คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดวงมาลย์ ศิลปอาชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ติดใจขอเลื่อนคดี
ทนายจำเลยที่ 1 เคยขอเลื่อนคดีมาแล้วสองครั้ง ครั้งที่สามนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายศาล และยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบเรื่องการถอนตัวไว้ในคำร้องดังกล่าวด้วยแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าแล้วว่าในวันนัดนี้ตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทน หรืออย่างน้อยตัวจำเลยที่ 1 ก็น่าจะมาศาลเพื่อแถลงขอเลื่อนคดีไปก่อน ทั้งตามคำร้องขอถอนทนายดังกล่าวก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดีมาด้วยจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจขอเลื่อนคดีหาใช่ว่าคำร้องขอถอนทนายเท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัวไม่ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อไปในทางประวิงคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจสืบพยานโดยสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 พร้อมกับมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประวิงคดี-งดสืบพยาน: ศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่ติดใจขอเลื่อนคดี
จำเลยขอเลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นได้อนุญาต และนัดสืบพยานโจทก์เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจำเลยทราบ ล่วงหน้าแล้วว่า ในวันนั้นตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ แต่ก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดี เพียงให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอถอนทนายเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและสั่งงดสืบพยานจำเลยพร้อมมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน การโต้แย้งความถูกต้องของเอกสาร และน้ำหนักพยานหลักฐาน
สำเนาตารางกรมธรรม์ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ทั้งจำเลยก็ได้ต่อสู้ในคำให้การไว้ว่าโจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์ แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาตารางกรมธรรม์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร: สำเนาเอกสารต้องมีข้อตกลงความถูกต้องจากทุกฝ่าย
ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติว่า "การอ้างเอกสารเป็นพยานนั้น ให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่ (1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว?" จำเลยทั้งสองได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยแจ้งชัดว่า โจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์คันพิพาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารแล้ว เมื่อไม่ต้องด้วยกรณีข้อยกเว้นดังกล่าว สำเนาเอกสารจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการพบเห็นชู้รัก ศาลยกเว้นความผิดฐานมีอาวุธปืนฯ
การที่จำเลยใช้อาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างสูงและสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยง่ายยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ และยิงถูกร่างกายผู้เสียหายกระสุนปืนเข้าที่ปอดด้านซ้าย ช่องท้อง ถูกลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญ แม้จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยอารมณ์ชั่ววูบด้วยความหึงหวงก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเป็นเพราะนายดาบตำรวจ อ. สามีจำเลย ได้แสดงความรักใคร่ในทำนองพลอดรักกับผู้เสียหาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนายดาบตำรวจอ. สามีจำเลย ย่อมทำให้จำเลยได้รับความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรงและถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไปในขณะนั้นโดยทันทีจึงเป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะ แม้จะไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับนายดาบตำรวจ อ. ทราบว่าจำเลยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุขณะที่บุคคลทั้งสองพลอดรักกันก็ตาม แต่เมื่อการกระทำดังกล่าวมีผลเป็นการข่มเหงจำเลยแล้ว ก็มีเหตุที่จำเลยจะบันดาลโทสะได้หาจำต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียหายกระทำโดยเจตนามุ่งที่จะข่มเหงจำเลยโดยตรงแต่ประการใดไม่
การที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางที่นายดาบตำรวจ อ. ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการติดตัวไปโดยมุ่งประสงค์จะนำไปมอบให้นายดาบตำรวจ อ. ใช้ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในงานกฐิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองเพราะจำเลยมิได้เจตนาจะยึดไว้อย่างเป็นเจ้าของ ทั้งการที่จำเลยนำอาวุธปืนติดตัวไปเพื่อมอบให้นายดาบตำรวจ อ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไว้ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ที่จะพาอาวุธปืนของกลางไปได้ แม้จำเลยจะนำอาวุธปืนติดตัวไปที่บ้านที่เกิดเหตุก็เป็นการกระทำต่อเนื่องกันจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน แม้ความผิดข้อหาดังกล่าวจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก ไม่ถือเป็นยักยอกทรัพย์ หากมีหลักประกันชัดเจน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก และความแตกต่างระหว่างการจำนำกับตัวการตัวแทน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4843/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น มิใช่ทรัพย์ของตนเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ อันจะทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น นอกจากจะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10 ปีแล้ว ยังจะต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของบุคคลอื่นด้วย หากเป็นการครอบครองทรัพย์สินของตนเองแล้ว ก็หามีผลที่จะทำให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่
การที่โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งรับมรดกมาจากบิดาเช่นนี้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของโจทก์เองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาใช้เอกสารปลอม - ละเมิดอำนาจศาล - ชาวบ้านลงชื่อโดยไม่รู้เห็น
หลังจากผู้ถูกกล่าวหาได้รับการชักชวนจาก ส. ให้นำหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนดที่ดินไปใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ศาลแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาได้ไปขอออกหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินทั้งสองแปลงเพื่อนำไปใช้ในเรื่องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่เอกสารทั้งหมดผู้ถูกกล่าวหาได้มอบให้ ส. ไป แม้จะปรากฏว่าในครั้งแรกผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหารายใดได้ ก็ไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัดว่าเนื่องมาจากหลักทรัพย์ของตนมีราคาต่ำเกินไปหรือไม่ อันอาจทำให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็นในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมในการขอให้ปล่อยชั่วคราวในครั้งต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในการขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยครั้งเกิดเหตุนี้ มีชายคนหนึ่งเขียนรายละเอียดในเอกสารที่เป็นแบบพิมพ์และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวและบัญชีทรัพย์ ผู้ถูกกล่าวหามีอาชีพทำนา อายุ 57 ปี เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาอาจจะไม่ได้ตรวจดูเอกสารให้ถี่ถ้วนก็ได้ จึงน่าเชื่อว่าก่อนมีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวได้มีคนบอกให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อจริง ซึ่งการลงชื่อของผู้ถูกกล่าวหาก็คงหวังเพียงผลประโยชน์ตอบแทนในการที่นำหลักทรัพย์ของตนมาใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยผู้ถูกกล่าวหาไม่ทราบว่าหนังสือรับรองราคาประเมินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงขาดเจตนาในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมยื่นต่อศาลชั้นต้น จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
of 9