คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามฟอร์ม แต่มีเจตนาชัดเจนในการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน และผลของสัญญาค้ำประกันที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยที่ 1 ไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบเงินที่ยืมให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงจะชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 แทนการโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ในขณะทำสัญญาแต่ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 หากไม่โอนยินยอมชดใช้เงิน ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับ สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญากู้ยืมเงินอันจะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต แม้เป็นสัญญาค้ำประกันหนี้อันสมบูรณ์ แต่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยโจทก์ทั้งสองยังคงได้รับชำระเงินจากจำเลยทั้งสอง เพียงแต่ได้รับชำระเป็นจำนวนน้อยกว่าจำนวนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองจึงยังเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันหลังงานเสร็จ การชำระบัญชีต้องทำก่อนฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญรับจ้างก่อสร้างอาคารเรียนในวิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวเสร็จและได้รับเงินค่าจ้างครบถ้วนแล้ว ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเพราะเสร็จการนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(3) แม้หลังจากจำเลยได้รับเงินค่าจ้างงวดแรกจำเลยยินยอมคืนเงินลงทุนให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันเรื่องจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน จำนวนเงินที่โจทก์ลงทุนไป จำนวนหนี้ที่ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ค่าตอบแทนและค่าผลประโยชน์ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ และผลกำไร ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แม้คดีนี้โจทก์จะมิได้ฟ้องแบ่งปันกำไรแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าแทนและค่าผลประโยชน์จากจำเลยอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่าห้างหุ้นส่วนสามัญมีหนี้สินเพียงใด โดยโจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนเมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการแบ่งผลกำไรที่ผิดสัญญา ห้างหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญ เป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1), 1061 และ 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเดินสะพัด, สิทธิโจทก์, การบอกเลิกสัญญา, หักชำระหนี้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองบางส่วนและการหักหนี้ การบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วม
คดีปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท (ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันไว้) โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป กรณีจึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป และต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ 7,280,180.66 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และมูลหนี้ดังกล่าวจำนวน 1,500,000 บาท เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนอง คำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การบอกเลิกสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ฯ การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การกระทำของโจทก์ก็ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน ในกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คงมีแต่ข้อตกลงเฉพาะการหักทอนบัญชีและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่และจะคิดทบต้นอย่างไร ซึ่งตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้มีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงิน แม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะจากข้อมูลสุขภาพเท็จของผู้เอาประกันภัย
ใบคำขอเอาประกันชีวิต พ. แจ้งว่าไม่เคยรับการตรวจสุขภาพหรือการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค ไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ไม่เคยเป็นหรือรับการรักษาโรคเกี่ยวกับตาหูคอจมูกไม่เคยเป็นโรคหืดหอบหรือโรคเกี่ยวกับปอดหรือระบบหายใจเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า วันที่ 19 กันยายน 2538 พ. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล เพราะพยายามฆ่าตัวตาย วันที่ 27 สิงหาคม 2539 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยโรคไซนัสอักเสบติดเชื้อ เดือนตุลาคม 2539 เป็นต้นมาเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการหลอดลมอักเสบ กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย กินอาหารไม่ได้เดือนธันวาคม 2539 แพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคเอดส์หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้น พ. จึงแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงต่อจำเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญ สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
เป็นหน้าที่โดยตรงที่ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งข้อเท็จจริงตามที่ผู้รับประกันภัยจำเลยต้องการทราบและกำหนดไว้ การให้แพทย์ตรวจผู้เอาประกันภัยหรือไม่เป็นดุลพินิจของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริง แถลงข้อความเป็นเท็จเสียแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ได้ให้แพทย์ตรวจร่างกายผู้เอาประกันภัยถือว่าประมาทและไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลในคดีจำนอง และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินมีโฉนดทั้งสองแปลงของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้ เพราะที่ดินทั้งสองแปลงจำเลยจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาว่า หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2529 เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 นั้น เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้ในส่วนที่คงเหลือ จึงไม่ถูกต้อง เพราะในที่สุดอาจไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์หรือโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์อื่นของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญ หรือให้ชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองก็ได้ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ซ้ำซ้อนเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง เพราะโดยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เฉพาะหนี้ที่มีอยู่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีจำนองที่มีต่อคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการบังคับชำระหนี้
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้นเงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
of 39