พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9647/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน: เริ่มนับจากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยรายเดือน ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระหนี้
การกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือว่ามีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 ดังนั้น เมื่อหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดไว้ว่า จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทุกเดือน ย่อมหมายความว่า จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนแรกภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 การที่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญา ทั้งหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทั้งหมดทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาชำระเงินต้นคืนตามที่กำหนดกันไว้ในสัญญาอันถือได้ว่ากำหนดเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นต้นไปโจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจากจำเลยภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 หาใช่เริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 28มิถุนายน 2532 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้เงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9614/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และกรรมสิทธิ์ในเงินฝากเพื่อการศึกษาบุตร
การที่โจทก์จำเลยซึ่งเคยอยู่กินกันฉันสามีภริยาตกลงฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อการศึกษาของบุตรเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปลงลายมือชื่อร่วมถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว จึงถือได้ว่าบุตรได้แสดงเจตนาแก่จำเลยในฐานะลูกหนี้ว่าจะถือเอาเงินฝากตามสัญญาอันเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง ดังนั้น เงินในบัญชีเงินฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยหาได้มีกรรมสิทธิ์ในเงินฝากดังกล่าวไม่
โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยประพฤติผิดสัญญากล่าวคือจำเลยไม่ยอมไปลงลงลายมือชื่อถอนเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่บุตร แม้จะเป็นการฟ้องคดีภายหลังจากที่บุตรได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นก็ตาม โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยเป็นส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินฝากจากบัญชีธนาคารร่วมกับโจทก์ ทั้งก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปธนาคารเพื่อถอนเงินให้แก่บุตรหรือยินยอมให้โจทก์จัดการได้เพียงผู้เดียว แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากบัญชีเงินฝากก็ตาม แต่คงมีผลเท่ากับว่าเป็นการขอให้จำเลยร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่บุตรตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142
โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยประพฤติผิดสัญญากล่าวคือจำเลยไม่ยอมไปลงลงลายมือชื่อถอนเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่บุตร แม้จะเป็นการฟ้องคดีภายหลังจากที่บุตรได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นก็ตาม โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยเป็นส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินฝากจากบัญชีธนาคารร่วมกับโจทก์ ทั้งก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปธนาคารเพื่อถอนเงินให้แก่บุตรหรือยินยอมให้โจทก์จัดการได้เพียงผู้เดียว แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากบัญชีเงินฝากก็ตาม แต่คงมีผลเท่ากับว่าเป็นการขอให้จำเลยร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่บุตรตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9575/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษ ต้องระบุระยะเวลาที่ชัดเจนในคำฟ้อง
การที่ศาลจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษจำเลยไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกจำเลยในคดีหลังได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดขึ้นอีกภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1718/2543 ของศาลชั้นต้น แต่เพียงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ จำคุก 1 ปี โดยมิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรอการลงโทษไว้หรือไม่ เป็นกำหนดระยะเวลาเท่าใด นับแต่วันที่ศาลพิพากษา แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องต่อมาภายหลังจากที่ได้บรรยายฟ้องถึงคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 365/2543 ของศาลชั้นต้น โดยใช้ถ้อยคำว่า ภายในเวลาที่รอการลงโทษทั้งสองคดี จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้อีก ก็เป็นคำฟ้องที่ไม่อาจทำให้ทราบหรือเข้าใจได้ว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1718/2543 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลรอการ ลงโทษไว้มีกำหนดเวลาเท่าใด และจำเลยกระทำความผิดนี้อีกภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว อันจะมีผลให้ศาลมีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 และ 58 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1718/2543 ของศาลชั้นต้นมาบวกเข้ากับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันขยายอายุความลูกหนี้: ผลผูกพันตามกฎหมาย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 มิใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไม่ได้เสียเลย การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนให้รับผิดในหนี้ที่ขาดอายุความเรียกร้องจากลูกหนี้แล้วจึงอาจกระทำได้ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมิใช่เป็นการงดใช้หรือขยายอายุความตามมาตรา 193/11 การที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันตกลงกับโจทก์ว่า ถ้าผู้กู้ตายเกิน 1 ปี ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจนครบถ้วน ซึ่งมีความหมายว่าเป็นกรณีที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้ มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ค้ำประกันตกลงจะไม่ยกอายุความของผู้ค้ำประกันเองขึ้นเป็นข้อต่อสู้ อันจะถือได้ว่าผู้ค้ำประกันสละประโยชน์แห่งอายุความของผู้ค้ำประกันไว้ก่อนตามมาตรา 193/24 จึงมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันข้ามอายุความ: ผู้ค้ำประกันตกลงรับผิดแม้หนี้ขาดอายุความได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 698 จะบัญญัติให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้นในกรณีที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนให้รับผิดในหนี้ที่ขาดอายุความเรียกร้องจากลูกหนี้แล้วจึงอาจกระทำได้ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมิใช่เป็นการงดใช้หรือขยายอายุความตามมาตรา 193/11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9148/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับพยาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ต่อมาจำเลยยื่น คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งงดไต่สวนพยานจำเลยในชั้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก็ตาม แต่ถ้าหากศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้น และอนุญาตให้จำเลย นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อจะได้ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่จำเลยอ้างว่าศาลชั้นต้นทำผิดระเบียบหรือไม่ต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยจึงมีผลส่วนหนึ่งเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การพรากเด็กเพื่ออนาจาร, การยอมความได้ของความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง แต่เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยพรากเด็กชาย พ. ไปจากผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กชาย พ. ไป โดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาเด็กชาย พ. ด้วย ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กชาย พ. โดยใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กชาย พ. หากขัดขืนเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่า ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำอนาจาร ศาลพิจารณาความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารที่ผู้เสียหายถอนฟ้อง
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรม จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และต่อมาอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8344/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาอาญา: แก้ไขบทและโทษ vs. แก้ไขเฉพาะโทษ และความผิดฐานชิงทรัพย์/ลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิตฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและลงโทษประหารชีวิตฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้หนึ่งในสามลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน และจำคุกตลอดชีวิตตามลำดับ จึงเป็นการแก้เฉพาะโทษ กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี ดังนี้ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตายตกไปตามกันอันหมายถึงให้ลงโทษประหารชีวิตซึ่งเป็นฎีกาดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ซึ่งหมายความถึงโจทก์ร่วมด้วยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคสอง
ส่วนความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนลดโทษให้คนละหนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ทั้งบทและโทษกรณีเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนลดโทษให้คนละหนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ทั้งบทและโทษกรณีเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารผิดกฎหมาย จำเลยต้องรับโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ศาลจะลดโทษแล้ว
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ร่วมกันทำความผิดโดยดัดแปลงอาคารซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 31 เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องและต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตามบทกำหนดโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 และมาตรา 70 แพ่งพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งในมาตรา 65 วรรคสองยังบัญญัติให้ลงโทษปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันอีกด้วย มิได้ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจที่จะไม่ลงโทษปรับรายวันได้