คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบัตรเครดิต: ผลของการผิดนัดชำระหนี้และจุดเริ่มต้นของอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องสิทธิตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตโดยมีหนังสือรับสภาพหนี้ระบุว่า หากผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งหรือกรณีใดกรณีหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ไม่ตรงกำหนดในหนังสือรับสภาพหนี้ เหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงได้สิ้นสุดในวันดังกล่าวหาใช่สิ้นสุดในวันครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินสองปีนับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097-1098/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนเงินประกันทุเลาการบังคับคดี: เริ่มนับเมื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่นับจากวันที่คดีถึงที่สุด
โจทก์วางเงินประกัน 15,887.50 บาท เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์โดยทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2534 ว่า หากโจทก์แพ้คดีและไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ยินยอมให้บังคับเอากับเงินที่นำมาเป็นหลักประกันได้แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์แพ้คดี และคดีถึงที่สุดแล้วแต่ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังไม่มีสิทธิขอรับเงินที่วางไว้คืน โจทก์จะมีสิทธิร้องขอคืนได้ต่อเมื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนใหม่มาวางชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องขอรับเงินที่วางเป็นหลักประกันคืนตั้งแต่วันดังกล่าวหาใช่นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ โจทก์ขอรับเงินคืนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544ยังไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้อง เงินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 โจทก์มีสิทธิขอรับเงินคืนไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097-1098/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินประกันทุเลาการบังคับคดี: สิทธิเกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
โจทก์ที่ 1 วางเงิน 15,887.50 บาท ต่อศาล เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ โดยทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลไว้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2534 ว่า หากโจทก์ทั้งสามแพ้คดีและไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษายินยอมให้บังคับเอากับเงินที่นำมาวางเป็นหลักประกันได้ แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ที่ 1 แพ้คดี และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังไม่มีสิทธิขอรับเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืน โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิขอคืนได้ต่อเมื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 นำเงินจำนวนใหม่มาวางชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องขอรับเงินที่วางเป็นหลักประกันคืนตั้งแต่วันดังกล่าว หาใช่นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ โจทก์ที่ 1 ขอรับเงินคืนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ยังไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้อง เงินนั้นไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 โจทก์จึงมีสิทธิขอรับเงินจำนวน 15,887.50 บาท ดังกล่าวคืนไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097-1098/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับคืนเงินประกันทุเลาการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา และระยะเวลาการเรียกร้อง
เงินที่โจทก์ที่ 1 วางเป็นหลักประกันเพื่อขอทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์โดยทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2538 ว่า หากโจทก์ทั้งสามแพ้คดีและไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ยินยอมให้บังคับเอากับเงินที่นำมาเป็นหลักประกันได้ แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ที่ 1 แพ้คดี และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังไม่มีสิทธิขอรับเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืน โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิร้องขอคืนได้ต่อเมื่อนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 นำเงินจำนวนใหม่มาวางชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องขอรับเงินที่วางเป็นหลักประกันคืนได้ตั้งแต่วันดังกล่าวหาใช่นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1 ขอรับเงินคืนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544 ยังไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่วางประกันจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินไป ศาลลดค่าเสียหายได้ และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเปลี่ยนแปลง
แม้ค่าเช่าซื้อรถขุดไฮดรอลิกที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกได้จากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาที่มีต่อกัน เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์เพิ่งรับรถคืนจากจำเลยที่ 1 ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่างวดถึง 8 งวด จะถือว่าโจทก์มีส่วนร่วมในความเสียหายด้วยหาได้ไม่เพราะในการประกอบธุรกิจย่อมเป็นได้ที่โจทก์ประสงค์จะผ่อนปรนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของตนได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 470,130.84 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่าต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายไม่เกิน 120,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลจึงมีเพียง 350,130.84 บาท แต่จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 470,130.84 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสาม แต่ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเนื่องจากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขึ้นศาลในส่วนนี้จึงต้องคืนแก่จำเลยที่ 2 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเงินเบิกเกินบัญชี: ค้ำเฉพาะต้นเงินที่เบิกใช้จริง ไม่จำกัดจำนวน
สัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเงินเบิกเกินบัญชี แม้ไม่ระบุวงเงินค้ำประกันโดยตรงแต่ความในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า เนื่องในการที่โจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาลงวันที่ 21 มกราคม 2528 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท ตามสัญญาลงวันที่ 3 มีนาคม 2532 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท และตามสัญญาลงวันที่ 27 มิถุนายน 2533 เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท นั้น ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แสดงให้เห็นว่าผู้ค้ำประกันมีเจตนาเข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เฉพาะต้นเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ส่วนที่ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญานั้น หมายถึงผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยสละสิทธิให้โจทก์เรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 หรือทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 691 เท่านั้น มิใช่เป็นข้อสัญญาให้ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชีย่อมมีผลให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท กับดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น ส่วนสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นเพียงการที่จำเลยที่ 3 ให้หลักประกันเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินไม่เกิน 690,000 บาท เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้หลักประกันใหม่โดยไม่จำกัดจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถา: พยานหลักฐานไม่ใหม่ & เหตุผลไม่ฟังขึ้น
ในชั้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นบัญชีระบุพยานรวม 5 ฉบับ อันดับที่ 5 ได้แก่หนังสือสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานเดียวกันกับคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติม จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ยื่นพยานดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นในชั้นไต่สวนคำร้อง และจำเลยที่ 1 ได้อ้างตนเองเป็นพยานในชั้นไต่สวนเบิกความว่า บ้านและที่ดินของจำเลยติดจำนองกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ค. ประมาณ 600,000 บาท และภริยาของจำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพครู มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แสดงว่าพยานหลักฐานที่จำเลยขออนุญาตเพิ่มเติมนั้นก็ไม่เป็นพยานหลักฐานใหม่ประกอบทั้งศาลล่างยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา เนื่องจากจำเลยที่ 1 เคยประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันและทำไม้ แต่กิจการขาดทุน ส่วนภริยารับราชการครู เงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท และบุตรมีอาชีพทนายความ จำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดินเป็นของตนเองแต่จำเลยอ้างหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันเพิ่มเติมสนับสนุนว่าบ้านและที่ดินติดจำนองนั้นก็เห็นได้ว่าศาลล่างยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาด้วยเหตุผลหลายประการ พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ขออนุญาตเพิ่มเติมนั้นไม่เป็นประโยชน์ที่จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ยากจน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาความผิดตามฟ้องเดิมและการแก้ไขโทษที่เหมาะสมในคดีอาวุธปืนและการยิงในชุมชน
โจทก์ฟ้องเป็นข้อ ค. ว่า จำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีไว้และพาไปอันเป็นความผิดตามฟ้องข้อ ก. และ ข. ซึ่งเป็นอาวุธปืนและกระสุนปืนที่ใช้ดินระเบิดยิงขึ้นฟ้า ในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นในงานรื่นเริงมงคลสมรสและขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องทุกข้อหาซึ่งหมายถึงรวมทั้งความผิดตามฟ้องโจทก์ข้อ ค. ด้วย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหาอื่นเท่านั้น มิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ด้วย จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 ซึ่งโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษมาโดยมิได้กำหนดโทษความผิดข้อหานี้อีกเป็นเพียงการพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใช้เงินแก่ บ. หรือผู้ถือ มีผู้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยหาอาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ นั้นได้ไม่เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยให้การเพียงว่าเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ บ. ไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพราะจำเลยได้ชำระเงินตามเช็คนั้นไปแล้ว เป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้ทรงคนก่อนเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คโดยการคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้ทรงคนก่อนอย่างไร จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 916
จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้อำนาจในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตโดยมิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถา: การขยายเวลาสาบานตัว & การพิสูจน์ฐานะทางการเงิน
คำร้องขอขยายระยะเวลาสาบานตัวในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยไม่สามารถมาสาบานพร้อมขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา จึงขอขยายระยะเวลาในการสาบานตัวออกไป 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่สามารถมาสาบานตัวได้ กรณีถือได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น คำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยจำเลยไม่ได้สาบานตัวให้คำชี้แจงว่า จำเลยไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
of 39