คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันครบกำหนดชำระหลังใช้บัตรต่อเนื่อง ไม่ใช่วันชำระครั้งสุดท้าย
การที่โจทก์ให้บริการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ ให้สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไปก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) คดีนี้แม้จำเลยจะชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2543 ก็ตาม แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยงดใช้บัตรเครดิตหรือบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิต ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยยังนำบัตรเครดิตไปใช้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บเงินไปยังจำเลย ให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2543 ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันครบกำหนดดังกล่าว ไม่ใช่วันที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ และผลของการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เรื่องกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวยื่นเกินกำหนดและให้ยกอุทธรณ์ จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้: การกระทำไม่เป็นละเมิดต่อผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงิน และเป็นเช็คมีข้อความระหว่างเส้นขีดคร่อมว่า A/C PAYEE ONLY ไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการกระทำตามคำสั่งของจำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ภ. เจ้าหนี้โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำในขอบอำนาจของกรรมการโจทก์ มีผลผูกพันโจทก์ นอกจากนี้โจทก์และบริษัท ภ. ต่างก็มีกรรมการชุดเดียวกันรวม 5 คน หากกรรมการอื่นอีก 4 คน เห็นว่าจำเลยร่วมนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีบริษัท ภ. เป็นการไม่ถูกต้อง ก็ย่อมสามารถใช้สิทธิในฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ภ. สั่งให้โอนเงินตามเช็คพิพาทคืนให้แก่โจทก์ได้อยู่แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วมจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินพิพากษาเกินคำขอและอุทธรณ์นอกประเด็นเดิม โดยยกประเด็นค่าเสื่อมราคาและราคารถยนต์ที่ขายทอดตลาด
โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเนื่องจากนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย ทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่เช่าซื้อหรือราคาท้องตลาด หรือให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสื่อมราคาเนื่องจาก รถยนต์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ จึงไม่มีประเด็นว่าราคารถยนต์ที่เช่าซื้อขาดจำนวนจากการขายทอดตลาดหรือเสื่อมราคาหรือไม่ เพียงใด แม้โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อจำนวน 380,000 บาท ตามฟ้อง โดยอ้าง ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพทรุดโทรม โจทก์ต้องนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อม เป็นเงิน 149,410 บาท และขายทอดตลาดได้เงินเพียง 60,747.66 บาท ก็เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์ จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาที่ขาดจำนวนจากการขาย ทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาต่ำเป็นเงิน 109,953 บาท จึงไม่ชอบ ทั้งเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้ กล่าวมาในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาหรือกล่าวไว้ในคำแก้ฎีกา ให้เป็นประเด็นไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องโดยอ้างสิทธิรับช่วงสิทธิ vs. การโอนสิทธิเรียกร้อง: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุข้อเท็จจริงว่า โจทก์ชำระเงินให้แก่บริษัท ง. ตามบันทึกข้อตกลงซึ่งโจทก์รับเป็นนายหน้าชี้ช่องให้บุคคลภายนอกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทดังกล่าว โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าและมีหน้าที่ต้องชำระเงินต้นคงเหลือตามสัญญาเช่าซื้อหากผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ง. ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นการฟ้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 2 ซึ่งการรับช่วงสิทธิจะพึงมีได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมายเท่านั้นตามมาตรา 229 ส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาซึ่งเป็นเรื่องของการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่บัญญัติในบรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรา 306 ฎีกาของโจทก์จึงนอกฟ้องและมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีไถ่ถอนขายฝาก ศาลฎีกาตัดสินให้ตัดคำสั่งคืนเงินออกจากคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดิน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระค่าไถ่ถอนให้จำเลยจำนวน 74,500 บาท ครบถ้วนตามสัญญาขายฝากแล้วและมีคำขอให้บังคับจำเลยทำการเพิกถอนนิติกรรมสัญญาขายฝากและคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ไปดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์มิได้ไถ่ถอนที่ดินภายในกำหนด ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดฐานลาภมิควรได้และมีคำขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวน 67,500 บาท ที่ชำระไปแก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้ใช้สิทธิไถ่ถอนภายในกำหนด จึงหมดสิทธิไถ่ถอนที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยเด็ดขาด แต่เห็นว่าเงินไถ่ถอนจำนวน 67,500 บาท จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ แล้วพิพากคืนเงินจำนวน 67,500 บาท แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษจำคุกหลายกระทง และข้อยกเว้นการปรับบท ป.อ. มาตรา 91(2) กรณีคดีความผิดไม่เกี่ยวพันกัน
ป.อ. มาตรา 91 (2) เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป และกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 20 ปี นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 หรือคดีที่เกี่ยวพันกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์ได้แยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หรือเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 25 จึงจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) แต่การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษต่อทั้ง 15 คดีนั้น ไม่เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องรวมกันเป็นคดีเดียวกันได้หรือจะรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แล้วมีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินกว่า 20 ปี ก็ย่อมพิพากษาให้บังคับเช่นนี้ได้ กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2)
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) หมายถึงโทษจำคุกสุทธิภายหลังจากมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษทุกกระทงความผิดรวมกันทั้งสิ้นแล้วไม่เกินกำหนด 20 ปี คดีนี้โทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้สำหรับทุกกระทงความผิดเมื่อรวมกันแล้วจะมีกำหนด 21 ปี เมื่อลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว โทษจำคุกสุทธิจะมีกำหนดเพียง 10 ปี 6 เดือน ไม่เกิน 20 ปี จึงไม่จำต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แต่ศาลชั้นต้นได้ปรับบท ป.อ. มาตรา 91 (2) เสียก่อนและให้จำคุกจำเลยเพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน โดยมิได้วินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองสำหรับปัญหานี้จึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยไม่แก้โทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน และการแปลงหนี้จากความรับผิดในฐานะลูกจ้างเป็นสัญญาเช่าซื้อ
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคีดแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด ดังนี้ คำว่า "ศาลอื่น" หมายถึง ศาลชั้นต้นเท่านั้น เนื่องจากเป็นปัญหาอำนาจของศาลแรงงานซึ่งเป็นศาลชั้นต้นกับอำนาจของศาลชั้นเดียวกัน ปัญหาดังกล่าวต้องยุติในศาลชั้นต้นเพื่อมิให้เป็นช่องทางแก่คู่ความในการประวิงคดี หากคู่ความไม่โต้แย้งหรือศาลชั้นต้นไม่ยกปัญหาขึ้นจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลว่าคดีจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์เนื่องมาจากความผิดพลาดที่เกิดจากการมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ ส. แล้ว ส. นำรถยนต์พิพาทหลบหนีไป ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ดังนั้น หนี้อันเกิดจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทก็เพื่อยอมรับผิดชำระค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากความรับผิดของลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าเป็นการยอมรับหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายมีหน้าที่บริหารงานขาย จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์ของโจทก์ให้ลูกค้า แล้วลูกค้าได้นำรถยนต์พิพาทหลบหนีไป โจทก์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยทำสัญญาเช่าซื้อเพื่อเป็นประกันการทำงานที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ดังนั้น หนี้อันเกิดจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทก็เพื่อยอมรับผิดชำระหนี้ค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
of 39