พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ห้ามยกเว้นทั้งหมด
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ไม่อำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดสัญญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อประการอื่นนอกจากการกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินและริบเงินที่ส่งมาแล้ว หากโจทก์เสียหายก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระก่อนเลิกสัญญาครบถ้วนจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ไม่งดเว้นทั้งหมด
สัญญาเช่าซื้อที่ให้โจทก์ได้รับเช่าซื้อค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่โจทก์ได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่จะพิพากษาไม่ให้ค่าเสียหายส่วนนี้เสียเลยไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การรับผิดชอบราคารถยนต์ที่สูญหายจากโจรภัย และการคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องของโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน แม้มิได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่โจทก์ได้แนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา และโจทก์ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อโดยอ้างส่งสัญญาเช่าซื้อต่อศาล เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย สูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ คำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่โดยอ้างว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ขาดทุน เมื่อค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้น ก็คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดซึ่งก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่โดยอ้างว่าเป็นเงินส่วนที่โจทก์ขาดทุน เมื่อค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้น ก็คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดซึ่งก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 จึงเป็นการกำหนดประเด็นที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย ผู้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ชำระราคารถยนต์ตามสัญญา แม้จะระงับไปแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ดังนั้น ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์นั้นให้แก่โจทก์แม้สัญญาเช่าซื้อจะระงับเพราะวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย ความรับผิดของจำเลยที่ 1ก็ยังมีอยู่ตามสัญญา
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์: เจตนาทุจริต, การใช้กำลัง, ร่วมกระทำความผิด, การติดตามของผู้เสียหาย, การร่วมมือของจำเลย
ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋ง รถจักรยานยนต์ล้มทับขาผู้เสียหายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมามีเจตนาจะลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาแต่แรก จึงใช้อุบายทำทีเข้าช่วยเหลือหลอกลวงว่าจะพาไปส่งบ้าน ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์มีผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายตามกันไป การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน แม้ว่าเมื่อถึงบริเวณทางแยก จำเลยที่ 2จะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายลับสายตาไปแล้ว แต่ผู้เสียหายยังไม่ละการติดตามโดยบอกจำเลยที่ 3 ให้หยุดรถเพื่อแจ้งศูนย์วิทยุติดตามจำเลยที่ 2 อีกทางหนึ่ง ทั้งคนร้ายคือจำเลยที่ 3 ก็ยังอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 3 ใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ศอกตวัดกระแทกผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์ก็เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป และกรณีไม่ใช่การกระทำของจำเลยที่ 3 โดยลำพัง เพราะพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมายังจุดที่นัดหมายกันไว้ ย่อมเป็นการแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การหักกลบลบหนี้, ดอกเบี้ย, และสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว โจทก์ยังยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก และโจทก์ก็มิได้บอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม2534 แล้ว หลังจากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัด คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1ค้างชำระในแต่ละเดือนทบเป็นต้นเงิน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาได้เลิกกันในวันที่ 30 กันยายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ใช่การกู้ยืมอำพราง แม้โจทก์ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ดังที่ได้ระบุไว้ตามหนังสือรับรอง แม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง แต่ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้ โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้า ให้มีผลบังคับกันได้ ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งมิได้มีข้อจำกัดว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้ จำเลยก็ยอมรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อและทราบถึงวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทั้งยังได้ยอมรับเอาเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและพึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้ มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สถานที่จำเลยสลักหลังเช็คและโจทก์รับแลกเงินสดเป็นมูลคดีที่ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่ามูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คโดยบรรยายว่า เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารสาขาชุมแพ (จังหวัดขอนแก่น) เพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ส่วนสถานที่ตั้งของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์ระบุในคำฟ้องชัดเจนว่า ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 819/5 หมู่ที่ 1 จังหวัดขอนแก่น โดยมิได้บรรยายถึงสถานที่ตั้งแห่งอื่นอีก ดังนั้น สถานที่ที่จำเลยที่ 2 นำเช็คมาแลกเงินสดจึงได้แก่สถานที่ที่โจทก์ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งย่อมเกี่ยวข้องกับเหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาต่างประเภทมีอายุความต่างกัน
แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าหนี้ที่จำเลยจ่ายเช็ค จำเลยชำระให้แก่โจทก์หมดแล้ว คงเหลือแต่หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตของโจทก์เท่านั้น หนี้ที่จำเลยใช้บัตรเครดิตจึงมิใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดแต่เป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยใช้แทนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสดหรือใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจำเลยใช้บัตรเครดิตวันที่ 31 มีนาคม 2535 ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบัตรเครดิตตั้งแต่นั้นมานับถึงวันฟ้องวันที่ 29 กันยายน 2542 เกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ