ติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โดยความสงบและโดยเปิดเผยโจทก์จึงได้ภารจำยอมในทางพิพาท