คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังรวมกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน: ผลผูกพันต่อลูกหนี้และข้อจำกัดทางกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 จัตวา วรรคแรก บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการของบริษัทใดมีข้อเสนอจะควบกิจการกับสถาบันการเงินอื่นหรือโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่สถาบันการเงินอื่นเป็นการเร่งด่วน? ถ้ารัฐมนตรีโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องควบกิจการหรือโอนกิจการเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและประโยชน์ของประชาชน ให้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาอนุญาตให้ดำเนินการได้โดยจะกำหนดระยะเวลาดำเนินการและเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ มาตรา 67 ตรี วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อได้รับความเห็นชอบการโอนกิจการจากรัฐมนตรีแล้วให้ดำเนินการโอนกิจการได้โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ในการโอนกิจการนี้ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อได้ความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบการดำเนินการตามโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคาร ส. โจทก์ และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 67 จัตวา และ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 จัตวา จึงเป็นการรวมกิจการโดยผลของกฎหมาย มิใช่การรวมกิจการและโอนสิทธิเรียกร้องโดยทั่วไป ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306
แม้ประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมาย จ. 4 ระบุว่า ให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ส. และข้อ 3 ระบุว่า เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จสิ้น ให้โจทก์และบริษัทเงินทุน 12 บริษัท คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนให้แก่กระทรวงการคลัง เมื่อโอนสินทรัพย์และหนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 บัญญัติว่า "การธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น (ก) ให้สินเชื่อ (ข) ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด (ค) ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ "ให้สินเชื่อ" หมายความว่า ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อธนาคาร ส. เป็นธนาคารพาณิชย์ จึงต้องประกอบธุรกิจตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว การเช่าซื้อจึงมิใช่ธุรกิจที่กฎหมายให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุอ้างหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ส. ไว้ในบัญชีระบุพยานโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสียหายหลังส่งคืนทรัพย์สินไม่ขาดอายุความ 6 เดือน แต่มีอายุความ 10 ปี
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิใช้สอยที่ดินร่วมกัน จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบโฉนดคืนให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและหน้าที่ส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้โฉนดอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้แต่ต้องไม่ขัดสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น จำเลยย่อมต้องมีหน้าที่ดำเนินการนำโฉนดที่ดินมาเพื่อมอบแก่โจทก์จนได้ กรณีไม่ใช่สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ และการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่ ร. ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ไม่ต้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสองนั้น ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามวงเงินและข้อตกลง
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 19 ต่อปีมาตั้งแต่แรกก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันปรากฏว่าในวันที่ 2 เมษายน 2528 ระบุดอกเบี้ยว่า ร้อยละ 15 และร้อยละ 19 แสดงว่าในวันดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยภายในวงเงินในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หากเกินวงเงิน โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันมาตั้งแต่แรกและตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้น แต่ขณะที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญาภายในวงเงินคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และส่วนที่เกินวงเงินคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โดยมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 4 ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งขณะนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญา จึงมิได้คิดเพิ่มขึ้นเพียงแต่แยกวงเงินออกเป็น สัดส่วนเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลไม่มีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการไม่รับฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลพิจารณาประเด็นการรุกล้ำที่ดินก่อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่ในบ้านที่ อ. ปลูกในที่ดินว่างเปล่าและยกให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ว่างบริเวณใกล้เคียงกับบ้านที่จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ที่ดินนั้นก็ตกเป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีนี้จึงมีประเด็นในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ปลูกบ้านทั้งสองหลังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองไปโดยไม่ต้องพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฟ้องแย้งว่า หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองรุกล้ำหรือเห็นส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ จึงเป็นฟ้องแย้งโดยมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้อง แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ได้ร่วมตกลง ผู้กระทำละเมิดยังต้องรับผิดชอบ
แม้ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนจะเป็นแบบฟอร์มที่บริษัทจำเลยที่ 2 จัดทำขึ้นเอง แต่เมื่อได้กรอกข้อความตามที่ตกลงกัน และโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงินไปจากจำเลยที่ 2 จริง อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปโดยต่างฝ่ายต่างยอมผันให้แก่กันด้วยความสมัครใจของโจทก์และจำเลยที่ 2
เอกสารใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นข้อตกลงประนีประนอมยอมความและมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินไปตามข้อตกลงแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันระงับไปตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และมิได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่อาจอาศัยเอกสารดังกล่าวต่อสู้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์เพียง 20,250 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาชำระหนี้โดยเจ้าหนี้ไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาตามกฎหมาย ทำให้ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดตามสัญญา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อก็ดี โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 8 เดือน จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ดี จึงมิใช่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันจักทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 700

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถาหลังยื่นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเด็ดขาด, ฎีกาไม่ได้, ค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ มิฉะนั้นคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ต่อไป
of 39