คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนมติผู้ถือหุ้น ต้องฟ้องบริษัทโดยตรง แม้การจดทะเบียนกระทำผ่านกรรมการ
ป.พ.พ. มาตรา 1157 บัญญัติว่า "การตั้งกรรมการขึ้นใหม่นั้น ตั้งใครเมื่อใด ท่านให้นำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ตั้งจงทุกครั้ง" การที่บริษัท ว. โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนไว้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท ว. เป็นผู้นำความเกี่ยวกับการตั้งกรรมการขึ้นใหม่ไปจดทะเบียนตามบทกฎหมายดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่า การกระทำของบริษัท ว. เป็นการกระทำที่มิชอบทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก็ชอบที่จะ ต้องฟ้องบริษัท ว. ในฐานะที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะแม้การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะได้กระทำโดยจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นเป็นจำเลยกรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์มาในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องคดีไว้เพื่อรอให้บริษัท ว. ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามคำฟ้องมาแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเกินเกณฑ์ที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกา แม้เกี่ยวข้องกระบวนพิจารณา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกันก็ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญฟ้องหนี้เฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องฟ้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โจทก์และ ส. ตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลย จะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน อันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลย ซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่ได้ระบุเงินดาวน์ เพราะเงินดาวน์ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุค่าเช่าซื้อจำนวน 2,878,504.80 บาท นั้น จำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้ว การระบุค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้วก็เพื่อการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวดเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์แม้จะมิได้ระบุในสัญญาก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องระบุจำนวนเงินดาวน์ไว้ จึงเป็นเพียงข้อเท็จจริง ที่คู่ความอาจนำสืบได้ เอกสารสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีตั๋วแลกเงินของเจ้าหนี้ที่ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ ปรส. และขอบเขตการคิดดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินถูกคำสั่งให้ปิดการดำเนินกิจการเป็นการถาวรมิได้อยู่ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย หากแต่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินพิพาทให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บังคับมาตรา 5 พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้ที่ฟ้องร้องทางศาล
บทบัญญัติมาตรา 5 ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงินเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินที่ใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินพึงใช้เงินในวันถึงกำหนด ซึ่งเป็นวันผิดนัดชำระหนี้ไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน โจทก์จึงหาใช่เจ้าหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าว เพื่อชำระดอกเบี้ยเพียงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 อันเป็นวันที่ พ.ร.ก. ดังกล่าวมีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3916/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และสิทธิเมื่อผิดสัญญา
ที่ดินที่เช่าเป็นที่ดินเปล่าและเป็นท้องนาลึกประมาณ 1 เมตร จำเลยเช่าที่ดินเพื่อใช้วางอุปกรณ์ก่อสร้างของจำเลย การที่จำเลยถมที่และล้อมรั้วสังกะสีเสาไม้รอบที่ดินที่เช่าตามที่สัญญาเช่ากำหนดไว้ ก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยผู้เช่า ส่วนข้อสัญญาเช่าที่กำหนดว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าปลูกสร้างบ้านพักคนงานและสถานประกอบการใดลงบนพื้นที่ซึ่งให้เช่าได้ ก็ไม่ใช่ข้อบังคับให้ผู้เช่าต้องกระทำ แต่เป็นการให้สิทธิผู้เช่าจะปลูกสร้างได้ แม้สัญญาเช่าจะระบุว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้สิ่งที่กระทำลงนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันทีเว้นแต่โครงเหล็กสองชั้นก็ตาม เมื่อการถมที่และสร้างรั้วเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าเอง ส่วนบ้านพักคนงานที่จำเลยผู้เช่าปลูกสร้างขึ้นตามสิทธิของจำเลยก็เป็นอาคารชั่วคราว ราคาไม่สูง และเมื่อที่ดินที่เช่าเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ตั้งอยู่ตำบลประเวศ อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร สามารถให้เช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท การที่สัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ก็เพื่อให้เหมาะสมกับการที่จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ยอมรับเงินแล้วมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์
ตามคำพิพากษาคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนจำเลย ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เมื่อโจทก์นำเงินไปวางศาลเพื่อเป็นการชำระราคาแทนพร้อมค่าเสียหายตามคำพิพากษา จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่รับเงินที่โจทก์วางเพื่อชำระราคาแทนได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ โดยกลับรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ เมื่อจำเลยยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ ประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมและคดีนี้จึงแตกต่างกันมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี นับจากวันรับสภาพหนี้ครั้งสุดท้าย
การที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ ให้สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน กรณีจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์แจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อจำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา โจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2546 พ้นกำหนด 2 ปี แล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: การเรียกเก็บเงินค่าทดรองและผลกระทบต่อการบังคับสิทธิ
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 500 บาท แทนโจทก์ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในปัญหาอื่น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
of 39