พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งและการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อบริษัท ส. และบริษัท ว. ผู้ส่ง กับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ได้ตกลงกันชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 และมีผลให้บริษัททั้งสองไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัททั้งสองไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัททั้งสอง แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัททั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของขนส่งกับผู้ส่งมีผลผูกพันผู้รับประกันภัยที่รับช่วงสิทธิ
บริษัท ส. ผู้ส่งกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 มีผลให้บริษัท ส. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ส. ไปก็เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทำไว้กับบริษัท ส. แต่หาอาจก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส. มาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้สิทธิเรียกร้องหลักขาดอายุความ ก็ยังบังคับให้จดทะเบียนโอนได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากจำเลย โดยชำระราคาให้บางส่วนแล้วส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยส่งมอบให้โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาท อันเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวซึ่งจำเลยในฐานะผู้จะขายยังมีหนี้ที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่โจทก์ครอบครองอยู่ โจทก์จึงชอบที่จะยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้ได้จนกว่าจำเลยจะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเกินกว่า10 ปี ซึ่งขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/27 ระบุไว้ว่า แม้สิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็ยังคงมีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ตนได้พร้อมรับเงินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากรถยนต์: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุในฐานะส่วนตัว มิได้ซื้อแทนห้างโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ซึ่งย่อมเป็นสิทธิที่ ป. จะจัดการทรัพย์สินของตนเองได้ หาใช่ว่าหาก ป. ลงนามในนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ทั้งที่มิได้ระบุว่าทำแทนโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์แล้วจะต้องถูกผูกพันว่าเป็นการกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ และการที่ ป. นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันวินาศภัยไว้กับบริษัท ส. หรือนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าแล่นในเส้นทางสายเชียงใหม่ - ขอนแก่นนั้น อาจเป็นวิธีจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. ก็เป็นได้ ประกอบกับคำบรรยายฟ้องโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาโดยตรง โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์ซื้อรถดังกล่าวโดยให้ ป. เป็นคู่สัญญาแทนแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล - รวมมูลหนี้ที่เกี่ยวข้อง - สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน - ศาลเรียกเก็บเกิน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี ไม่ว่าโดยให้กู้ยืม ให้เบิกเงินเกินบัญชี ซื้อขายลดตั๋วเงินหรือโดยประการอื่นที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นการที่จำเลยทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ 3 ฉบับ ต่างคราวกัน แล้วผิดสัญญา มูลหนี้ตามสัญญาและตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสามฉบับเป็นมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างเดียวกันซึ่งสามารถรวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โจทก์จึงนำมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (1)(ก) จึงชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มโดยแยกมูลหนี้ตามสัญญาหรือตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยมีเหตุสงสัยเรื่องการใช้ยานอนหลับ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าร่วมกันวางแผนใช้ยานอนหลับผสมในเครื่องดื่มให้ผู้เสียหายทั้งสองดื่ม และร่วมกันลักทรัพย์หลายรายการในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองหลับก็ตาม แต่ในชั้นพิจารณากลับปฏิเสธว่ามิได้กระทำเช่นนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นชาวต่างชาติ จึงเป็นไปได้ว่าล่ามอาจแปลคำให้การไม่ถูกต้อง ดังนั้น ลำพังคำให้การในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามนั้นได้ โจทก์ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานอื่นมาสืบให้มั่นคงและฟังได้ว่ามียานอนหลับหรือสารที่ทำให้ง่วงปนอยู่ในเครื่องดื่มที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้ผู้เสียหายทั้งสองดื่มจริงตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานการตรวจพิสูจน์เครื่องดื่มว่ามีส่วนผสมของยานอนหลับอยู่ด้วย ทั้งไม่มีผลการตรวจร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองมาแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้เสียหายทั้งสองนอนหลับเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มียานอนหลับหรือสารที่ทำให้ง่วง กรณีจึงยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใส่ยานอนหลับในเครื่องดื่มให้ผู้เสียหายทั้งสองดื่มหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดเพียงฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7) วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาขนส่ง, สัญญาต่างตอบแทน, ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ, และประเด็นนอกฟ้อง
แม้คำให้การจะถือว่าเป็นคำคู่ความเช่นเดียวกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) แต่การพิจารณาว่าคำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(4) และ มาตรา 177 กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเอง แต่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีแทนจำเลยจะต้องบรรยายไว้ในคำให้การด้วยว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนและต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจมาพร้อมกับคำให้การด้วย เมื่อจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือและยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และในคำให้การจำเลยได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งเมื่อจำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งต้องมีผู้กระทำการแทนและตามใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่าผู้แต่งทนายความคือ "บริษัท น. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจจำเลย" ขอแต่งตั้งให้ว. เป็นทนายความและลงลายมือชื่อ ร. ในช่องผู้แต่งทนายความ ถือว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลยและต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและยื่นสำเนาเอกสาร จำเลยก็ได้ส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจซึ่งรับรองสำเนาถูกต้อง ร. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความแทนจำเลย ว. ในฐานะทนายความจึงมีอำนาจทำคำให้การและลงชื่อในคำให้การยื่นต่อศาลได้
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้กระทำผิด จึงขาดอำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นสัญญาเช่าที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ และวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีข้อตกลงตามที่โจทก์อ้าง กรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์เพราะทำผิดข้อตกลงดังกล่าว เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะทำผิดข้อตกลงตามที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกว่ากรณีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้ต่อโจทก์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า – การตัดกระแสไฟฟ้า – พยานหลักฐาน – ความรับผิดทางละเมิด
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยออกไปจากหน้าอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลยแต่อย่างใด โจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนทำสัญญาว่าจำเลยจะต้องขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยที่ตั้งปิดหน้าอาคารที่เช่า ทำให้เกิดความไม่สวยงามและกีดขวางทางเข้าออก โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งจำเลยไม่ปฏิบัติเท่านั้นโดยโจทก์หาได้บรรยายว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไรแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตัดกระแสไฟฟ้าในอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง เป็นเงินเท่าไรและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดดังกล่าว มิได้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าแต่อย่างใดทั้งคำให้การจำเลยก็ปฏิเสธว่ามิได้มีข้อตกลงดังโจทก์อ้าง ดังนั้น ตามคำฟ้องและคำให้การจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้จึงไม่ชอบเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ยกปัญหาว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขึ้นฎีกาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้