พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งอายัดเงินหลังมีคำบังคับคดี และการคุ้มครองประโยชน์เจ้าหนี้จากการหลีกเลี่ยงหนี้
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วัน เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจ ที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการคุ้มครองประโยชน์โจทก์ก่อนบังคับคดี: การไม่อนุญาตคืนเงินจำเลย
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วันเจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การขยายอายุความ, ผลของการจำหน่ายคดี
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้ โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือ ศาลอื่นอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษา ยกฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเพราะเหตุฟ้องซ้อน ไม่ใช่ยกฟ้อง เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล โจทก์จึงอ้างเอาการที่ศาล ยกคำฟ้องในคดีดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามเฉพาะโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คดีแรก ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยนั้น ได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/17 วรรคหนึ่งส่วนคดีที่สองที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็น มูลกรณีเดียวกับคดีแรกนั้น ศาลยกฟ้องเพราะเหตุเป็นคดี ฟ้องซ้อน ต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ฟ้องซ้อน, เหตุสุดวิสัย, การจำหน่ายคดี, ผลกระทบต่ออายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 หาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง (คดีก่อน) เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณาการที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษา ยกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความ เกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษา ว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้อนและอายุความ: ผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่และการสะดุดหยุดลงของอายุความ
คดีที่ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลต้องเป็นคดีที่ฟ้องในศาลที่ไม่มีเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนฟ้องซ้อนเป็นกรณีที่เมื่อมีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาแล้วห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฉะนั้น การที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุเป็นการฟ้องซ้อน จึงหาใช่เป็นการพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไม่ดังนั้นโจทก์จะอ้างการที่ศาลยกคำฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวเพื่อการขยายอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 หาได้ไม่
ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง(คดีก่อน)เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.193/17 วรรคหนึ่ง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษายกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง
ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีแพ่ง(คดีก่อน)เพราะโจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และเมื่อการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาเป็นความผิดของโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อเนื่องจากการกระทำของโจทก์ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ห้ามโจทก์มิให้อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนั้น การที่คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี ทำให้โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ไม่ได้นั้น จะถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยขัดขวางไม่ให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยได้เสร็จไปโดยศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.193/17 วรรคหนึ่ง
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าว่าความจากจำเลยอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณานั้น เมื่อศาลพิพากษายกคำฟ้องเพราะเหตุเป็นคดีฟ้องซ้อน จึงต้องถือว่าอายุความเกี่ยวกับคดีหลังนี้ไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเพราะเหตุที่โจทก์ขาดนัดพิจารณา ย่อมไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่จำต้องระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่อีก แต่โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความเสียให้ถูกต้อง เมื่อศาลไม่ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้หากไม่มีเหตุคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่าคดีนี้มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยจำเลยขาดนัด พิจารณาและได้สั่งยกคำร้องไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจ ขอให้งดการบังคับคดี แต่คำร้องขอของจำเลยอาจถือได้ว่า เป็นการขอให้สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุจะต้อง สั่งคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ต่อไป ศาลอุทธรณ์จึงต้องสั่งให้ยกคำร้อง ของ จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฎีกา: ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องเดิม แค่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชัดเจน
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะคำฟ้อง คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฏอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏทั้งระบุ คำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจนก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฎีกา: ไม่ต้องบรรยายคำฟ้องเดิม เพียงคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และระบุคำขอท้ายฟ้องชัดเจน
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (3)ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิมคำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะทั้งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฎอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏ ทั้งระบุคำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจน ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์แล้ว
โจทก์บรรยายคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแต่ละแปลงมาโดยชัดแจ้ง และมีคำขอบังคับให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มกับให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลมาท้ายคำฟ้องฎีกาครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย คำฟ้องฎีกาของโจทก์ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์ ชอบที่ศาลจะรับคำฟ้องฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2542)
โจทก์บรรยายคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแต่ละแปลงมาโดยชัดแจ้ง และมีคำขอบังคับให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มกับให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลมาท้ายคำฟ้องฎีกาครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย คำฟ้องฎีกาของโจทก์ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์ ชอบที่ศาลจะรับคำฟ้องฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากมีรายละเอียดครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 172 วรรคสองและมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิมคำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะทั้งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฏอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏ ทั้งระบุคำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจน ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์แล้ว โจทก์บรรยายคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแต่ละแปลงมาโดยชัดแจ้ง และมีคำขอบังคับให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มกับให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลมาท้ายคำฟ้องฎีกาครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย คำฟ้องฎีกาของโจทก์ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์ ชอบที่ศาลจะรับคำฟ้องฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งยุบสภา อบจ. มอบอำนาจ รมช.กระทรวงมหาดไทยได้หรือไม่ และมีอำนาจฟ้องหรือไม่
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำ ของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาตการอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)