คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ธปท. กำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ มิได้ขัดต่อกฎหมาย
มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 บัญญัติว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้? (2) ดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ การที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยและส่วนลดจากลูกค้าทุกประเภทได้เองก็เพื่อความคล่องตัวของระบบธนาคารพาณิชย์ตามภาวะขึ้นลงของเศรษฐกิจในขณะนั้นอันจะก่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นหลักประกันแก่การประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ข้อ 4 ยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งประกาศเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 3 วัน เพื่อควบคุมไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศตามอำเภอใจ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้วิธีหนึ่งตามที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ให้อำนาจไว้ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวหาตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยยกเหตุต่อสู้ชัดเจนว่ารถไม่อยู่ในอาคาร และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
การที่จะพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาทั้งหมด คำให้การของจำเลยที่ 1 ในข้อ 3 และคำให้การจำเลยที่ 2 ในข้อ 4 ต่อสู้ว่า รถยนต์คันพิพาทมิได้เข้าไปจอดในอาคารในช่วงที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเกิดเหตุคดีนี้ และจำเลยทั้งสองให้การต่อไปว่า จำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบรถยนต์ที่เข้าไปจอดภายในอาคารดังกล่าว ซึ่งหมายถึงความรับผิดตามกฎหมายกรณีรถยนต์ที่จอดอยู่ภายในอาคารดังกล่าวสูญหายไป คำให้การของจำเลยทั้งสองชี้ชัดว่า จำเลยทั้งสองยกเหตุขึ้นต่อสู้ 2 ประการ คือ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อ ร. หาก ร. นำรถพิพาทเข้าไปจอดในอาคารแล้วสูญหาย และ ร. ก็มิได้นำรถพิพาทเข้าไปจอดภายในอาคาร จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การโอนคดีระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงเมื่อมีการต่อสู้สิทธิในทรัพย์สิน และการอุทธรณ์คำสั่ง
โจทก์ฟ้องคดีอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อศาลจังหวัด เมื่อจำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท ศาลจังหวัดจึงให้โอนคดีไปให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาต่อไป ศาลแขวงไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัด เมื่อศาลจังหวัดรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงให้คู่ความทราบ จึงเป็นกรณีที่ศาลจังหวัดกับศาลแขวงต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดรับสำนวนคืนจากศาลแขวงไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลจังหวัดกับศาลแขวงศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไป โจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลจังหวัดได้ โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งจากศาลจังหวัดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นโอนคดีให้ศาลแขวงได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ศาลแขวงสงขลาไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนมาแล้ว ได้นัดพร้อมคู่ความและแจ้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาให้คู่ความทราบเพื่อให้คู่ความดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาต่างไม่รับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสงขลาที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลชั้นต้นรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสงขลาไว้แล้ว ทั้งคดีจะต้องมีปัญหาวินิจฉัยว่า ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลแขวงสงขลาศาลใดจะต้องพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปโจทก์ชอบที่จะมีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับแจ้งคำสั่งจากศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 อันเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลย คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสงขลาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่และการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาล
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินตามเช็คจำนวน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้เป็นคดีแพ่งสามัญแต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และสั่งให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้ว ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ มิได้บัญญัติให้ถือว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญได้ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ไม่มาตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ แม้จำเลยขอเลื่อน
ในคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ ให้อำนาจแก่ศาลที่จะจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ทราบนัดแล้วมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ ทั้งการที่จำเลยขอเลื่อนคดีนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าหากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน แม้คดีโจทก์จะเป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากและสั่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้บัญญัติให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญ โจทก์จึงไม่อาจขอพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดในเช็คปลอม หากไม่ได้ต่อสู้เรื่องประมาทเลินเล่อของโจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า เช็คพิพาทเป็นของโจทก์ มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและตราประทับตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่จำเลย จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ ว. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็นแม้ผู้ซื้อที่ดินทราบว่าที่ดินถูกล้อม และผลกระทบต่อสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร
การขอทางผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต กล่าวคือ ต้องไม่รู้ว่าที่ดินที่ตนได้มาถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะมาก่อน หากรู้มาก่อนถือว่าไม่สุจริตไม่มีสิทธิผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมออกสู่ทางสาธารณะได้แต่อย่างใด ดังนั้นแม้โจทก์จะซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป เพราะสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ ซึ่งหากจำเลยได้รับความเสียหายจากการเปิดทางจำเป็นดังกล่าว จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเป็นค่าเสียหายได้ ตามมาตรา 1349 วรรคสี่
มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เจ้าของที่ดินซึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น กับต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ตามมาตรา 1349 วรรคสาม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของจำเลยที่ล้อมที่ดินของโจทก์อยู่มีสภาพเป็นทางซึ่งใช้ออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว จึงเป็นทางจำเป็นที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด
แม้ทางจำเลยที่โจทก์ขอผ่านจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้น และตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร แม้มีกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้วทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18, 30 วรรคแรก และ 32 ก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาขัดต่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 18 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็น แม้เป็นพื้นที่จัดสรรและมีข้อจำกัดตามประกาศ คปต. ก็ตาม
การขอผ่านทางที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมจะต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาโดยรู้อยู่แล้วว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะหมดไป
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุดเท่านั้น เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มีรูปลักษณะเป็นสามเหลี่ยมชายธงซึ่งใช้ประโยชน์เพียงเป็นทางเข้าหมู่บ้าน และเชื่อมกับที่ดินอีก 2 แปลงของจำเลยที่มีสภาพเป็นถนนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่จำต้องทำทางผ่านให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลย และจำเลยก็มิได้รับความเสียหายในการที่โจทก์จะใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพราะมีสภาพเป็นทางอยู่แล้ว ที่ดินของจำเลยที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นจึงเป็นทางที่สะดวกที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ต่างกับอีกด้านหนึ่งที่ดินที่ล้อมไม่มีสภาพเป็นทาง มีหญ้าและต้นไม้ปกคลุมกับต้องผ่านที่ดินอีกหลายแปลง ทั้งจะต้องปรับปรุงเพื่อให้มีสภาพเป็นทางอีกด้วย
แม้ทางจำเป็นจะเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรซึ่งกฎหมายห้ามผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้นก็ตาม แต่เมื่อถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมแต่อย่างใด จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากการควบกิจการเงินทุนและข้อยกเว้นการบอกกล่าวหนี้สิน
การควบกิจการระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจกท์เป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ซึ่งมาตรา 67 ตรี วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินุทน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ บัญญัติว่าเมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรี (ว่าการกระทรวงการคลัง) แล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างบริษัทเงินทุน ว. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
ธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การพาณิชย์ฯ มาตรา 4 การเช่าซื้อมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้ ทั้งหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. มีข้อตกลงว่า สินทรัพย์ตามประกาศกระทรวงการคลังของโจทก์และรวมตลอดถึงสินทรัพย์ที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทเงินทุน 12 บริษัท ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสิทธิเรียกร้องในเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ไม่ได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ธนาคาร ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
of 39