คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ชัดเจนและข้อคัดค้านคำพิพากษาที่ชัดแจ้ง
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่าโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 138 ไม่ได้เพราะบ้านของจำเลยรื้อถอนไปแล้ว โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 168/11 โจทก์กลับส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและคำบังคับโดยประกาศหนังสือพิมพ์ จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้จงใจขาดนัด เช่นนี้ แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ส่วนข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยเข้าต่อสู้คดีแล้วจำเลยชนะโจทก์อย่างแน่แท้ และศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์ ผลของคำพิพากษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะมูลหนี้ตามฟ้องไม่ใช่มูลหนี้ที่แท้จริง เป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบมิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลเพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใด ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า หากศาลอนุญาตให้มีการพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม และเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคำร้องคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิที่ถูกละเมิด
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อไม่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการว่าความของข้าราชการ: การใช้สิทธิทางศาลต้องมีกฎหมายรองรับโดยตรง
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย การที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้แทนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ในคดีก่อนตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งเช่นนี้หาได้ไม่ เพราะกรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการว่าความของข้าราชการ: คดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ
บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย กรณีของผู้ร้องไม่มีกฎหมายสารบัญญัติบทใดสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.ทนายความฯ มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ – ลูกหนี้ร่วมรับผิดไม่มีสิทธิคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น ข้ออ้างที่จะโต้แย้งคัดค้านคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ในคดีนี้ที่เพียงพอจะชำระหนี้ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ร่วมอื่น แม้เป็นผู้ค้ำประกัน
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิงก็ตาม แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายทอดตลาดนั้น เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีชื่อตามทะเบียนในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 2 ทราบ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากคำขอปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินคดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงสุรินทร์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ กรณีโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่คำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์คดีนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการฟ้องแย้งให้ซื้อที่ดินส่วนที่รุกล้ำ ศาลไม่รับฟ้องแย้งเนื่องจากไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ตลอดแนวที่ดิน จำเลยให้การในตอนแรกปฏิเสธว่า จำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังคงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1312 ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งจึงชอบแล้ว
of 39